Montag, 2. Oktober 2023

๓๑๒. ควรเลี้ยงดูผู้มีศีล

๓๑๒. ควรเลี้ยงดูผู้มีศีล


สมเณ พฺรหฺมเณ จาปิ, สีลวนฺเต พหุสฺสุเต;

สกฺกจฺจํ ปยิรูปาเส, อนฺนปาเนน ตปฺปยฺเย;

อาสชฺช ปญฺเญ* ปุจฺเฉยฺย, อากงฺขํ วุฑฺฒิมตฺตโน.


ราชเสวกพึงเข้าไปนั่งใกล้เหล่าสมณะพราหมณ์

ผู้มีศีลและผู้คงแก่เรียนทั้งหลายโดยเคารพ

พึงเลี้ยงดูท่านเหล่านั้นให้อิ่มหน่ำสำราญ

เมื่อหวังความเจริญแก่ตน พึงเข้าไปหาแล้ว

ถาม(ปัญหา)กะท่านผู้มีปัญญาเหล่านั้นเถิด.


(ธรรมนีติ ราชเสวกกถา ๓๑๒, ขุ. ชา ๒๘/๙๖๘ วิธุรชาดก)

--


ศัพท์น่ารู้ :


สมเณ (สมณะ, ผู้สงบ, พระ .) สมณ+โย

พฺราหฺมเณ (พราหมณ์ .) พฺราหฺมณ+โย

จาปิ (แม้และ, แม้ด้วย) สมูหนิบาต

สีลวนฺเต (ผู้มีศีล) สีลวนฺตุ+โย

พหุสฺสุเต (ผู้เป็นพหูสูตร, ผู้คงแก่เรียน) พหุสฺสุต+โย

สกฺกจฺจํ (โดยเคารพ) 

ปยิรูปาเส (เข้าไปนั่งใกล้, คอยรับใช้, คบหา) ปริ++อุป+√อาส++เอยฺย > ปยิรุปาเส ภูวาทิ. กัตตุ. ให้เอา + อาคม กลับกัน เป็น ยร (วัณณวิปริยาย) ด้วย ศัพท์ในสูตรว่า โท ธสฺส . (รู ๒๗)

อนฺนปาเนน (ด้วยข้าวและน้ำ) อนฺน+ปาน > อนฺนปาน+นา

ตปฺปยฺเย (อิ่มเอิบ, ยินดี, ให้อิ่มหน่ำ) √ตปฺป+ (เณ)+เอยฺย พระบาฬี เป็น ตปฺเปยฺเย จุราทิ. กัตตุ./เหตุวาจก

อาสชฺช  (กระทบแล้ว, จรดแล้ว, เข้าไปหาแล้ว) อา+√สท+ตฺวา แปลง ตฺวา เป็น ชฺช และลบที่สุดธาตุ ด้วยสูตรว่า มหทเภหิ มฺม-ยฺห-ชฺช-พภ-ทฺธา . (รู ๖๔๕)

ปญฺเญ (ผู้มีปัญญา .)  ปญฺญ+โย, *หมายเหตุ เดิม เป็น ปญฺเห ได้แก้เป็น ปญฺเญ (ผู้มีปัญญา ., บัณฑิต .) ตามในพระบาฬี.

ปุจฺเฉยฺย (ถาม, สอบถาม, ไต่ถาม) √ปุจฺฉ++เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ. ในพระบาฬีเป็น เสเวถ (พึงเสพ, คบหา).

อากงฺขํ (หวังอยู่,​ เมื่อหวัง) อา+√กงฺข++อนฺต > อากงฺขนฺต+สิ เป็นกิริยากิตก์

วุฑฺฒิมตฺตโน = วุฑฺฒึ+อตฺตโน (ซึ่งความเจริญ + แก่ตน/ของตน) 



คาถาด้านบนนี้ ท่านย่อมาจาก คาถา ในพระบาฬี ดังนี้ คือ


๑๕๐๒.

‘‘สมเณ พฺราหฺมเณ จาปิ, สีลวเนฺต พหุสฺสุเต;

สกฺกจฺจํ ปยิรุปาเสยฺย, ราชวสติํ วเสฯ

๑๕๐๓.

‘‘สมเณ พฺราหฺมเณ จาปิ, สีลวเนฺต พหุสฺสุเต;

สกฺกจฺจํ อนุวาเสยฺย, ราชวสติํ วเสฯ

๑๕๐๔.

‘‘สมเณ พฺราหฺมเณ จาปิ, สีลวเนฺต พหุสฺสุเต;

ตเปฺปยฺย อนฺนปาเนน, ราชวสติํ วเสฯ

๑๕๐๕.

‘‘สมเณ พฺราหฺมเณ จาปิ, สีลวเนฺต พหุสฺสุเต;

อาสชฺช ปเญฺญ เสเวถ, อากงฺขํ วุทฺธิมตฺตโน’’ติฯ


(ฉัฏฐสังคายนา คาถาที่ ๑๕๐๒ - ๑๕๐๕.)


--


อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ (พากย์ธัมมนีติ) ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้



แม้สมณะแลพราหมณ์ ผู้มีศีลมีความรู้มาก สูพึง

เข้าไปนั่งใกล้โดยเคารพ บำรุงท่านด้วยข้าวแลน้ำ

เมื่อมุ่งความเจริญแก่ตน พึงเข้าไปไต่ถามปริศนา.


--


อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้..


แม้สมณะพราหมณ์ผู้มีศีลเป็นพหูสูต 

ราชเสวกผู้หวังความเจริญแก่ตน 

ก็ควรเข้าไปหาโดยเคารพ.


แม้สมณะพราหมณ์ผู้มีศีลเป็นพหูสูต 

ราชเสวกผู้หวังความเจริญแก่ตน 

ก็ควรประพฤติตามโดยเคารพ.


แม้สมณะพราหมณ์ผู้มีศีลเป็นพหูสูต 

ราชเสวกผู้หวังความเจริญแก่ตน 

ก็ควรอังคาสด้วยข้าวน้ำโภชนาหารให้อิ่มหนกสำราญด้วยดี.


แม้สมณะพราหมณ์ผู้มีศีลเป็นพหูสูต 

ราชเสวกผู้หวังความเจริญแก่ตน 

ก็ควรคบหาสมาคมกับท่านผู้มีปัญญาเหล่านั้นโดยเคารพ.


--


 

Keine Kommentare: