Samstag, 23. September 2023

๓๐๓. ไผ่ต้องลม

๓๐๓. ไผ่ต้องลม


จาโปวูนูทโร จสฺส, วํโส วาปิ ปกมฺปยฺเย;

ปฎิโลมํ วตฺเตยฺย, ราชวสตึ วเส.


ราชเสวกพึงเป็นผู้มีท้องไม่นูนเหมือนแล่งธนู

พึงเป็นผู้โอนอ่อนบ้างเหมือนก่อไผ่ที่ต้องลม

ไม่ควรขัดแย้งเวลาที่พระเจัาอยู่หัวตรัสสั่ง 

ราชเสวกนั้น พึงอยู่ในราชสำนักได้.


(ธรรมนีติ ราชเสวกกถา ๓๐๓, ขุ. ชา ๒๘/๙๖๕ วิรุธชาดก)


--


ศัพท์น่ารู้ :


จาโปวูนูทโร ตัดบทเป็น จาโปว = จาโป+อิว + อนูทโร หรือ อนุทโร (ท้องไม่นูน, ท้องไม่ใหญ่ เหมือน แล่งธนู, คันธนู) +อุทร > อนุทร, อนูทร. บาทคาถานี้ในพระบาฬีฉบับฉัฏฐสังคายนา เป็น จาโปวูนุทโร ธีโร. ส่วนในฉบับสยามรัฐ เป็น จาโปว โอนเม ธีโร, แต่ในอรรถกถาฉบับสยามรัฐ เป็น จาโปว โอณโต ธีโร.

จสฺส ตัดบทเป็น +อสฺส (อนึ่ง พึงเป็น) เป็นนิบาตบท, อสฺส มาจากอส++เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.

วํโส (วงศ์, ไม้ไผ่, ขลุ่ย) วํส+สิ

วาปิ (แม้บ้าง) นิบาต

ปกมฺปยฺเย (ถูกให้หวั่นไหว, สั่น, สะเทือน) +√กปิ(√กมฺป)++ณย+เอยฺย จุราทิ. เหตุกัมม. (ไม่แน่ใจนะครับ) ส่วนในพระฉบับฉัฏฐสังคายนา เป็น ปกมฺปเย (หวั่นไหว, โอนเอนไป)

ปฎิโลมํ (ปฏิโลม, ตรงกันข้าม, ขัดกัน, ทวนกลับ) ปฏิโลม+อํ

(ไม่,​ หามิได้) นิบาต

วตฺเตยฺย (ให้เป็นไป, ให้หมุนไป) √วตฺต+เณ+เอยฺย จุราทิ.​ กัตตุ./เหตุกัตตุ.

ราชวสตึ วเส (เขาพึงอยู่ในราชสำนักได้)



--



ส่วนในพระบาฬีฉบับสยามรัฐ ท่านแปลว่า


ราชเสวกผู้เป็นนักปราชญ์ พึงโอนไปเหมือนคันธนู

และพึงไหวไปเหมือนไม้ไผ่ ไม่ควรทัดทาน 

ราชเสวกนั้น พึงอยู่ในราชสำนักได้.


--


อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ (พากย์ธัมมนีติ) ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้



แล่งปืนจะหย่อน และท้องจะร้อน (เพราะหิว)

แม้วงศ์ญาติจะย่อยยับสิ้นก็ตามที ชนผู้ไม่ประพฤติ

ย่อท้อแสยงขน จึ่งอยู่ในราชสำนักได้.


--


อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้..


ราชเสวกผู้บัณฑิต ต้องมีจิตอ่อนโยนไปตามในการที่ควร

ดุจคันธนูอันน้อมเข้าหากัน หรือไม้ไผ่อันโอนไปตามลม ฉะนั้น

ไม่ควรทูลทัดทานให้เสียราชการงานเมือง.


--


 

Keine Kommentare: