Samstag, 8. Mai 2021

๓๓๔. จงสมัครสมานกันเถิด

๓๓๔. จงสมัครสมานกันเถิด


วิวาทํ ภยโต ทิสฺวา, อวิวาทญฺจ เขมโต;

สมคฺคา สขิลา โหถ, เอสา พุทฺธานุสาสนีฯ


ท่านทั้งหลายจงเห็นความวิวาทโดยความเป็นภัย

และเห็นความไม่วิวาทโดยเป็นทางเกษมแล้ว

จงกล่าวคำอ่อนหวานอันสมัครสมานกันเถิด

นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.


(กวิทปฺปณนีติ ๓๓๔, ขุ. อป. ๓๒/, ขุ. จริยา. ๓๓/ตสฺสุทฺทาน)


..

ศัพท์น่ารู้ :


วิวาทํ (การทะเลาะ, วิวาทกัน) วิวาท+อํ 

ภยโต (โยะความเป็นภัย) ภย+โต ปัจจัย อัพยยศัพท์ หรือ นิบาต ก็ว่า 

ทิสฺวา (เห็นแล้ว, เพราะเห็น) √ทิส+ตฺวา+สิ (+โย?) หลังทิสธาตุแปลง ตุนาทิปัจจัยเป็น สฺวาน สฺวา ได้บ้าง และลบที่สุดธาตุ § ทิสา สฺวานสฺวานฺตโลโป . (รู ๖๔๔)

 

อวิวาทญฺจ อวิวาทํ+, อวิวาท+อํ > อวิวาทํ ความไม่วิวาท, (ด้วย, และ) นิบาต 

เขมโต (โดยเป็นทางเกษม) ขม+โต


สมคฺคา (สมัครสมาน, พร้อมเพียงกัน) สมคฺค+โย 

สขิลา (อ่อนหวาน, ละมุนละไม, อ่อนโยน, น่ารัก) สขิล+โย 

โหถ (จงเป็น) √หู-สตฺตายํ++ ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก


เอสา (นี่, นั่น) เอต+สิ ในเพราะสิวิภัตติ แปลง ของ เอต, สัพพนาม ที่ไม่ใช่นปุงสกลิงค์ เป็น   § เอตเตสํ โต. (รู ๒๑๑) 

พุทฺธานุสาสนี (คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า .) พุทฺธานุสาสนี+สิ


..

หรืออาจจะแปลทีละวลี:


วิวาทํ ภยโต ทิสฺวา, | เพราะเห็นความวิวาทโดยความเป็นภัย

อวิวาทญฺจ เขมโต; | และเห็นความไม่วิวาทโดยเป็นทางเกษมแล้ว

สมคฺคา สขิลา โหถ, | ท่านทั้งหลายจงพร้อมเพียงกันเป็นผู้อ่อนโยนเถิด

เอสา พุทฺธานุสาสนีฯ | นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.


 

Keine Kommentare: