Dienstag, 26. September 2023

๓๐๖. อย่าพูดเกินประมาณ

๓๐๖. อย่าพูดเกินประมาณ


นาติเวลํ ปภาเสยฺย, ตุณฺหี สพฺพทา สิยา;

อวิกิณฺณํ มิตํ วาจํ, ปตฺถกาเล อุทีรเย.


ราชเสวกไม่ควรพูดเกินประมาณ

แต่ก็ไม่ควรนิ่งเฉยทุกเมื่อไป

เมื่อถึงเวลาพูด ควรเปล่งถ้อยคำ

แต่พอประมาณ อย่าให้พร่ำเพรื่อ.


(ธรรมนีติ ราชเสวกกถา ๓๐๖, ๗๒, ขุ. ชา ๒๘/๙๖๖ วิธุรชาดก)


--


ศัพท์น่ารู้ :


นาติเวลํ ตัดบทเป็ฯ +อติเวลํ

ปภาเสยฺย (ควรพูด, กล่าว, ประภาษ, ตรัส, รับสั่ง, บอก) +√ภาส++เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.

(ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ

ตุณฺหี (นิ่ง, เงียบ, ไม่มีเสียง, ดุษฎี, ดุษณี) ตุณฺหี+สิ (เดิมเป็น ตุณฺหิ รัสสะ ได้แก้เป็น ตุณฺหี ให้ตรงกับพระบาฬี)

สพฺพทา (ทุกเมื่อ, ตลอดกาล) สพฺพ+ทา ปัจจัยในอรรถกาลสัตตมี

สิยา (พึงเป็น) √อส++เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ. ลบ ต้นธาตุ ได้บ้าง § สพฺพตฺถาสสฺสาทิโลโป . (รู ๔๙๖) แปลง เอยฺย, เอยฺยุํ เป็น อิยา, อิยุํ  § กฺวจิ ธาตุ (รู ๔๘๘) รวมสำเร็จเป็น สิยา สิยุํ ตามลำดับ

อวิกิณฺณํ (ไม่กระจัดกระจาย, ไม่พร่ำเพรื่อ) +วิกิณฺณ (วิ+กิร+) อวิกิณฺณ+สิ (เดิมเป็น อวิติณฺณํ รัสสะ ได้แก้เป็น อวิกิณฺณํ ให้ตรงกับพระบาฬี)

มิตํ  (กำหนด, พอประมาณ) √มา+อิ+ > มิต+สิ 

วากฺยํ (คำพูด, พากย์) วากฺย+สิ, (พระบาฬีเป็น วาจํ ทั้งสองฉบับ)

ปตฺตกาเล (กาลอันถึงแล้ว) ปตฺต+กาล > ปตฺตกาล+สฺมึ (พระบาฬีเป็น ปตฺเต กาเล) 

อุทีรเย (พึงกล่าว, พูด, เปล่งเสียง) อุ+ อาคม+√อีร+ณย+เอยฺย จุราทิ. กัตตุ. (ฉบับสยามรัฐเป็น อุทีริเย)



--


อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ (พากย์ธัมมนีติ) ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้



อย่าพูดให้เกินเวลา แต่ไม่พึงนิ่งอึ้งในกาลทุกเมื่อ

เมื่อถึงเวลาเหมาะแล้วพึงเปล่งวาจาที่ไม่เหลวไหล

พอนับถือได้


--


อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้..


เป็นราชเสวก อย่าพูดมากเกินประมาณ

จะนิ่งเสียที่เดียวก็ไม่ควร

เมื่อถึงคราวที่ต้องพูด

ก็พูดแต่พอประมาณไม่พร่ำเพรื่อ.


--


 

Keine Kommentare: