Dienstag, 6. Dezember 2022

๓๑. ธรรมของบัณฑิต ๗ อย่าง

 

๓๑. ธรรมของบัณฑิต อย่าง


สทฺธา หิริ โอตฺตปฺปํ, พาหุสจฺจํ วิรํ สติ;

ปญฺญา สตฺตธมฺเมหิ, สมฺปนฺโน ปณฺฑิโต มโต.


บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยธรรม อย่างนี้ คือ

ความเชื่อ ความละอายบาป ความเกรงกลัวบาป

ความเป็นผู้สดับมาก   ความเพียร การระลึกได้  

และการรู้แจ้งตามเป็นจริง นับได้ว่าเป็น บัณฑิต.


(ธรรมนีติ ปัญฺญากถา ๓๑, ๓๘๘)


--


ศัพท์น่ารู้ :


สทฺธา (ความเชื่อ, ศรัทธา) สทฺธา+สิ 

หิริ (ความละอายต่อบาป) หิริ+สิ 

(ด้วย, และ) ทั้งสองศัพท์เป็นนิบาตใช้ในอรรถปทสมุจจยะ (รวบรวมบท) 

โอตฺตปฺปํ (ความเกรงกลัวบาป) โอตฺตปฺป+สิ 

พาหุสจฺจํ (ความเป็นผู้ได้ฟังมาก, พหูสูตร) พาหุสจฺจ+สิ 

วิรํ = วิริยํ (ความเพียร, ความพยายาม) วิริย+สิ (วิรํ คงเป็นการย่อศัพท์เพื่อรักษาฉันท์ ?)

สติ (การระลึก, การนึกได้, -ถึงสิ่งที่ทำถึงคำที่พูด) สติ+สิ

ปญฺญา (การรู้แจ้ง, รู้ชัดตามเป็นจริง) ปญฺญา+สิ

สตฺตธมฺเมหิ (ด้วยธรรมเจ็ดประการ) สตฺต+ธมฺม > สตฺตธมฺม+หิ 

สมฺปนฺโน (ถึงพร้อมแล้ว) สํ+√ปท+ > สมฺปนฺน+สิ

ปณฺฑิโต  (บัณฑิต, ผู้ฉลาด, นักปราชญ์) ปณฺฑิต+สิ

มโต (ถูกรู้แล้ว) √มน+ > มต+สิ


--


อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้



ความเชื่อ แลความละอาย ความเกรงกลัว 

หมั่นสะดับมาก ความเพียร สติปัญญา 

ผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมดี อย่างนี้ นับเป็นบัณฑิตได้.


--


อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...


ความเชื่อ ความละอายใจ ความกลัวผิด

ความหมั่นสดับมาก ความเพียร ความมีสติ

ความมีปัญญา ผู้สมบูรณ์ด้วยธรรมทั้ง ประการนี้

ท่านยอมรับกันว่าเป็นบัณฑิต.

--


Keine Kommentare: