Donnerstag, 13. August 2020

คัมภีร์ปัฏฐาน ๒๒. สนิทฺทสฺสนติก (สนิททัสสนติกะ) ปัญหาวาระ ธัมมานุโลม


๗๖. วิญญูชนคนฉลาด


๗๖. วิญญูชนคนฉลาด

มุหุตฺตมปิ เจ วิญฺญู, ปณฺฑิตํ ปยิรุปาสติ;
ขิปฺปํ ธมฺมํ วิชานาติ, ชิวฺหา สูปรสํ ยถา

ถ้าว่าวิญญูชนเข้าไป
นั่งใกล้บัณฑิตแม้ครู่หนึ่ง 
ท่านย่อมรู้ธรรมได้ฉับพลัน 
เหมือนลิ้นรู้รสแกง ฉะนั้น

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๗๖ โลกนีติ ๒๖, ธัมมนีติ ๑๕๐, ขุ. . ๒๕/๑๕ พาลวรรค)

..

ปัญหาและเฉลย(แปลไทยเป็นมคธ) ประโยค ป.ธ. 6 ปี 2550


Mittwoch, 12. August 2020

คัมภีร์ปัฏฐาน ๒๑. อชฺฌตฺตารมฺมณติก (อัชฌัตตารัมมณติกะ) ปัญหาวาระ ธัมมานุโลม


๗๕. ควรคบหาผู้ชี้ขุมทรัพย์


๗๕. ควรคบหาผู้ชี้ขุมทรัพย์

นิธีนํว ปวตฺตารํ, ยํ ปสฺเส วชฺชทสฺสินํ;
นิคฺคยฺหวาทึ เมธาวึ, ตาทิสํ ปณฺฑิตํ ภเช;
ตาทิสํ ภชมานสฺส, เสยฺโย โหติ ปาปิโย  

บุคคลพึงเห็นบุคคลผู้มักชี้โทษ
เหมือนบุคคลผู้บอกขุมทรัพย์
พึงคบผู้มักกล่าวข่มขี่ มีปัญญาเช่นนั้น
เพราะว่า เมื่อคบบัณฑิตผู้เช่นนั้น
มีแต่คุณที่ประเสริฐ โทษที่ลามก ย่อมไม่มี.“

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๗๕ จตุรารักขทีปนี ๒๑ เมตตาภาวนานิทเทส ขุ. . ๒๕/๑๖)

..

ปัญหาและเฉลย(แปลมคธเป็นไทย) ประโยค ป.ธ. 5 ปี 2560


Dienstag, 11. August 2020

คัมภีร์ปัฏฐาน ๒๐. อชฺฌตฺตติก (อัชฌัตตติกะ) ปัญหาวาระ ธัมมานุโลม


๗๔. บัณฑิตยกย่องความไม่ประมาท



๗๔. บัณฑิตยกย่องความไม่ประมาท

อปฺปมาทํ ปสํสนฺติ, ปุญฺญกิริยาสุ ปณฺฑิตา;
อปฺปมตฺโต อุโภ อตฺเถ, อธิคฺคณฺหาติ ปณฺฑิโต

บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญ 
ความไม่ประมาทในบุญกิริยาทั้งหลาย;
บัณฑิตมีปัญญาไม่ประมาทแล้ว 
ย่อมยึดประโยชน์ทั้งสองไว้ได้.“

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๗๔ ขุ. อิติ. ๒๕/๒๐๑)

..

ปัญหาและเฉลย(แปลไทยเป็นมคธ) ประโยค ป.ธ. 5 ปี 2560


Montag, 10. August 2020

คัมภีร์ปัฏฐาน ๑๙. อตีตารมฺมณติก (อตีตารัมมณติกะ) ปัญหาวาระ ธัมมานุโลม


๗๓. บัณฑิตในต่างแดน


๗๓. บัณฑิตในต่างแดน

ปโรปเทเส ปณฺฑิจฺจํ, สพฺเพสํ สุกรญฺหิ โข;
ธมฺเม สยมนุฏฺฐานํ, กสฺสจิ สุมหตฺตโน

ที่แท้ ความเป็นบัณฑิตในต่างถิ่น
เป็นสิ่งที่ดีงาม แก่ชนทั้งปวงแล,
ความขี้เกียจในธรรม ย่อมมีเอง
แก่คนผู้มีตนชอบสบายบางคน.“

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๗๓)

..

ปัญหาและเฉลย(แปลมคธเป็นไทย) ประโยค ป.ธ. 4 ปี 2560


Sonntag, 9. August 2020

คัมภีร์ปัฏฐาน ๑๘. อตีตติก (อตีตติกะ) ปัญหาวาระ ธัมมานุโลม


๗๒. ปลงได้ แต่อย่าปล่อยเกิน



๗๒. ปลงได้ แต่อย่าปล่อยเกิน

ฐานภฏฺฐา โสภนฺเต, ทนฺตา เกสา นขา นรา;
อิติ วิญฺญาย มติมา, สฏฺฐานํ ปริจฺจเช  

ฟัน ผม เล็บทั้งหลายและคนด้วย
พลัดหลุดจากที่แล้ว ย่อมไม่งาม;
 เหตุนั้น ผู้มีปัญญาเมื่อรู้ชัดอย่างนี้แล้ว, 
จึงไม่ควรปล่อยตัวให้ทรุดโทรมเกินควร.“

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๗๒ มหารหนีติ ๗๘, ธัมมนีติ ๘๗)

..