Freitag, 28. August 2020

พระอภิธรรมใครว่ายาก ชุดที่ ๕ จิต และประเภทของจิต (๒)


๙๐. คนที่ต้องเตรียมตัวให้พร้อม


๙๐. คนที่ต้องเตรียมตัวให้พร้อม

วินา สตฺถํ คจฺเฉยฺย, สูโร สงฺคามภูมิยํ;
ปณฺฑิตฺวทฺธคู วาณิโช, วิเทสคมโน ตถาฯ

นักรบกล้าเว้นศาสตรา ไม่ควรไปสู่สนามรบ;
นักปราชญ์เว้นคัมภีร์ ไม่ควรไปสู่ธรรมสภา,
คนเดินทางไกลไร้สหาย ไม่ควรไปสู่ที่กันดาร,
พ่อค้าเว้นพวกพ้อง ไม่ควรไปค้าขายในต่างแดน.“

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๙๐ ธัมมนีติ ๒๔๕ มหารหนีติ ๑๐๙ โลกนีติ ๒๗)

..

ปัญหาและเฉลย(แต่งไทยเป็นมคธ) ประโยค ป.ธ. 9 ปี 2550


Donnerstag, 27. August 2020

๘๙. รักใดเล่าจะเท่ารักตนเอง


๘๙. รักใดเล่าจะเท่ารักตนเอง

นตฺถิ วิชฺชาสมํ มิตฺตํ, พฺยาธิสโม ริปุ;
อตฺตสมํ เปมํ, กมฺมสมํ พลํ

มิตร ที่เสมอด้วยวิชาความรู้ไม่มี,
ศัตรู ที่เสมอด้วยความเจ็บไข้ ไม่มี;
ความรัก ที่เสมอด้วยรักตนเอง ไม่มี, 
กำลัง ที่จะเสมอด้วยกำลังแห่งกรรม ไม่มี.“

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๘๙ โลกนีติ ๒๓ มหารหนีติ ๒๔๙ ธัมมนีติ ๓๗๑)

..

พระอภิธรรมใครว่ายาก ชุดที่ ๔ จิต ๑๒๑ ลักษณะและประเภทของจิต (ตอนที่ ๑)


ปัญหาและเฉลย(แปลมคธเป็นไทย) ประโยค ป.ธ. 8 ปี 2550


Mittwoch, 26. August 2020

พระอภิธรรมใครว่ายาก ชุดที่ ๓ การทำงานของจิต ลักษณะของจิต อำนาจของจิต


๘๘. การฟังเป็นบ่อเกิดแห่งปัญญา


๘๘. การฟังเป็นบ่อเกิดแห่งปัญญา 

สุสฺสูสา สุตฺตวทฺธนี, สุตํ ปญฺญาย วทฺธนํ;
ปญฺญาย อตฺถํ ชานาติ, อตฺโถ ญาโต สุขาวโหฯ

การตั้งใจฟัง ทำให้ความรู้พัฒนา,
ความรู้พัฒนาแล้ว ทำให้ปัญญาเจริญ;
เพราะปัญญาเจริญ เป็นเหตุให้รู้อรรถ,
อรรถที่รู้ชัดเจนแล้ว เป็นเหตุนำสุขมาให้.“

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๘๘ โลกนีติ ๒๑, มหารหนีติ ๖๓, ธัมมนีติ ๒๘, นรทักขทีปนี ๑๑)

..

ปัญหาและเฉลย(แปลไทยเป็นมคธ) ประโยค ป.ธ. 8 ปี 2550


Dienstag, 25. August 2020

พระอภิธรรมใครว่ายาก ชุดที่ ๒ ชีวิตและองค์ประกอบของชีวิต


๘๗. ธรรมดาชีวิตที่ควรเป็น


๘๗. ธรรมดาชีวิตที่ควรเป็น

ปฐเม สิปฺปํ คณฺเหยฺย, เอเสยฺย ทุติเย ธนํ;
จเรยฺย ตติเย ธมฺมํ, เอสา ชนาน ธมฺมตาฯ

ปฐมวัยควรศึกษาหาความรู้,
มัชฌิมวัยควรแสวงหาทรัพย์;
ปัจฉิมวัยควรประพฤติปฏิบัติธรรม,
นี้เป็นธรรมดาชีวิตของชนทั้งหลาย.“

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๘๗ โลกนีติ ๑๖,  นรทักขทีปนี ๑๕)

..

ปัญหาและเฉลย(แต่งฉันท์ภาษามคธ) ประโยค ป.ธ. 8 ปี 2550


Montag, 24. August 2020

พระอภิธรรมใครว่ายาก ชุดที่ ๑ บทนำ โดยดร.วิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ


๘๖. กบน้อยในกะลา


๘๖. กบน้อยในกะลา

อปฺปสฺสุโต สุตํ อปฺปํ, พหุํ มญฺญติ มานวา;
สินฺธุทกมปสฺสนฺโต, กูเป โตยํว มณฺฑุโก

คนมีความรู้น้อย เป็นคนถือตัว, 
สำคัญความรู้ที่น้อยว่ารู้มากมาย;
เปรียบเหมือนกบที่ไม่เคยเห็นทะเล,
สำคัญน้ำในบ่อน้อยว่าใหญ่หลวง ฉะนั้น.“ 

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๘๖ โลกนีติ ๑๕ มหารหนีติ ๑๒๒, ธัมมนีติ ๖๒)

..