Mittwoch, 19. Juli 2023

๒๔๑. ดื่มนมยามราตรี

๒๔๑. ดื่มนมยามราตรี


พาลกฺโกเปตธูโม , วุฏฺฐิตฺถิ ปลฺลโลทกํ;

อายุกฺขยกรํ นิจฺจํ, รตฺโต ทธิโภชนํ.


ตะวันทอแสงอ่อนยังทำให้หมอกจาง

ฝนตกที่ละน้อย ยังทำให้เต็มสระ

การบริโภคนมส้มในกลางคืน

เป็นประจำ อาจทำให้สิ้นอายุได้.


(ธรรมนีติ อกตคาถา ๒๔๑, มหารหนีติ ๒๑๘)


--


ศัพท์น่ารู้ :


พาลกฺโกเปตธูโม ตัดบทเป็น พาลกฺโก+อเปตธูโม, พาลกฺโก (ตะวันมีแสงอ่อน) พาล (อ่อน) + อกฺก (พระอาทิตย์, ต้นรัก) > พาลกฺก+สิ = พาลกฺโก, อเปตธูโม (มีควันไปปราศแล้ว, ปราศจากควันไฟ) อเปต (ปราศจาก) + ธูม (ควันไฟ, หมอก) > อเปตธูม+สิ = อเปตธูโม.

(และ, ด้วย) นิบาตบท

วุฏฺฐิตฺถิ (ฝน มีอยู่) วุฏฺฐิ (ฝน+) อตฺถิ (มีอยู่, ย่อมมี) ศัพท์นี้เดิมเป็น วุฑฺฒิตฺถิ (มีความเจริญ, มีเพิ่มขึ้น) ตัดบทเป็น วุฑฺฒิ (เจริญ, เพิ่ม, ขยาย) + อตฺถิ (ย่อมมี,มีอยู่)  ได้แก้ใหม่เป็น วุฏฺฐิตฺถิ ตามฉบับ โลกนีติไตรพากย์ และ ราชนีติ ธรรมนีติ  ซึ่งถือว่าน่าจะถูกต้องกว่า.

ปลฺลโลทกํ (น้ำในสระน้อย) ปลฺลล (สระน้อย, ทะเลสาบน้อย) +อุทก (น้ำ) > ปลฺลโลทก+สิ

อายุกฺขยกรํ (ทำให้สิ้นอายุ) อายุ (อายุ) +ขย (สิ้น) +กร (กระทำ) > อายุกฺขยกร+สิ

นิจฺจํ (เป็นนิจ, แน่นอน) นิบาต

รตฺโต (แดง, โลหิต, เลือด, ย้อมแล้ว) รตฺต+สิ, อนึ่ง รตฺโต แปลว่า ในราตรี, ในกลางคืน ก็ได้ สำเร็จรูปมาจาก รตฺติ+สฺมี แปลง สฺมี เป็น อํ, โอ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า อาทิโต โอ . (รู ๑๘๖) ฉะนั้นในที่นี้ ขอแปลศัพท์นี้ว่า ในเวลากลางคืน, ยามค่ำคืน, ช่วงราตรี.

(และ, ด้วย) นิบาตบท

ทธิโภชนํ (อาหารคือนมส้ม, การบริโภคนมส้ม) ทธิ (นมส้ม, นมเปรี้ยว) +โภชน (การบริโภค, อาหาร) > ทธิโภชน+สิ


--


อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ (พากย์ธัมมนีติ) ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้



อันตะวันแสงอ่อนยังปราศจากควัน อันเมล็ดฝน

ยังมีน้ำฝนเป็นตะกอน อันคนมีสัญจรโรค บริโภค

โภชนะเจือนมส้ม ก็ทำความสิ้นไปแห่งชีวิตเป็นนิจแล.


--


อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้..


พระอาทิตย์แสงอ่อนปราศจากควัน

เม็ดฝนยังมีน้ำเป็นตะกอน

คนสัญจรโรคบริโภคโภชนะเจือนมส้ม

ก็ทำความสิ้นไปแห่งชีวิตเป็นนิตย์แล.


--


 

Keine Kommentare: