Mittwoch, 23. Februar 2022

๖๗.ทางแห่งความเสื่อม


 ๖๗. ทางแห่งความเสื่อม


อสนฺตสฺส ปิโย โหติ, สนฺเต กุรุเต ปิยํ;

อสตํ ธมฺมํ โรเจติ, ตํ ปราภวโต มุขํฯ


"คนมีอสัตบุรุษเป็นที่รัก,

ไม่กระทำสัตบุรุษให้เป็นที่รัก;

ชอบใจธรรมของอสัตบุรุษ,

ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม.“


(โลกนีติ หมวดคนดี คาถาที่ ๖๗, สุตตันตนีติ , กวิทัปปณีติ ๑๙๘, ขุ. สุ. ๒๕/๓๐๔ ปราภวสูตร)


..


ศัพท์น่ารู้ :


อสนฺตสฺส: (ของอสัตบุรุษ, คนดี) +สนฺต > อสนฺต+ 

ปิโย: (ที่รัก, ที่พอใจ) ปิย+สิ (ศัพท์นี้ในพระบาฬีเป็น ปิยา) 

โหติ: (ย่อมมี, ย่อมเป็น) หู++ติ ภูวาทิ. กัตตุ.

สนฺเต: (ซึ่งคนดี, สัตบุรุษ .) สนฺต+โย 

: (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ 

กุรุเต: (กระทำ) กร+โอ+เต ตนาทิ. กัตตุ. รูปพิเศษของ กร ธาตุ ส่วนมากเราจะเห็นรูปเป็น กโรติ, กโรนฺติ, กโรเต, กโรนฺเต เป็นต้น. แต่รูปนี้ให้เอา ของธาตุเป็น อุ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า กรสฺสากาโร . (รู ๕๒๒).

ปิยํ: (ที่รัก, ให้เป็นที่รัก) ปิย+อํ

อสตํ: (ของอสัตบุรุษ .) อสนฺต+นํ 

ธมฺมํ: (ซึงธรรม) ธมฺม+อํ 

โรเจติ: (ชอบใจ, พอใจ, ยินดี, ชื่นชม) รุจ+เณ+ติ จุราทิ. กัตตุ.

ตํ: (...นั้น) +สิ สัพพนาม

ปราภวโต: (ของผู้มีความเสื่อม) ปราภว+วนฺตุ ปัจจัยในตทัสสัตถิตัทธิต >  ปราภวนฺตุ+, ปราภว แปลว่า ความเสื่อม (นามนาม) + วนฺตุ ปัจจัย เป็น ปราภวนฺตุ แปลว่า ผู้มีความเสื่อม (คุณนาม). 

มุขํ: (ทาง, ปาก, หน้า, มุข) มุข+สิ


สนฺต-สัททปทมาลา ในสัททนีติ ปทมาลา ท่านแจกดังนี้.


สนฺตสทฺทสฺส

สํ, สนฺโต, สนฺโต, สนฺตาฯ สํ, สนฺตํ, สนฺเตฯ สตา, สนฺเตน, สนฺเตหิ, สนฺเตภิ, สพฺภิฯ สโต, สนฺตสฺส, สนฺตานํ, สตํ, สตานํฯ สตา, สนฺตา, สนฺตสฺมา, สนฺตมฺหา, สนฺเตหิ, สนฺเตภิ, สพฺภิฯ สโต, สนฺตสฺส, สนฺตานํ, สตํ, สตานํฯ สติ, สนฺเต, สนฺตสฺมึ, สนฺตมฺหิ, สนฺเตสุฯ โภ สนฺต, ภวนฺโต สนฺโตติ รูปานิ ภวนฺติฯ


แปลว่า รูปานิ . รูปทั้งหลาย สนฺตสทฺทสฺส แห่งสันตศัพท์ ภวนฺติ ย่อมมี อิติ ว่า...

ปฐมาวิภัตติ : สํ, สนฺโต, สนฺโต, สนฺตาฯ 

ทุติยาวิภัตติ : สํ, สนฺตํ, สนฺเตฯ 

ตติยาวิภัตติ : สตา, สนฺเตน, สนฺเตหิ, สนฺเตภิ, สพฺภิฯ 

จตุตถีวิภัตติ : สโต, สนฺตสฺส, สนฺตานํ, สตํ, สตานํฯ 

ปัญจมีวิภัตติ : สตา, สนฺตา, สนฺตสฺมา, สนฺตมฺหา, สนฺเตหิ, สนฺเตภิ, สพฺภิฯ 

ฉัฏฐีวิภัตติ : สโต, สนฺตสฺส, สนฺตานํ, สตํ, สตานํฯ 

สัตตมีวิภัตติ : สติ, สนฺเต, สนฺตสฺมึ, สนฺตมฺหิ, สนฺเตสุฯ 

อาลปน(วิภัตติ): โภ สนฺต, ภวนฺโต สนฺโตฯ  

ดังนี้.



สุชนกณฺโฑ นิฎฺฐิโตฯ

จบหมวดว่าด้วยคนดี


..

Keine Kommentare: