Dienstag, 17. Oktober 2023

๓๒๖. ของหวาน ๓ อย่าง

๓๒๖. ของหวาน อย่าง


ปถพฺยา มธุรา ตีณิ, อุจฺฉุ นารี สุภาสิตํ;

อุจฺฉุนารี สุตปฺปนฺติ, ตปฺปนฺติ สุภาสิตํ.


บนพื้นปฐพีมีของหวาน อย่าง คือ

อ้อย สาวน้อย และคำสุภาษิต

อ้อยและสาวน้อย ย่อมทำให้เดือดร้อนได้

ส่วนคำสุภาษิต  ไม่ทำให้เดือดร้อนเลย.


(ธรรมนีติ ทุกาทิมิสสกกถา ๓๒๖)


--


ศัพท์น่ารู้ :


ปถพฺยา (บนแผ่นดิน, ในปถพี) ปถวี+สฺมึ แปลง สฺมึ เป็น อา ด้วย ศัพท์ ในสูตรว่า อาทิโต โอ . (รู ๑๘๖)

มธุรา (ที่มีรสหวาน, ของหวาน) มธุ+ ปัจจัยในตทัสสัตถิตัทธิต > มธุร+โย

ตีณิ (สาม) ติ+โย สังขยาสัพพนาม

อุจฺฉุ (อ้อย) อุจฺฉุ+สิ

นารี  (สาวน้อย, ผู้หญิง, นารี) นารี

สุภาสิตํ (คำที่กล่าวดีแล้ว, สุภาษิต) สุภาสิต+สิ

อุจฺฉุนารี (อ้อยและสาวน้อย) อุจฺฉุ+นารี > อุจฺฉุนารี+โย

สุตปฺปนฺติ (เผา, เร่าร้อน, เดือดร้อน) สุ+√ตป++อนฺติ ทิวาทิ. กัตตุ. 

(ไม่, หามิได้) นิบาต

ตปฺปนฺติ (เผา, เร่าร้อน, เดือดร้อน) √ตป++อนฺติ ทิวาทิ. กัตตุ. ศัพท์นี้น่าจะเป็น ตปฺปติ เพราะประธานคือ สุภาสิตํ เป็นเอกพจน์

สุภาสิตํ (คำสุภาสิต) สุ+√ภาส+อิ+ > สุภาสิต+สิ



--


อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ (พากย์ธัมมนีติ) ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้



ในแผ่นดินมีสิ่งหวานเย็นอยู่ คือ

อ้อย สาวน้อย คำสุภาษิต แต่

อ้อยและสาวน้อยยังเดือดร้อนได้ 

ส่วนคำสุภาษิตไม่เดือดร้อนเลย.



--


อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้..


ในพื้นแผ่นดิน มีของหวานอยู่ อย่าง 

คือ อ้อย สาวน้อย คำสุภาษิต

แต่อ้อยและของหวานยังเดือดร้อนได้

ส่วนคำสุภาษิตไม่เดือดร้อนเลย.


--


 

Keine Kommentare: