Samstag, 23. Dezember 2023

๓๙๒. ผลบุญสร้างพระไตรปิฏก

๓๙๒. ผลบุญสร้างพระไตรปิฏก


ทุคฺคตึ นาภิชาเนยฺย*, ปิฎกตฺตยการโก;

พหุกฺขตฺตุํ จกฺกวตฺติ, ราชา จตุทีปาธิโป.


บุคคลผู้(ให้)สร้างพระไตรปิฏก

จะไม่พึงรู้จักทุคติภูมิเลย

เขาจักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์

เป็นใหญ่ในทวีปทั้ง สิ้นหลายวาระแล.


(ธรรมนีติ ปกิณณกกถา ๓๙๒)


--


ศัพท์น่ารู้ : 


ทุคฺคตึ (คติที่ชั่ว, ทุคติ) ทุ+คติ > ทุคฺคติ+อํ

นาภิชาเนยฺย = +อภิชาเนยฺย (ไม่พึงรู้ยิ่ง, ไม่รู้เลย) อภิ+ญา+นา+เอยฺย กิยาทิ. กัตตุ. * เดิมเป็น อภิชาเยยฺย ได้แก้เป็น อภิชาเนยฺย เพื่อความเหมาะสมตามหลักไวยากรณ์

ปิฎกตฺตยการโก (ผู้ทำ-, ผู้สร้างพระไตรปิฏก) ปิฏก+ตย > ปิฏกตฺตย+การก > ปิฏกตฺตยการก+สิ

พหุกฺขตฺตุํ (หลายครั้ง, มากคราว, หลายวาระ) พหุ+กฺขตฺตํุ ปัจจัยในอัพยยตัทธิต > พหุกฺขตฺตุํ+สิ ลบ สิ วิภัตติเพราะจัดเป็นนิบาต

จกฺกวตฺติ (พระเจ้าจักพรรดิ์) จกฺก+วตฺติ > จกฺกวตฺติ+สิ

ราชา (พระเจ้าแผ่นดิน, พระราชา) ราช+สิ

จตุทีปาธิโป (ผู้เป็นใหญ่(พระราชา)ในสี่ทวีป) จตุ+ทีป > จตุทีป+อธิป > จตุทีปาธิป+สิ


--


อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ (พากย์ธัมมนีติ) ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้



คนทำพระไตรปิฏก (ให้ถูก) ย่อมไม่รู้จักทุคคติ

เลย จะเป็นพระเจ้าจักพรรดิ เป็นใหญ่ในสี่ทวีป

สิ้นหลายครั้งแล.


--


อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้..


ผู้ชำระพระไตรปิฏกให้ถูกถ้วน

จะไม่รู้จักทุคติเลย

จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ

ปกครองทวีปทั้ง ตั้งหลายครั้งหลายหน.


--


 

Keine Kommentare: