Mittwoch, 7. Dezember 2022

๓๒. ประโยชน์ ๒ อย่าง


๓๒. ประโยชน์ อย่าง


ทิฏฺเฐ ธมฺเม โย อตฺโถ, โย จตฺโถ สมฺปรายิโก;

อตฺถาภิสมยา ธีโร, ปณฺฑิโตติ ปวุจฺจติ.


เพราะบรรลุถึงประโยชน์ อย่าง คือ 

ประโยชน์ในปัจจุบัน   

ประโยชน์ในสัมปรายภพ

ท่านผู้มีปัญญา เขาเรียกว่าเป็นบัณฑิต.


(ธรรมนีติ ปัญญากถา ๓๒, นรทักขทีปนี ๗๘, องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๔๓, ขุ. อิติ. ๒๕/๒๐๑)


--


ศัพท์น่ารู้ :


ทิฏฺเฐ ธมฺเม (ในธรรมอันตนเห็นแล้ว, ประโยชน์ในปัจจุบัน) เป็นศัพท์ที่นิยมใช้คู่กัน หมายถึง ปัจจุบัน, ชาตินี้. √ทิส+ > ทิฏฺฐ+สฺมึ = ทิฏฺเฐ, √ธร+รมฺม > ธมฺม+สฺมึ = ธมฺเม.

(ด้วย, และ) นิบาต 

โย (ใด) +สิ สัพพนาม 

อตฺโถ (เนื้อความ, ประโยชน์, อรรถ) อตฺถ+สิ 

โย (ใด) +สิ สัพพนาม 

จตฺโถ ตัดบทเป็น +อตฺโถ 

สมฺปรายิโก (ที่เป็นไปในเบื้องหน้า, สัมปรายภพ, ชาติหน้า) สมฺปรายิก+สิ

อตฺถาภิสมยา (เพราะบรรลุประโยชน์, เพราะเข้าใจประโยชน์) อตฺถ+อภิสมย > อตฺถาภิสมย+สฺมา

ธีโร (ผู้มีปัญญา, ธีรชน, นักปราชญ์) ธีร+สิ 

ปณฺฑิโตติ ตัดบทเป็น ปณฺฑิโต+อิติ (ว่าบัณฑิต, ว่าผู้ฉลาด, ว่าผู้มีปัญญา) ปณฺฑิต+สิ, อิติ ศัพท์เป็นนิบาตใช้ในอรรถ...

ปวุจฺจติ (ถูกเรียก, ถูกขนานนาม, ถูกกล่าวขาน) +√วจ++เต ภูวาทิ. กัมม.


--


อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้



ธีรชนท่านว่าเป็นบัณฑิต เพราะเข้าใจ

ประโยชน์ทั้งสอง คือประโยชน์ในปัจจุบัน 

แลประโยชน์ในเบื้องหน้า.


--


อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...


ท่านที่รู้ประโยชน์ทั้งสอง คือ 

ประโยชน์โลกนี้   ประโยชนืโลกหน้า

เป็นคนมีปัญญา ท่านว่าเป็นบัณฑิต.


--


 

Keine Kommentare: