Mittwoch, 3. April 2019

ปัญหาและเฉลย(วิชาธรรม) นักธรรมชั้นเอก ปี 2546


ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันเสาร์ ที่ .. พฤศจิกายน .. ๒๕๔๖
-------------------------------------
.
บาลีแสดงปฏิปทาแห่งนิพพิทาว่า เย จิตฺตํ สญฺเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา ผู้ใดสำรวมจิต ผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงแห่งมาร
.
คำว่า บ่วงแห่งมาร ได้แก่อะไร ?
.
อาการสำรวมจิต คืออย่างไร ?
ตอบ:
.
ได้แก่วัตถุกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าใคร่ น่าปรารถนา น่าชอบใจ
.
อาการสำรวมจิตมี ประการ คือ
) สำรวมอินทรีย์มิให้ความยินดีครอบงำ ในเมื่อเห็นรูป ฟังเสียง ดม กลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา
) มนสิการกัมมัฏฐานอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกามฉันท์ คือ อสุภและ กายคตาสติ หรืออันยังจิตให้สลด คือมรณสติ
) เจริญวิปัสสนา คือพิจารณาสังขารแยกออกเป็นขันธ์ สันนิษฐาน เห็นเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

.
.
นิพัทธทุกข์ หมายถึงทุกข์อย่างไร ?

Dienstag, 2. April 2019

ปัญหาและเฉลย(วิชาวินัยบัญญัติ) นักธรรมชั้นโท ปี 2546


ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันเสาร์ ที่ .. พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๖
-------------------------------

.
.
สิกขาบทนอกพระปาฏิโมกข์ เรียกว่าอะไร ? มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
.
ภิกษุล่วงละเมิดสิกขาบทนอกพระปาฏิโมกข์นั้น ต้องอาบัติโดยตรงอย่างไรบ้าง ?
ตอบ:
.
เรียกว่าอภิสมาจาร
มี อย่าง คือ เป็นข้อห้าม เป็นข้ออนุญาต
.
ต้องอาบัติโดยตรง อย่าง คือ ถุลลัจจัย ทุกกฏ


.
บริขารต่อไปนี้ได้แก่อะไรบ้าง ?
.
บริขารเครื่องบริโภค
.
บริขารเครื่องอุปโภค

Montag, 1. April 2019

ปัญหาและเฉลย(วิชาอนุพุทธประวัติ) นักธรรมชั้นโท ปี 2546


ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันเสาร์ ที่ .. พฤศจิกายน .. ๒๕๔๖
---------------------------------------------
.
.
อนุพุทธองค์แรกสำเร็จเป็นพระภิกษุด้วยพระพุทธดำรัสว่าอย่างไร ?
.
อนุพุทธองค์นั้นได้เป็นพระโสดาบันและได้เป็นพระอรหันต์ เพราะได้ฟังพระธรรมเทศนาอะไร ?
ตอบ:
.
ด้วยพระพุทธดำรัสว่า ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด

.
ได้เป็นพระโสดาบัน เพราะได้ฟังธัมมจักกัปปวัตตนสูตร และได้เป็นพระอรหันต์ เพราะได้ฟังอนัตตลักขณสูตร

Sonntag, 31. März 2019

ปัญหาและเฉลย(วิชาธรรม) นักธรรมชั้นโท ปี 2546


ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันเสาร์ ที่ .. พฤศจิกายน .. ๒๕๔๖

*********
.
.
เทสนา มีอะไรบ้าง ?
.
เทสนา อย่างนั้นต่างกันอย่างไร จงอธิบาย ?
ตอบ:
.
มี ปุคคลาธิฏฐานา มีบุคคลเป็นที่ตั้ง ธัมมาธิฏฐานา มีธรรมเป็นที่ตั้ง
.
ต่างกันอย่างนี้
การสอนที่ยกบุคคลมาเป็นตัวอย่าง เช่น ในมหาชนกชาดก สอนเรื่องความเพียร โดยกล่าวถึงพระมหาชนกโพธิสัตว์ว่า ทรงมีความเพียรอย่างยิ่ง พยายามว่ายน้ำในท่ามกลางมหาสมุทรที่กว้างใหญ่มองไม่เห็นฝั่งอย่างไม่ย่อท้อ ด้วยความุ่งมั่นที่จะถึงฝั่งให้ได้ เป็น ปุคคลาธิฏฐานา

Freitag, 29. März 2019

หนังสืออุโปสถ คู่มือหลักสูตรธรรมศึกษาชั้นโท


คำนำ

หนังสืออุโบสถนี้ เป็นหนังสือแบบเรียนวิชาวินัย ตามหลักสูตรธรรมศึกษาชั้นเอกแต่เดิม ชั้นนี้ไม่มีวิชาวินัย ผู้ศึกษาคงเรียนแต่สามวอชาหลักคือเรียงความแก้กระทู้ธรรม ธรรมมะและพุทธประวัติ
ต่อมาเมื่อ พ.. ๒๕๔๔ สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวงได้จัดประขุมเชิงปฏิบัติการ ระดับเลขานุการเจ้าคณะภาค เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดและเลขานุการสำนักเรียนในส่วนกลางเรื่องการสอบธรรมสนามหลวงขึ้น ณ วัดพระยายัง เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ที่ประชุมได้ปรารภว่าหลักสูตรธรรมศึกษามีเนื้อหาสาระมากเกินความจำเป็นสำหรับฆราวาสผู้เรียนชั้นนี้ ซึ่งโดยมากเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑ - ๖ บางส่วนอยู่ระดับประถมศึกษา ทำให้เวลาในการศึกษาไม่เพียงพอจึงไม่สามารถศึกษาให้จบตามหลักสูตรได้
ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติเห็นควรให้มีการปรับปรุงเนื้อหาหลักสูตรให้เหมาะสมแก่วัยผู้เรียน โดยธรรมศึกษาทั้งชั้นตรี โท เอก ได้ปรับลดหัวข้อธรรมะ (วิชาธรรม) และพุทธศาสน

