Donnerstag, 8. Dezember 2022

๓๓. รู้อย่างบัณฑิต


๓๓. รู้อย่างบัณฑิต


สภาวสทิสํ วากฺยํ, สภาวสทิสํ ปิยํ;

สภาวสทิสํ โกธํ, โย ชานาติ ปณฺฑิโต.


ผู้ใดรู้จักพูดเหมาะสมตามสภาวะ

รู้จักรักเหมาะสมตามภาวะของตน 

รู้จักโกรธเหมาะสมตามเหตุผล

ผู้นั้น นับว่าเป็นบัณฑิต.


(ธรรมนีติ ปัญญากถา ๓๒, โลกนีติ ๒๙, กวิทัปปณนีติ ๙๔)


--


ศัพท์น่ารู้ :


สภาวสทิสํ (ที่เสมอด้วยสภาวะ, สมควรตามที่เป็นจริง) สภาว+สทิส > สภาวสทิส+อํ, 

วากฺยํ (คำพูด, ประโยค, พากย์) √วจ+ณฺย ปัจจัย > วากฺย+อํ, ลบ ณฺ, ที่ฆะ เป็น อา, แปลง จฺ เป็น กฺ § กคา จชานํ. (รู ๕๕๔)

 ปิยํ (ความรัก, ที่รัก) ปิย+อํ

โกธํ (ความโกรธ) โกธ+อํ

โย (...ใด) +สิ เป็นสัพพนาม, = โย ปุคฺคโล (บุคคลใด)

ชานาติ (ย่อมรู้) √ญา+นา+ติ, กิยาทิ. กัตตุ.

= โส  (...นั้น) +สิ เป็นสัพพนาม  = โส ปุคฺคโล (บุคคลนั้น)

ปณฺฑิโต (บัณฑิต, ผู้ฉลาด) ปณฺฑิต+สิ


ส่วนในโลกนีติ และกวิทัปปณนีติ มีข้อความที่เหมือนกัน ดังนี้


อตฺตานุรูปกํ วากฺยํ,  สภาวรูปกํ ปิยํ;

อตฺตานุรูปกํ โกธํ,  โย ชานาติ ปณฺฑิโตฯ


--


อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้



ผู้ใดรู้จักพูดสมควรแก่ภาวะ รู้จักรักสมควร

แก่ภาวะของตน รู้จักโกรธแต่พอสมอำนาจ 

ผู้นั้นเป็นบัณฑิต


--


อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...


ผู้ใดรู้จักพูดจาพอเหมาะสมแก่ภาวะของตน

รู้จักรักเหมาะแก่ภาวะของตน

รู้จักโกรธพอเหมาะแก่ภาวะของตน

รู้นั้นเป็นบัณฑิต.


--

Keine Kommentare: