Dienstag, 18. Juli 2023

๒๔๐. ทำดีเสมอตัวทำมั่วถูกด่า

๒๔๐. ทำดีเสมอตัวทำมั่วถูกด่า


คณสฺสคฺคโต* คจฺเฉ, สิทฺเธ กมฺเม สมํ ผลํ;

กมฺมวิปฺปตฺติ เจ โหติ, ผรุสํ ตสฺส ภาสเย.


ไม่ควรรับงานเป็นหัวหน้าคณะ 

เมื่อการงานเสร็จก็มีผลเท่าเดิม

ถ้าว่าการงานเกิดผิดพลาดแล้วไซร์

คนเป็นหัวหน้านั้นต้องโดนด่ายับ.


(ธรรมนีติ อกตกถา ๒๔๐, มหารหนีติ ๑๘๑)


--


ศัพท์น่ารู้ :


(ไม่,​หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ 

คณสฺสคฺคโต ตัดบทเป็น คณสฺส+อคฺคโต, (โดยเป็นยอดแห่งคณะ, เป็นหัวหน้าคณะ) คณ+ = คณสฺส (แห่งคณะ), อคฺค+โต = อคฺคโต (โดยความเป็นยอด, เป็นหัวหน้า), หมายเหตุ * ศัพท์นี้เดิมเป็น คณสฺสคฺคโถ ได้แก้ใหม่เป็น คณสฺสคฺคโต ตามนัยมหารหนีติ น่าจะถูกต้องกว่า

คจฺเฉ (ไป, ถึง, ลุ, ประสบ) คมุ++เอยฺย

สิทฺเธ (สำเร็จแล้ว) สิทฺธ+สฺมี

กมฺเม (กรรม, การงาน) กมฺม+สฺมึ

สมํ (เสมอ, สม) สม+สิ

ผลํ (ผล) ผล+สิ

กมฺมวิปฺปตฺติ (ความวิบัติแห่งการงาน, การงานวิบัติ) กมฺม+วิปฺปตฺติ > กมฺมวิปฺปตฺติ+สิ

เจ (ถ้าว่า, หากว่า, ผิว่า) นิบาตอรรถตั้งความสงสัย

โหติ (ย่อมมี, ย่อมเป็น) √หู++ติ ภูวาทิ. กัตตุ.

ผรุสํ (หยาบคาย) ผรุส+อํ

ตสฺส (แก่ผู้นั้น,​ แก่เขา) + สัพพนาม

ภาสเย (พึงกล่าว, เผยคำ) √ภาส+ณย+เอยฺย จุราทิ. กัตตุ. 


ส่วนในมหารหนีติ บาทคาถาสุดท้าย เป็น มุขโร ตตฺร หญฺญเต (คนปากกล้าย่อมประจานในเรื่องนั้น)


--


อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ (พากย์ธัมมนีติ) ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้


สูเจ้าไม่พึงดำเนินกิจโดยเป็นหัวหน้าหมู่ เมื่อการ

งานสำเร็จ ผลย่อมมีเท่ากัน หากว่ากรรมวิบัติไป

ผู้ที่ขันเป็นหัวหน้าจะต้องประลัยลงในที่นั้น.



--


อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้..


ไม่ควรขันอาสาเป็นหัวหน้าหมู่

เมื่อกิจธุระสำเร็จก็มีผลเท่ากัน

ถ้าว่ากรรมวิบัติมีขึ้น

คนที่เป็นหัวหน้านั่นแหละ 

จะต้องประสบความประลัยในที่นั้น.


--


 

Keine Kommentare: