Samstag, 27. April 2019

ปัญหาและเฉลย(วิชาธรรม) นักธรรมชั้นตรี ปี 2549



ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๒ ตุลาคม พ.. ๒๕๔๙
--------------------
. หิริกับโอตตัปปะ ต่างกันอย่างไร ?
ตอบ:
. ต่างกันอย่างนี้ หิริ คือ ความละอายใจตนเองที่จะประพฤติชั่ว
ส่วนโอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวผลของความชั่วที่ตนจะได้รับ ฯ

. คำว่า พระธรรม ในรัตนะ ๓ คืออะไร ? มีคุณอย่างไร ?
ตอบ:
. คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ฯ
มีคุณ คือ รักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ฯ

. โอวาทของพระพุทธเจ้ามีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
ตอบ:

Freitag, 26. April 2019

ปัญหาและเฉลย(วิชาวินัย) นักธรรมชั้นเอก ปี 2548


ปัญหาและเฉลยวิชาวินัย นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๘
------------------------------
. ในสังฆกรรมทั้ง ๔ นั้น การสวดอนุสาวนามีอยู่ในกรรมไหนบ้าง ? ในแต่ละกรรมนั้นให้สวดกี่ครั้ง ?
ตอบ:
. มีอยู่ใน ญัตติทุติยกรรม และ ญัตติจตุตถกรรม ฯ ในญัตติทุติยกรรมให้สวด
๑ ครั้ง ในญัตติจตุตถกรรมให้สวด ๓ ครั้ง ฯ

. สีมาเป็นหลักสำคัญแห่งสังฆกรรมอย่างไร ? พัทธสีมามีกำหนดขนาดพื้นที่ไว้อย่างไร ?
ตอบ:
. สีมาเป็นเขตประชุมของสงฆ์ผู้ทำกรรม พระศาสดาทรงพระอนุญาตให้สงฆ์
พร้อมเพรียงกันทำภายในสีมา เพื่อจะรักษาสามัคคีในสงฆ์ ฯ
อย่างนี้ คือ กำหนดไม่ให้สมมติสีมาเล็กเกินไปจนจุภิกษุ ๒๑ รูป นั่งไม่ได้และ
ไม่ให้สมมติสีมาใหญ่เกินไปกว่า ๓ โยชน์ ฯ

. ภิกษุได้รับอานิสงส์กฐิน เข้าบ้านในเวลาวิกาลโดยไม่บอกลา ต้องอาบัติอะไร
หรือไม่ ? เพราะเหตุไร ?
ตอบ:

Donnerstag, 25. April 2019

ปัญหาและเฉลย(วิชาพุทธานุพุทธประวัติ) นักธรรมชั้นเอก ปี 2548


ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธานุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๘
---------------------------------

. รูปกายอุบัติและธรรมกายอุบัติ แห่งพระมหาบุรุษนั้น มีความหมายว่าอย่างไร ?
ตอบ:
. รูปกายอุบัติ คือความอุบัติในสมัยลงสู่พระครรภ์และในสมัยประสูติจากพระครรภ์
ส่วนธรรมกายอุบัติ คือการตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ฯ

. ข้ออุปมาว่า “ไม้แห้งที่วางไว้บนบก ไกลน้ำ สามารถสีให้เกิดไฟได้” เกิดขึ้น
แก่ใคร ? โดยนำไปเปรียบกับอะไร ?
ตอบ:
. แก่พระมหาบุรุษ คือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฯ โดยทรงนำไปเปรียบ
กับสมณพราหมณ์ทั้งหลายว่า สมณพราหมณ์บางพวกมีกายหลีกออกจากกาม
ใจก็ละความรักใคร่ในกาม สงบดีแล้ว หากพากเพียรพยายามอย่างถูกต้อง
ย่อมสามารถตรัสรู้ธรรมได้ ฯ

. อนุปุพพีกถา คืออะไร ? ทรงแสดงแก่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยองค์เท่าไร ? อะไรบ้าง ?
ตอบ:

Mittwoch, 24. April 2019

ปัญหาและเฉลย(วิชาธรรม) นักธรรมชั้นเอก ปี 2548


ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันเสาร์ ที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๘
-------------------------------------------

. การสำรวมจิตให้พ้นจากบ่วงแห่งมาร ในธรรมวิจารณ์ท่านแนะนำวิธีปฏิบัติไว้
อย่างไร ? และถ้าจะจัดเข้าในไตรสิกขา จัดได้อย่างไร ?
ตอบ:
. แนะนำวิธีปฏิบัติไว้ ๓ ประการ คือ
. สำรวมอินทรีย์มิให้ความยินดีครอบงำ ในเมื่อเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น
ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา
. มนสิการกัมมัฏฐานอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกามฉันทะ คือ อสุภะและกายคตาสติ
หรืออันยังจิตให้สลด คือมรณัสสติ
. เจริญวิปัสสนา คือ พิจารณาสังขารแยกออกเป็นขันธ์ สันนิษฐานเห็น
เป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ฯ
จัดเข้าในไตรสิกขาได้ดังนี้
ประการที่ ๑ จัดเข้าในสีลสิกขา
ประการที่ ๒ จัดเข้าในจิตตสิกขา
ประการที่ ๓ จัดเข้าในปัญญาสิกขา ฯ

