Montag, 7. August 2023

๒๖๕. ประโยชน์ของอวัยวะ

๒๖๕. ประโยชน์ของอวัยวะ


โสตํ สุเตเนว กุณฺฑเลน,

ทาเนน ปาณี ตุ กงฺกเณน;

อาภาติ กาโย ปุริสุตฺตมสฺส,

ปโรปกาเรน จนฺทเนน.


หูมีไว้ใช้ฟัง มิใช่มีไว้เพียงใส่ตุ้มหู

มือมีไว้ให้ทาน มิใช่มีไว้ใส่กำไลแขน

กายของคนผู้ประเสริฐจะสง่าผ่าเผย

ด้วยทำคุณแก่คนอื่น มิใช่ด้วยทาของหอม.


(ธรรมนีติ อลังการกถา ๒๖๕, มหารหนีติ ๘๐)


--


ศัพท์น่ารู้ :


โสตํ (เครื่องฟัง, หู) โสต+สิ 

สุเตเนว ตัดบทเป็น สุเตน+เอว (ด้วยฟังนั่นเทียว, สำหรับฟังเท่านั้น)

(ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ

กุณฺฑเลน (ต่างหู, ตุ้มหู, ลอนผม) กุณฺฑล+นา

ทาเนน (ด้วยการให้, ทาน) ทาน+นา

ปาณี, ปาณิ (มือ, ฝ่ามือ, เกรียง) ปาณิ+สิ .

ตุ (ส่วน, แต่) นิบาต

กงฺกเณน (กำไรมือ, สร้อยแขน) กงฺกณ+นา

อาภาติ (รุ่งเรื่อง, เฉิดฉาย, สง่างาม) อา+√ภา-ทิตฺติยํ++ติ ภูวาทิ. กัตตุ.

กาโย (กาย, ร่างกาย, กอง) กาย+สิ

ปุริสุตฺตมสฺส (ของชายผู้สูงสุด, ของบุรุษผู้ประเสริฐ) ปุริส+อุตฺตม > ปุริสุตฺตม+

ปโรปกาเรน (โดยประการอื่น, โดยประการต่าง ) ปโร, ปร + ปการ > ปโรปการ+นา, แต่น่าจะแปลว่า โดยอุปการะแก่ผู้อื่น, ด้วยการทำประโยชน์แก่ผู้อื่น แยกเป็น ปร+อุปการ > ปโรปการ+นา.

จนฺทเนน (ด้วยจันทน์หอม = ด้วยการลูบไล้ด้วยแก่นจันทน์) จนฺทน+นา


--


อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ (พากย์ธัมมนีติ) ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้


หูมีประโยชน์ที่ฟังได้  มิใช่มีประโยชน์สำหรับใส่ตุ้มหู  

มือมีประโยชน์ที่ให้ทาน  มิใช่มีประโยชน์สำหรับใส่สายสร้อย  

กายของบุรุษผู้สูงสุดย่อมจะสง่าผ่าเผยโดยประการอื่น  

ไม่ใช่แต่เพียงกลิ่นจันทน์


--


อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้..


หูมีประโยชน์เมื่อใช้ฟัง มิใช่มีไว้เพียงใส่ตุ้มหู

มือมีไว้รับทำทาน มิใช่มีไว้ผูกสายสร้อย

กายของบุรุษสูงสุด ย่อมสง่าผ่าเผยเมื่อช่วยคนอื่น

มิใช่เมื่อลูบไล้แก่นจันทน์.




อลงฺการกถา นิฏฺฐิตา


จบแถลงเครื่องประดับ


--


 

Keine Kommentare: