Mittwoch, 15. Juli 2020

๔๗. คนเบากว่านุ่น


๔๗. คนเบากว่านุ่น

ตูลํ สลฺลหุกํ โลเก, ตโต จปลชาติโก;
ตโต โนสาวโก ตโต, ยติ ธมฺมปมาทโก

นุ่นเป็นของเบาที่สุดในโลก,
เบากว่านั้น คือคนกลับกลอก;
เบากว่านั้นอีก คือคนไม่ฟังคำสอน, 
เบาสุดยิ่งกว่านั้น คือภิกษุผู้ประมาทในธรรม.“

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๔๗ มหารหนีติ ๑๔ ธัมมนีติ ๑๓ โลกนีติ ๑๔๖)

..

ปัญหาและเฉลย(แปลไทยเป็นมคธ) ประโยค ป.ธ. 5 ปี 2559


ปัญหาและเฉลย(แปลมคธเป็นไทย) ประโยค 1-2 ปี 2559


Dienstag, 14. Juli 2020

ธาตุกถาสรูปัตถนิสสยะ (หลักสูตรชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะเอก)


๔๖. ทั้งหนักและน่าเชื่อถือ


๔๖. ทั้งหนักและน่าเชื่อถือ

ปาสาณฉตฺตํ ครุกํ, ตโต เทวานาจิกฺขนา;
ตโต วุฑฺฒานโมวาโท, ตโต พุทฺธสฺส สาสนํ

ฉัตรที่ทำด้วยแผ่นหิน เป็นของหนัก,
คำบอกเล่าของเหล่าเทวดา หนักกว่านั้น;
ที่หนักกว่านั้น คือโอวาทของผู้เฒ่าทั้งหลาย,
ส่วนคำสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งหนักน่าเชื่อถือกว่านั้น.“

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๔๖ มหารหนีติ ๑๓ ธัมมนีติ ๑๒ โลกนีติ ๑๔๗)

..

ปัญหาและเฉลย(แปลมคธเป็นไทย) ประโยค ป.ธ. 5 ปี 2558 สอบครั้งที่ 2


Montag, 13. Juli 2020

อภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๙ เล่ม ๒ วิปัสสนากรรมฐาน (ชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะโท)


๔๕. พูดแต่พอดีย่อมมีค่า


๔๕. พูดแต่พอดีย่อมมีค่า

สตฺถกาปิ พหูวาจา, นาทรา พหุภาณิโน;
โสปการมุทาสินา, นนุ ทิฏฺฐํ นทีชลํฯ

คนมักพูดมาก มีวาจายืดยาว
ถึงจะมีประโยชน์ ก็ไม่มีใครเอื้อเฟื้อ
เหมือนน้ำในแม่น้ำ แม้มีอุปการะมาก 
คนไม่เอาใจใส่ จะเห็นได้อย่างไร?.“

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๔๕ มหารหนีติ ๑๑, ธัมมนีติ ๗๑)

..

ฉัฏฐสังคีติปิฏก 40 เล่ม



ปัญหาและเฉลย(แปลไทยเป็นมคธ) ประโยค ป.ธ. 5 ปี 2558 สอบครั้งที่ 2


Sonntag, 12. Juli 2020

สมถกรรมฐานทีปนี ปริจเฉทที่ ๙ เล่ม ๑ (หลักสูตรชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะโท)


๔๔. พูดแต่น้อยให้ถูกกาลย่อมมีค่า


๔๔. พูดแต่น้อยให้ถูกกาลย่อมมีค่า

ปตฺตกาโลทิตํ อปฺปํ, วากฺยํ สุภาสิตํ ภเว;
ขุทิตสฺส กทนฺนมฺปิ, ภุตฺตํ สาทุรสํ สิยา

คำพูดถึงจะน้อย หากกล่าวถูกกาล,
ก็จัดเป็นคำสุภาษิตได้เช่นกัน;
เหมือนข้าวถึงแม้จะบูดเน่า,
ก็เป็นของมีรสอร่อยสำหรับคนหิว.“

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๔๔ มหารหนีติ ๑๐, ธัมมนีติ ๗๐)

..

ปัญหาและเฉลย(แปลมคธเป็นไทย) ประโยค ป.ธ. 4 ปี 2558 สอบครั้งที่ 2