. อนิจจตาแห่งสังขารทั้งหลาย จะกำหนดรู้ได้ด้วยวิธีใดบ้าง ?
ตอบ:

Dienstag, 23. April 2019

ปัญหาและเฉลย(วิชาวินัย) นักธรรมชั้นโท ปี 2548


ปัญหาและเฉลยวิชาวินัย นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๘
-------------------------------------------------------

. ภิกษุผู้ละเมิดสิกขาบทนอกพระปาฏิโมกข์ต้องอาบัติอะไรได้บ้าง ?
ตอบ:
. ต้องอาบัติถุลลัจจัย และ ทุกกฏ ฯ

. พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ภิกษุไว้ผมได้ยาวที่สุดเท่าไร ? ไว้ได้นานที่สุดเท่าไร ?
ตอบ:
. ไม่เกิน ๒ นิ้ว ฯ ไม่เกิน ๒ เดือน ฯ

. ภิกษุไม่ต้องนำผ้าไตรจีวรไปครบสำรับ มีพระพุทธานุญาตไว้ในกรณีใดบ้าง ?
ตอบ:
. ใน ๒ กรณี คือ
. ในกรณีเข้าบ้านมีพระพุทธานุญาตไว้อย่างนี้ คือ
. คราวเจ็บไข้
. สังเกตเห็นว่าฝนจะตก
. ไปสู่ฝั่งแม่น้ำ
. วิหารคือกุฎีคุ้มได้ด้วยดาล
. ได้รับอานิสงส์พรรษา
. ได้กรานกฐิน ฯ
. ในกรณีต้องไปค้างแรมที่อื่น มีพระพุทธานุญาตไว้อย่างนี้ คือ
. ได้รับอานิสงส์พรรษา
. ได้กรานกฐิน ฯ

. ในพระวินัยส่วนอภิสมาจาร มีพระพุทธบัญญัติสำหรับพระภิกษุผู้รับถือเสนาสนะ
ของสงฆ์ ควรเอาใจใส่รักษาเสนาสนะด้วยอาการอย่างไรบ้าง ?
ตอบ:

Montag, 22. April 2019

ปัญหาและเฉลย(วิชาอนุพุทธประวัติ) นักธรรมชั้นโท ปี 2548



ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๘
-------------------------------------------------------

. ประวัติอนุพุทธบุคคลมีความสำคัญต่อผู้ศึกษาอย่างไร ?
ตอบ:
. ทำให้ผู้ศึกษาได้รับความรู้ในจริยาวัตรและคุณความดีที่ท่านได้บำเพ็ญมา ตลอด
จนถึงผลงานในการช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนาอันทำให้เจริญสืบมาถึงทุกวันนี้
นำให้เกิดความเลื่อมใสและความนับถือ เป็นทิฏฐานุคติอันดี สามารถน้อมนำมา
ปฏิบัติตามได้ ฯ

. คำที่มีอยู่ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตรต่อไปนี้ ได้แก่อะไร ?
. ส่วนสุด ๒ อย่าง
. มัชฌิมาปฏิปทา
ตอบ:
. . ส่วนสุด ๒ อย่าง คือ
. กามสุขัลลิกานุโยค ความหมกมุ่นอยู่ในกาม
. อัตตกิลมถานุโยค ความทำตนให้ลำบาก
. มัชฌิมาปฏิปทา ได้แก่ข้อปฏิบัติสายกลาง คือ มรรคมีองค์ ๘ ฯ

. ความเป็นผู้สำรวมกิริยาอาการให้เรียบร้อยดีงามสมความเป็นสมณะ เป็นการ
เผยแผ่พระพุทธศาสนาได้ทางหนึ่ง ในข้อนี้มีปฏิปทาของพระสาวกองค์ใดเป็น
ตัวอย่าง ? จงเล่าประวัติโดยสังเขปมาประกอบ
ตอบ:

Sonntag, 21. April 2019

ปัญหาและเฉลย(วิชาธรรม) นักธรรมชั้นโท ปี 2548


ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันเสาร์ ที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๘
------------------------------

. ตจปัญจกกัมมัฏฐานได้แก่อะไรบ้าง ? จัดเป็นสมถะหรือวิปัสสนา ? จงอธิบาย
ตอบ:
. ได้แก่ เกสา โลมา นขา ทันตา และตโจ ฯ เป็นได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา ถ้าเพ่ง
กำหนดยังจิตให้สงบด้วยภาวนา เป็นสมถะ ถ้าเพ่งพิจารณาถึงความแปรปรวน
เปลี่ยนแปลงไป หรือให้เห็นว่าเป็นทุกข์ คือทนอยู่ได้ยากและทนอยู่ไม่ได้ ต้อง
เสื่อมสลายไปในที่สุด หรือให้เห็นว่าเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน
พิจารณาเช่นนี้เป็นวิปัสสนา ฯ

