Mittwoch, 2. September 2020

พระอภิธรรมใครว่ายาก ชุดที่ ๑๐ จิต และประเภทของจิต (๗)


๙๕. ลักษณะพวกมีปมด้อย


๙๕. ลักษณะพวกมีปมด้อย

อปฺปรูโป พหุํภาโส, อปฺปปญฺโญ ปกาสโก;
อปฺปปูโร ฆโฏ โขเภ, อปฺปขีรา คาวี จเลฯ

คนขี้เหร่ เป็นคนมักช่างคุย, 
คนมีปัญญาน้อย เป็นคนมักโอ้อวด;
หม้อน้ำที่พร่อง กระฉอกง่าย, 
แม่โคมีน้ำนมน้อย มักถีบถอง.“

(กวิทปฺปณนีติ ๙๕, โลกนีติ ๓๒)
(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๕๐ มหารหนีติ ๑๘, ธัมมนีติ ๓๔)

..

ปัญหาและเฉลย(แปลไทยเป็นมคธ) ประโยค ป.ธ. 6 ปี 2552


Dienstag, 1. September 2020

พระอภิธรรมใครว่ายาก ชุดที่ ๙ จิต และประเภทของจิต (๖)


๙๔. รู้อย่างบัณฑิต


๙๔. รู้อย่างบัณฑิต

อตฺตานุรูปกํ วากฺยํ, สภาวรูปกํ ปิยํ;
อตฺตานุรูปกํ โกธํ, โย ชานาติ ปณฺฑิโต

ผู้ใดรู้จักเจรจาสมตัว,
รู้จักรักสมสภาพ;
รู้จักโกรธสมตน,
ผู้นั้น นับว่าเป็นบัณฑิต”.

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๙๔ โลกนีติ ๒๙, ธัมมนีติ ๓๓)

..

ปัญหาและเฉลย(แปลมคธเป็นไทย) ประโยค ป.ธ. 6 ปี 2551


Montag, 31. August 2020

พระอภิธรรมใครว่ายาก ชุดที่ ๘ จิต และประเภทของจิต (๕)


๙๓. อยู่ผิดที่ราศรีหมอง


๙๓. อยู่ผิดที่ราศรีหมอง

หํโส มชฺเฌ กากานํ, สีโห คุนฺนํ โสภเต;
คทฺรภมชฺเฌ ตุรงฺโค, พาลมชฺเฌว ปณฺฑิโต

หงษ์ ย่อมไม่งามในฝูงกา, 
ราชสีห์ ย่อมไม่งามในฝูงโค;
ม้า ย่อมไม่งามในฝูงลา, 
บัณฑิต ย่อมไม่สง่าในหมู่คนพาล.“

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๙๓ โลกนีติ ๒๔ มหารหนีติ ๔๙, ธัมมนีติ ๓๖๙)

..

ปัญหาและเฉลย(แปลไทยเป็นมคธ) ประโยค ป.ธ. 6 ปี 2551


Sonntag, 30. August 2020

พระอภิธรรมใครว่ายาก ชุดที่ ๗ จิต และประเภทของจิต (๔)


๙๒. คนไร้มารยาท


๙๒. คนไร้มารยาท

อนวฺหายํ คมยนฺโต, อปุจฺฉา พหุภาสโก;
อตฺตคุณํ ปกาสนฺโต, ติวิโธ หีนปุคฺคโลฯ

เขาไม่เรียก ก็ยังเข้าไปหา ,
เขาไม่ถาม ชอบพูดพล่าม ;
มักอวดอ้างสรรพคุณตนเอง , 
ทั้งสามประเภท จัดว่าเป็นคนเลว.“

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๙๒ โลกนีติ ๓๑, ธัมมนีติ ๑๑๖)

..

ปัญหาและเฉลย(แปลมคธเป็นไทย) ประโยค ป.ธ. 9 ปี 2550


Samstag, 29. August 2020

พระอภิธรรมใครว่ายาก ชุดที่ ๖ จิต และประเภทของจิต (๓)


๙๑. สิ่งที่คนฉลาดไม่พึงเปิดเผย


๙๑. สิ่งที่คนฉลาดไม่พึงเปิดเผย

ธนนาสํ มโนตาปํ, ฆเร ทุจฺจริตานิ ;
วญฺจนญฺจ อวมานํ, ปณฺฑิโต ปกาสเย

บัณฑิต ไม่พึงแสดงอาการเหล่านี้ให้เห็น คือ
การสูญเสียทรัพย์ ความเดือนร้อนใจ
ความประพฤติไม่ดีไม่งามในเรือน  
การถูกหลอกลวง และการถูกดูหมิ่น .“ 

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๙๑ โลกนีติ ๒๘, มหารหนีติ ๕๗, ธัมมนีติ ๕๕, จาณักยนีติ ๓๔)