อนุพุทธประวัติ หลักสูตรนักธรรมชั้นโท



บทนำ

อนุพุทธประวัติ คือ ประวัติของพระสาวกที่รับฟังคำสั่งสอนจากพระศาสดาแล้วเพียรพยายามปฏิบัติฝึกหัดกาย วาจา และใจตามนั้น จนได้บรรลุผลสูงสุดในพระพุทธศาสนา คือ พระอรหัตผล พระธรรมสังคาหกาจารย์ได้รวบรวมประวัติของท่านเหล่านั้นไว้ในพระบาลีโดยย่อ ๓ ด้าน คือ
. อปาทาน ว่าด้วยการสร้างสมความดี ตั่งแต่ได้รับการพยากรณ์จากสำนักพระพุทธเจ้า ในปางก่อนจนถึงชาติสุดท้าย แต่ละรูปใช้เวลาอย่างน้อยที่สุด ๑ แสนกัป
. เอตทัคคะ คือความเป็นผู้เลิศเพราะมีความชำนาญในด้านนั้น ๆ เช่น พระสารีบุตรเถระเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายด้านมีปัญญามาก
. เถรคาถา รวบรวมคำพูดที่พระเถระเหล่านั้น ได้กล่าวไว้ในโอกาสต่าง ๆ ซึ่งเป็นข้อคิดคติธรรมสำหรับ ปัจฉิมมาชนตาชน จะได้นำไปประพฤติปฏิบัติตามกุศลฉันทะของแต่ละบุคคล
ครั้นต่อมา พระอรรถกถาจารย์ ได้อธิบายบาลีเหล่านั้นให้กว้างขวางออกไป จึงทำให้ได้ประวัติความเป็นมา ของพระสาวกเหล่านั้นชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งในที่นี้ได้กำหนดเป็น ๙ หัวข้อด้วยกัน คือ

Donnerstag, 28. März 2019

ปัญหาและเฉลย(วิชาวินัย) นักธรรมชั้นตรี ปี 2546



ปัญหาและเฉลยวิชาวินัย นักธรรมชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันเสาร์ ที่ .. พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๖

------------------------------
.
.๑ ข้อความว่า “ พระศาสดาทรงตั้งอยู่ในที่เป็นพระธรรมราชาผู้ปกครอง ” หมายความว่าอย่างไร ?
.๒ พระบัญญัติที่ทรงตั้งไว้เดิมเรียกว่าอะไร ?
ตอบ:
.๑ หมายความว่า ทรงตั้งพระพุทธบัญญัติเพื่อป้องกันความประพฤติเสียหาย และวางโทษแก่ผู้ล่วงละเมิด ด้วยปรับอาบัติหนักบ้าง เบาบ้าง อย่างเดียวกับพระเจ้าแผ่นดินทรงตราพระราชบัญญัติ ฯ
.๒ เรียกว่า มูลบัญญัติ ฯ


.
.๑ การปลงชีวิตอย่างไร ต้องอาบัติถุลลัจจัย ?
.๒ “ภิกษุว่ายากสอนยาก ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง สงฆ์สวดกรรมเพื่อจะให้ละข้อ
ที่ประพฤตินั้น ถ้าไม่ละต้องสังฆาทิเสส” คือสิกขาบทที่เท่าไร ทรงบัญญัติเพื่อประสงค์ใด ?

Mittwoch, 27. März 2019

ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธประวัติ นักธรรมชั้นตรี ปี 2546



ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธประวัติ นักธรรมชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันเสาร์ ที่ .. พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๖

--------------------------------------
.
.๑ ประชาชนในชมพูทวีป มีกี่จำพวก ? อะไรบ้าง ?
.๒ ชาวชมพูทวีป แบ่งเป็นกี่วรรณะ ? อะไรบ้าง ?
ตอบ:
.๑ มี ๒ จำพวก คือ
) มิลักขะ เจ้าของถิ่นเดิม
) อริยกะ พวกอพยพมาใหม่ ฯ
.๒ แบ่งเป็น ๔ วรรณะ คือ กษัตริย์ ๑ พราหมณ์ ๑ แพศย์ ๑ ศูทร ๑ ฯ


.
.๑ กษัตริย์พระองค์ใดที่เป็นต้นศากยวงศ์ ?
.๒ พระโอรสและพระธิดาของเจ้าศากยะไปสร้างพระนครขึ้นใหม่ชื่อว่าเมืองอะไร ? ที่ชื่ออย่างนั้นเพราะเหตุไร ?