๓๗๙. ผู้บั่นทอนชีวิต
สตฺตานํ ชรตา หนฺติ, ตณฺหา หนฺติ สพฺพสุขํ;
สพฺพพลํ จินฺตา หนฺติ, ทยา หนฺติ สกํธนํ.
ความชราย่อมเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย
ตัณหาย่อมเบียดเบียนความสุขทั้งปวง
ความคิดพล่านย่อมเบียดเบียนสรรพกำลัง
ความสงสารย่อมเบียดเบียนทรัพย์ของตน.
(ธรรมนีติ ปกิณณกกถา ๓๗๙)
--
ศัพท์น่ารู้ :
สตฺตานํ (ซี่งสัตว์ ท.) สตฺต+นํ, เข้าใจว่าลงฉัฏฐีวิภัตติในอรรถทุติยาวิภัตติ เรียกว่า ฉัฏฐีกัมมะ. ในปทรูปสิทธิท่านไว้ด้วยสูตรว่า ทุติยาปญฺจมีนญฺจ. (รู ๓๑๘) แต่ในที่ท่านแสดงอุทาหรณ์ (ตัวอย่าง)เป็นกิริยาอาขยาต ไว้ ๒ ธาตุคือ สร ธาตุ และ อิจฺฉ ธาตุ เช่น มาตุ สรติ, มาตรํ สรติ; ปุตฺตสฺส อิจฺฉติ, ปุตฺตมิจฺฉติ.
ชรตา (ความชรา, ความแก่) ชร+ตา ปัจจัยในภาวตัทธิต > ชรตา+สิ
หนฺติ = หนติ (ฆ่า, ตี, กำจัด, เบียดเบียน, บั่นรอน) หน+อ+ติ ภูวาทิ. กัตตุ. ลบสระที่สุดธาตุ ด้วยสูตรว่า ธาตุสฺสนฺโต โลโปเนกสฺสรสฺส. (รู ๔๒๕), ลบ อ ปัจจัยได้บ้าง ด้วยสูตรว่า โลปญฺเจตฺตมกาโร. (รู ๔๘๗)
ตณฺหา (ความอยาก, ตัณหา, ดำฤษณา) ตณฺหา+สิ
สพฺพสุขํ (ความสุขทั้งปวง) สพฺพ+สุข > สพฺพสุข+อํ
สพฺพพลํ (กำลังทั้งปวง) สพฺพ+พล > สพฺพพล+อํ
จินฺตา (ความคิด, ดำริ, นึกคิด) จินฺตา+สิ
ทยา (ความกรุณา, สงสาร) ทยา+สิ
สกํ (อันเป็นของตน) สก+อํ
ธนํ (ทรัพย์) ธน+อํ
--
อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ (พากย์ธัมมนีติ) ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
ความแก่ย่อมบั่นรอนสัตว์ทั้งผอง
ดำฤษณาย่อมฆ่าสุขทุกอย่าง
ความคิดมากย่อมบั่นรอนกำลังทั้งปวง
ความเอ็นดูเกินการณ์ย่อมบั่นรอนทรัพย์ของตน ฯ
--
อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้..
ความชราบั่นรอนชีวิตสัตว์
ตัณหาบั่นรอนความสุข
ความคิดพล่านบั่นรอนกำลัง
ความเอ็นดูเกินพอดีบั่นรอนทรัพย์ของตนเอง.
--
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen