Samstag, 22. April 2023

๑๕๘. หญิงผู้ประเสริฐ

๑๕๘. หญิงผู้ประเสริฐ


สุตฺโต มาตาว โภเชสิ, ภรเณสุ ธาติโย;

กมฺเมสุ สกปนฺติ , กตกมฺเมสุ ธาติ นํ.


หญิงใด เวลากินเหมือนแม่ให้สามีกินก่อน, 

เวลาเลี้ยงดู เป็นดุจแม่นมทั้งหลาย 

ในเวลาทำกิจช่วยคิดดุจงานของตน

เมื่อทำกิจเสร็จแล้ว ช่วยดูแลรักษาไว้.


(ธรรมนีติ อิตถีกถา ๑๕๘)


--


ศัพท์น่ารู้ :


สุตฺโต (เส้นด้าย, หลับแล้ว) แต่ในที่นี้น่าจะเป็น ภุตฺเต แปลว่า ขณะบริโภค, ในเวลาที่บริโภค. น่าจะสมควรกว่า. ในฉบับแปลราช-ธรรม-โลกนีติ เป็น ภุตฺโต (บริโภคแล้ว, กินแล้ว)

มาตาว (ดุจมารดา, เหมือนแม่) มาตา+อิว ในฉบับแปลราช-ธรรม-โลกนีติ ท่านแยกเป็น มา ตาว.

โภเชสิ (ให้กินแล้ว,ให้บริโภคแล้ว) ภุช+เณ+ อาคม+อี ที่ถูกควรเป็น โภเชติ (ย่อมให้กิน, ให้บริโภคอยู่)  ภุช+เณ+ติ รุธาทิคณะ เหตุกัตตุวาจก

ภรเณสุ (การเลี้ยงดู, แบกหาม) ภรณ+สุ,

(ด้วย, และ) นิบาต

ธาติโย (แม่นม, แม่เลี้ยง .) ธาติ+โย

กมฺเมสุ (ในการงาน .) กมฺม+สุ

สกปนฺติ (ถ่องแถว-, แนวเส้น-, ระเบียบของตน,​ -ด้วยตนเอง) สก (ตนเอง) +ปนฺติ (ถ่องแถว) > สกปนฺติ+สิ = สกปนฺติ (ความเป็นระเบียบด้วยตนเอง, ความมีระเบียบดุจงานของตน) บาทคาถานี้ ในฉบับแปลราช-ธรรม-โลกนีติ เป็น กมฺเมสุ สกมนฺตี , ผู้มีความคิดเป็นของตนในการงาน .

กตกมฺเมสุ (ในการงานที่ทำแล้ว .) กต+กมฺม > กตกมฺม+สุ

ธาติ (ทรงไว้) ธา++ติ  ภูวาทิ. กัตตุ. 

นํ (นั้น) +อํ สัพพนาม.



--


อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้



นางสาวใดเมื่อจะบริโภคก็ไม่บริโภคก่อน ในเวลา

เลี้ยงก็เป็นเหมือนแม่ ในเวลาทำกิจก็คิดเสมือน

ของ ตน เมื่อทำกิจการแล้วก็รักษากิจนั้นมิให้

เสื่อมหาย.



--


อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...


นางใด เมื่อจะกินก็ไม่กินก่อน

เวลาเลี้ยงก็เหมือนแม่นม

เวลาทำกิจก็คิดทำเหมือนของ ตน

เมื่อนทำเสร็จแล้ว ก็รักษากิจนั้นมิให้เสื่อมคลาย.


--


 

Keine Kommentare: