๒๕๒. สำเนียงส่อภาษา..
อาจาโร กุลมกฺขาติ, เทสมกฺขติ ภาสิตํ;
สมฺภโว เปมมกฺขาติ, เทหมกฺขาติ โภชนํ.
ความประพฤติบอกสกุล
คำพูดจาบ่งบอกพื้นเพ
ชาติกำเนิดบอกถึงความรัก
ร่างกายบ่งบอกถึงการกิน.
(ธรรมนีติ ญาตัพพกถา ๒๕๒, มหารหนีติ ๒๒๐)
--
ศัพท์น่ารู้ :
อาจาโร (ความประพฤติ, การปฏิบัติ, มารยาท, อาจาระ) อาจาร+สิ
กุลมกฺขาติ ตัดบทเป็น กุลํ+อกฺขาติ (บอกสกุล)
เทสมกฺขติ ตัดบทเป็น เทสํ+อกฺขาติ (บอกประเทศ, -ที่อยู่), เทส+อํ = เทสํ (ซึ่งประเทศ, ที่อยู่)
ภาสิตํ (คำพูก, การกล่าว) ภาสิต+สิ
สมฺภโว (ความเกิด, ความเจริญ) สมฺภว+สิ
เปมมกฺขาติ ตัดบทเป็น เปมํ+อกฺขาติ (บอกความรัก)
เทหมกฺขาติ ตัดบทเป็น เทหํ+อกฺขาติ (บอกร่างกาย), เทห+สิ = เทหํ (อ. ร่างกาย)
โภชนํ (อาหาร, การรับประทาน) โภชน+อํ
อกฺขาติ, อกฺขติ (กล่าว, บอก, ประกาศ) อา+√ขา+อ+ติ ภูวาทิ. กัตตุ. ในมหารหนีติ เป็น อาขฺยาติ แปลเหมือนกัน มาจาก อา+√ขฺยา+อ+ติ ภูวาทิ. กัตตุ. ทั้ง ขา, และ ขฺยา ธาตุ เป็นไปในอรระว่า กถน - การกล่าว.
--
อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ (พากย์ธัมมนีติ) ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
มารยาทย่อมส่อสกุล คำพูดย่อมบ่งที่อยู่ การ
สมภพย่อมบ่งความรัก อันการกินจักบ่งกาย.
--
อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้..
มารยาทส่อตระกูล
วาจาส่อถิ่น
กำเนิดส่อความรัก
ร่างกายส่อการกิน.
--
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen