๑๔๘. ทาสผู้รับใช้ประจำกาย
กายสฺส ทกฺขิณหตฺโถ, ทาโส เอตฺถ กนิฎฺฐโก;
กณฺณฆานานมกฺขีนํ, วาโม ตุ ปาททาสโกฯ
„มือข้างขวา เป็นทาสของกาย
นิ้วก้อย เป็นทาสของหูจมูกและตา
ส่วนมือข้างซ้าย เป็นทาสของเท้า.“
(โลกนีติ หมวดเบ็ดเตล็ด คาถาที่ ๑๔๘)
..
ศัพท์น่ารู้ :
กายสฺส (แห่งกาย, ของกาย) กาย+ส
ทกฺขิณหตฺโถ (มือขวา) ทกฺขิณ (ทิศใต้, ด้านขวา, ทักษิณ) + หตฺถ (มือ, งวง, หัตถ์) > ทกฺขิณหตฺถ+สิ
ทาโส (ทาส, ผู้รับใช้) ทาส+สิ
เอตฺถ (ใน...นี้, ในมือนี้) อิม+ถ ปัจจัย สัพพนาม.
กนิฎฺฐโก (คนเล็กที่สุด, น้องสุดท้อง, นิ้วก้อย) กนิฏฺฐก+สิ
กณฺณฆานานมกฺขีนํ แยกเป็น กณฺณฆานานํ + อกฺขีนํ (แห่งหูและจมูก ท. + แห่งตา ท.) กณฺณ (ช่องหู, รูหู), ฆาน (จมูก, เครื่องสูดดม), อกฺขิ (ตา).
วาโม = วามหตฺโถ (ซ้าย, = มือซ้าย) วาม+สิ
ตุ (ส่วน, แต่, สำหรับ) นิบาต
ปาททาสโก (เป็นทาสแห่งเท้า) ปาท (เท้า, บาท) + ทาสก (ทาส, คนรับใช้) ปาททาสก+สิ.
คาถาบทกระทู้บทตั้งด้านบนนั้น ได้ปรับแก้ใหม่ตามโลกนีติไตรพากย์ เข้าใจว่าเป็นฉบับที่ถูกต้อง ส่วนสำนวนเก่าที่มาในฉัฏฐสังคายนา มีศัพท์ต่างกันสองแห่งคือ โทโส (โทษ), และ ปาทปาสโก (บ่วงแห่งเท้า) น่าจะเป็นศัพท์ที่คลาดเคลื่อน ตามที่ปรากฏดังต่อไปนี้
กายสฺส ทกฺขิณหตฺโถ, โทโส เอตฺถ กนิฎฺฐโก;
กณฺณ ฆานาน-มกฺขีนํ, วาโม ตุ ปาทปาสโกฯ
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen