Montag, 7. September 2020

Pañcamūlagantha



พระอภิธรรมใครว่ายาก ชุดที่ ๑๔ จิต และประเภทของจิต (๑๑)


๑๐๐. คนที่เสมอกับคนบ้า ๓ พวก


๑๐๐. คนที่เสมอกับคนบ้า พวก

อธนสฺส รสํขาโท, อพลสฺส หโต นโร;
อปฺปญฺญสฺส วากฺยกโร, อุมฺมตฺตกสมา หิ โข

คนไม่มีทรัพย์ แต่อยากกินของแพง ,
คนไม่มีแรง แต่อยากปล้ำอยากแข่ง ;
คนไม่มีปัญญา แต่อยากพูดแล่นสำนวน ,
ทั้ง พวกนี้แล เป็นคนที่ไม่ต่างกับคนบ้า.“

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๑๐๐ โลกนีติ ๓๐, ธัมมนีติ ๓๒๕)

..

ปัญหาและเฉลย(แปลไทยเป็นมคธ) ประโยค ป.ธ. 8 ปี 2552


Sonntag, 6. September 2020

พระอภิธรรมใครว่ายาก ชุดที่ ๑๓ จิต และประเภทของจิต (๑๐)


๙๙. ไม้เรียวสร้างคนดี


๙๙. ไม้เรียวสร้างคนดี

ภิชฺเชตุํ กุมฺภกาโร, โสเภตุํ กุมฺภ ฆฏติ;
ขิปิตุํ อปาเยสุ, สิสฺสานํ วุฑฺฒิการณา

ช่างหม้อไม่ได้ตีหม้อเพื่อทำลายให้แตก,
แต่ตีหม้อเพื่อให้ได้รูปงามน่าใช้สอย;
ครูอาจารย์ไม่ได้เฆี่ยนตีศิษย์เพื่อให้ตกไปในอบาย,
แต่เฆี่ยนตีเพราะหวังความเจริญแก่ศิษย์ทั้งหลาย.“

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๙๙ โลกนีติ ๓๙)

..

ปัญหาและเฉลย(แต่งฉันท์ภาษามคธ) ประโยค ป.ธ. 8 ปี 2552


Samstag, 5. September 2020

พระอภิธรรมใครว่ายาก ชุดที่ ๑๒ จิต และประเภทของจิต (๙)


๙๘. เหมือนคนใบ้เห็นฝัน


๙๘. เหมือนคนใบ้เห็นฝัน

โย สิสฺโส สิปฺปโลเภน, พหุํ คณฺหาติ ตํ สิปฺปํ;
มูโคว สุปินํ ปสฺสํ, กเถตุมฺปิ อุสฺสเห

ศิษย์คนใดย่อมเรียนศิลปะทีละมาก ,
เพราะความโลภในความวิชาความรู้;
ศิษย์คนนั้น ย่อมไม่อาจบอกสิ่งที่ตนเรียนได้,
เหมือนคนใบ้ ที่เห็นความฝัน ฉะนั้น.“

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๙๘ โลกนีติ ๓๘, ธัมมนีติ ๒๗)

..

ปัญหาและเฉลย(แปลมคธเป็นไทย) ประโยค ป.ธ. 7 ปี 2552


Freitag, 4. September 2020

พระอภิธรรมใครว่ายาก ชุดที่ ๑๑ จิต และประเภทของจิต (๘)


๙๗. ไม่ควรดูหมิ่นกัน


๙๗. ไม่ควรดูหมิ่นกัน

หีนปุตฺโต ราชมจฺโจ, พาลปุตฺโต ปณฺฑิโต;
อธนสฺส ธนํพหุ, ปุริสานํ มญฺญถ

ลูกคนตำ่ศักดิ์ อาจได้เป็นราชอำมาตย์,
ลูกคนโง่ อาจได้เป็นบัณฑิต,
ลูกคนจน อาจได้เป็นเศรษฐี,
เพราะฉะนั้น จงไม่ควรดูหมิ่นกัน.“

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๙๗ โลกนีติ ๒๗ ธัมมนีติ ๒๓๕)

..

ปัญหาและเฉลย(แปลไทยเป็นมคธ) ประโยค ป.ธ. 7 ปี 2552


Donnerstag, 3. September 2020

พระอภิธรรมใครว่ายาก ชุดที่ ๑๑ จิต และประเภทของจิต (๘)


๙๖. สี่ผู้ไม่รู้จักอิ่ม


๙๖. สี่ผู้ไม่รู้จักอิ่ม

ติตฺติ ราชา ธนมฺหิ, ปณฺฑิโตปิ สุภาสิเต;
จกฺขุปิ ปิยทสฺสเน, ติตฺติ สาคโร ชเลฯ

พระราชา ย่อมไม่อิ่ม ในราชทรัพย์,
บัณทิต ย่อมไม่อิ่ม ในสุภาษิต;
ตา ย่อมไม่อิ่ม ในการดูรูปที่น่ารัก
ทะเล ย่อมไม่อิ่ม ในน้ำ.“

(กวิทัปปณนีติ หมวดบัณฑิต ๙๖ โลกนีติ ๓๕, ธัมมนีติ ๓๕๕)

..