Sonntag, 2. Juli 2023

๒๒๕. อ่อนได้ไปสูง

๒๒๕. อ่อนได้ไปสูง


ครุกาตพฺพโปเสสุ, นีจวุตฺตึ กโรติ โย;

นีจตฺตํ โส ปหนฺตฺวาน, อุตฺตมตฺเถ ปติฎฺฐติ.


ผู้ใดประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตน

ในเหล่าชนผู้ควรเคารพทั้งหลาย 

เขาผู้นั้นละความเป็นชนชั้นต่ำแล้ว

จะดำรงอยู่ในฐานะชนชั้นสูง.


(ธรรมนีติ กตกถา ๒๒๕, มหารหนีติ ๒๔๓)


--


ศัพท์น่ารู้ :


ครุกาตพฺพโปเสสุ (ในบุคคลผู้ควรเคารพ .) ครุ (หนัก)+กาตพฺพ (ควรทำ) > ครุกาตพฺพ (ผู้ควรเคารพ)+โปส (ผู้ชาย, บุคคล) > ครุกาตพฺพโปส+สุ

นีจวุตฺตึ (การประพฤตินอบน้อม) นีจ (ต่ำ, นอบน้อม) + วุตฺติ (การประพฤติ, การเลี้ยงชีพ) > นีจวุตฺติ+อํ

กโรติ (กระทำ, ปฏิบัติ) √กร+โอ+ติ ตนาทิ. กัตตุ. 

โย (ใด, คนใด) +สิ สัพพนาม

นีจตฺตํ (ซึ่งความเป็นแห่งคนชั้นต่ำ, ความเป็นผู้ต่ำ, สามัญชน) นีจ+ตฺต ปัจจัยในภาวตัทธิต > นีจตฺต+อํ

โส (นั้น, คนนั้น​, เขา) +สิ สัพพนาม 

ปหนฺตฺวาน (ละ, สละ, กำจัด) +√หน+ตฺวาน > ปหนฺตวาน+สิ ให้ลบ สิ วิภัตติเสีย 

อุตฺตมตฺเถ (ในอรรถที่สูง, ประโยชน์อันอุดม, ฐานะอันสูง, ปัญญาชน) อุตฺตม (สูงสุด, อุดม, ประเสริฐ) + อตฺถ (อรรถ, ประโยชน์​, ฐานะ) > อุตฺตมตฺถ+สฺมึ, ในมหารหนีติ เป็น อุตตมตฺเต.

ปติฎฺฐติ (ตั้งไว้, ดำรง, ประดิษฐาน) +√ฐา++ติ ภูวาทิ. กัตตุ.


--


อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ (ธัมมนีติ) ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้



ในจำพวกคนผู้ควรทำให้หนัก (เคารพ) ผู้ใด

ประพฤติต่ำตัว ผู้นั้นเมื่อละฐานะอันเต่าแล้ว ก็

ได้ดำรงในฐานะอันสูง.


--


อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้..


ในบุคคลที่ควรทำความเคารพ

ผู้ใดมีฐานะต่ำ ละฐานะต่ำได้แล้ว

ดำรงอยู่ในฐานะอันสูงศักดิ์.


--



 

Keine Kommentare: