Montag, 24. Juli 2023

๒๔๖. เทวดาประจำกาย ๕

 

๒๔๖. เทวดาประจำกาย


เทหีติ วจนทฺวารา, เทหฎฺฐา ปญฺจ เทวตา;

สชฺช นิยฺยนฺติ ธิ กิตฺติ, มติ หีริ สิรีปิจ.


ขอให้คำว่า จงให้เถิด จงติดอยู่ที่ริมฝีปาก

เทวาดาประจำตัวทั้ง คือ ปรีชา ชื่อเสียง

ความรู้ ความละอายใจ มิ่งขวัญเหล่านี้

จงหลีกไปเถิด. (คนขอทานพูด)


(ธรรมนีติ อกตกถา ๒๔๖, มหารหนีติ ๒๒๑)


--


ศัพท์น่ารู้ :


เทหีติ (ว่า ขอท่านจงให้) เทหิ+อิติ, √ทา++หิ = เทหิ (ท่านจงให้), อิติ ศัพท์เป็นนิบาต

วจนทฺวารา (มีประตูแห่งคำ, พจนทวาร, ช่องคำพูด ?) วจน+ทฺวาร > วจนทฺวาร+อา > วจนทฺวารา+โย

เทหฎฺฐา (ตั้งอยู่ในกาย) เทห+ (ติฏฺฐติ) > เทหฏฺฐ+อา > เทหฏฺฐา+โย

ปญฺจ (ห้า) ปญฺจ+โย สังขยาสัพพนาม

เทวตา (เทวดา, เทพ) เทวตา+โย

สชฺช, = สชฺชุ (ในขณนั้น) นิบาตบอกกาลในอรรถสัตตมีวิภัติ

นิยฺยนฺติ (ย่อมถูกนำไป) √นี++อนฺเต ภูวาทิ. กัมม.

ธิ, ธี (ปัญญา, มีปัญญา) ธี+สิ

กิตฺติ (ชื่อเสียง, เกียรติ) กิตฺติ+สิ

มติ (ความรู้, ปัญญา) มติ+สิ

หีริ (ความละอาย) หิริ+สิ

สิรีปิจ ตัดบทเป็น สิริ+อปิจ (ความสง่า,ศิริ, ศรี + แม้ด้วย) 


หมายเหตุ. คาถานี้แปลค่อนข้างยากครับ จึงขออนุญาตคัดลอกคำแปลของโบราณาจารย์ให้ศึกษาไปก่อนนะครับ.


--


อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ (พากย์ธัมมนีติ) ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้



ขอคำว่าจงให้จงอยู่ริมฝีปากเถิด เทวดา

ประจำกายทั้งห้า คือ ปรีชาชื่อเสียง ความรู้

ความละอาย ความสง่า เหล่านี้จงหลีกไปเสีย

เถิด [ภาษิตคนขอทาน].


--


อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้..


ขอให้คำว่า จงให้เถิด จงติดอยู่ที่ริมฝีปาก

เทวาดาประจำตัวทั้ง คือ ปรีชา ชื่อเสียง

ความรู้ ความละอายใจ มิ่งขวัญเหล่านี้

จงหลีกไปเถิด. (คนขอทานพูด)


--


Keine Kommentare: