Samstag, 25. Juli 2020

๕๗. ใจของสัตบุรุษดุจนำ้ทะเล


๕๗. ใจของสัตบุรุษดุจนำ้ทะเล

สตํ ผรุสวาจาหิ, ยาติ วิกตึ มโน;
ติณุกฺกาหิ สกฺกาว, ตาเปตุํ สาคเร ชลํ

ใจของสัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่ถึง
ความผิดปกติด้วยคำหยาบคายต่าง ได้;
ดุจนำ้ทะเลอันใคร ไม่อาจให้เหือดแห้ง
ด้วยคบเพลิงหญ้าทั้งหลายได้ ฉะนั้น.“

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๕๗ มหารหนีติ ๓๒)

..

ปัญหาและเฉลย(แปลมคธเป็นไทย) ประโยค 1-2 ปี 2559 สอบครั้งที่ 2


Freitag, 24. Juli 2020

อรรถกถาปัญจปกรณ์ ภาค ๒ (ปัฏฐานปกรณ์) แปลโดย พระศรีรัตนโมลี (ชัยวัฒน์ ปญฺญาสิริ ปธ.๙)


๕๖. ประโยชน์เขา-ประโยชน์เรา


๕๖. ประโยชน์เขา-ประโยชน์เรา

สจฺจํ ปุนปิ สจฺจนฺติ, ภุชมุกฺขิปฺปมุจฺจเต;
สกตฺโถ นตฺถิ นตฺเถว, ปรสฺสตฺถ มกุพฺพโตฯ

ความจริงก็คือความจริง
แม้คนจะยักคิ้วหลิ่วตาพูดก็ตาม
เมื่อบุคคลไม่ทำประโยชน์แก่ผู้อื่น
ประโยชน์ตนที่ยังไม่มี คงจะไม่มีแน่แท้.“

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๕๖)

..

ปัญหาและเฉลย(แปลมคธเป็นไทย) ประโยค ป.ธ. 5 ปี 2559


Donnerstag, 23. Juli 2020

ก้าวสู่พระไตรปิฏก (พระวินัย-พระสูตร-พระอภิธรรม) เอกสารประกอบการบรรยาย


๕๕. ทรัพย์ของคนดีย่อมมีประโยชน์


๕๕. ทรัพย์ของคนดีย่อมมีประโยชน์

อมฺพุํ ปิวนฺติ โน นชฺโช, รุกฺโข ขาทติ โน ผลํ;
เมโฆ กฺวจิปิ โน สสฺสํ, ปรตฺถาย สตํ ธนํ

แม่น้ำย่อมไม่ดื่มกินนำ้,
ต้นไม้ย่อมไม่เคี้ยวกินผลไม้;
เมฆฝนย่อมไม่เคี้ยวกินข้าวกล้า,
ทรัพย์ของสัตบุรุษย่อมมีไว้เพื่อผู้อื่น.“

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๕๕ โลกนีติ ๖๔ มหารหนีติ ๓๑, ธัมมนีติ ๑๔๒)

..

ปัญหาและเฉลย(แปลไทยเป็นมคธ) ประโยค ป.ธ. 5 ปี 2559


Mittwoch, 22. Juli 2020

คัมภีร์มหาปัฏฐาน (หลักสูตรชั้นมหาอาภิธรรมิกะเอก) อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย


๕๔. สรีระกับความดีต่างกันอย่างไร


๕๔. สรีระกับความดีต่างกันอย่างไร

สรีรสฺส คุณานญฺจ, ทูรมจฺจนฺตมนฺตรํ;
สรีรํ ขณวิทฺธํสิ, กปฺปนฺติฏฺฐายิโน คุณาฯ

ร่างกายและคุณความดีทั้งหลาย,
มีความห่างไกลและแตกต่างกันยิ่งนัก;
ร่างกายอาจแตกทำลายได้ทุกขณะ,
ส่วนคุณความดีย่อมดำรงอยู่ได้ชั่วกัปป์.“

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๕๔ มหารหนีติ ๒๕, ธัมมนีติ ๓๗)

..

ปัญหาและเฉลย(แปลมคธเป็นไทย) ประโยค ป.ธ. 4 ปี 2559


Dienstag, 21. Juli 2020

คัมภีร์อายตนยมกและธาตุยมก (หลักสูตรชั้นมหาอาภิธรรมิกะโท)


๕๓. ผู้ที่มหาชนพึงอาศัยได้


๕๓. ผู้ที่มหาชนพึงอาศัยได้

อตฺตาว ยทิ วินีโต, นิชสฺสิตา มหาชนา;
วินีตํ ยนฺติ สพฺเพปิ, โก ตํ นาเสยฺย ปณฺฑิโตฯ

ผิว่าตนเองแลได้รับการฝึกหัดดีแล้วไซร์
มหาชนผู้เนื่องด้วยกายของตนแม้ทั้งปวง
ย่อมถึงบุคคลผู้ฝึกตนเองได้แล้วนั้น
นักปราชญคนไหนพึงทำลายเขาได้!“

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๕๓)

..

ปัญหาและเฉลย(แปลไทยเป็นมคธ) ประโยค ป.ธ. 4 ปี 2559