. มหาภูตรูป คือ อะไร ? มีความเกี่ยวเนื่องกับอุปาทายรูปอย่างไร ?
ตอบ:
. คือ รูปที่เป็นใหญ่เป็นประธาน อันประกอบด้วย ธาตุ ๔ ได้แก่ ดิน น้ำ ไฟ ลม ฯ
เป็นที่ตั้งอาศัยแห่งรูปย่อยซึ่งเรียกว่าอุปาทายรูป เมื่อรูปใหญ่แตกทำลายไป
อุปาทายรูปที่อิงอาศัยมหาภูตรูปนั้นก็แตกทำลายไปด้วย ฯ
. พระพุทธเจ้าทรงประพฤติประโยชน์โดยฐานเป็นพระพุทธเจ้าที่เรียกว่าพุทธัตถจริยา
คือทรงประพฤติอย่างไร ?
ตอบ:

Samstag, 20. April 2019

ปัญหาและเฉลย(วิชาวินัย) นักธรรมชั้นตรี ปี 2548


 
ปัญหาและเฉลยวิชาวินัย นักธรรมชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๘

------------------------------------
. กิจที่บรรพชิตไม่ควรทำเรียกว่าอะไร ? มีอะไรบ้าง ?
ตอบ:
. เรียกว่าอกรณียกิจ ฯ มีดังนี้คือ
. เสพเมถุน
. ลักทรัพย์
. ฆ่าสัตว์
. พูดอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน ฯ

. ภิกษุฆ่าสัตว์ให้ตายและพยายามฆ่าตนเอง ต้องอาบัติอะไร ?
ตอบ:
. ฆ่ามนุษย์ให้ตาย ต้องอาบัติปาราชิก
ฆ่าอมนุษย์ให้ตาย ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ฆ่าสัตว์เดรัจฉานทั่วไปให้ตาย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
พยายามฆ่าตนเอง ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ

. คำต่อไปนี้มีความหมายอย่างไร ?
ตอบ:

Freitag, 19. April 2019

ปัญหาและเฉลย(วิชาพุทธประวัติ) นักธรรมชั้นตรี ปี 2548


 
ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธประวัติ นักธรรมชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๘


. ประชาชนในชมพูทวีปแบ่งออกเป็นกี่วรรณะ ? อะไรบ้าง ? มีหน้าที่ต่างกันอย่างไร ?
ตอบ:
. แบ่งออกเป็น ๔ วรรณะ คือ
. กษัตริย์ มีหน้าที่ปกครอง
. พราหมณ์ มีหน้าที่ทางฝึกสอนและทำพิธี
. แพศย์ มีหน้าที่ทางทำนาค้าขาย
. ศูทร มีหน้าที่รับจ้าง ฯ

. ในวันเสด็จแรกนาขวัญ พระเจ้าสุทโธทนะบังคมสิทธัตถราชกุมารผู้ประทับนั่งใต้
ต้นหว้า เพราะเหตุไร ?
ตอบ:
. เพราะทรงเห็นอัศจรรย์ในขณะที่สิทธัตถราชกุมารประทับนั่งใต้ต้นหว้า เงาของ
ต้นหว้าไม่คล้อยไปตามตะวัน แม้จะเป็นเวลาบ่ายแล้ว ยังดำรงอยู่เสมือน
เที่ยงวัน ฯ

. พระมหาบุรุษเสด็จออกบรรพชา เพราะทอดพระเนตรเห็นอะไร ? และเมื่อเห็น
แล้วทรงพระดำริอย่างไร ?
ตอบ:

Donnerstag, 18. April 2019

ปัญหาและเฉลย(วิชาธรรม) นักธรรมชั้นตรี ปี 2548


 
ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันเสาร์ ที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๘
-------------------------------------------------

. ธรรมมีอุปการะมาก ได้แก่อะไรบ้าง ? บุคคลผู้ขาดธรรมนี้จะเป็นเช่นไร ?
ตอบ:
. ได้แก่ สติ ความระลึกได้ และ สัมปชัญญะ ความรู้ตัว ฯ จะเป็นคนหลงลืม
จะทำจะพูดหรือจะคิดอะไรมักผิดพลาด ฯ

. บุพพการีและกตัญญูกตเวที คือบุคคลเช่นไร ? จัดเป็นคู่ไว้อย่างไรบ้าง ?
ตอบ:
. บุพพการี คือบุคคลผู้ทำอุปการะก่อน กตัญญูกตเวที คือบุคคลผู้รู้อุปการะ
ที่ท่านทำแล้ว และตอบแทน ฯ จัดเป็นคู่ไว้ดังนี้ บิดามารดา กับ บุตรธิดา,
ครูอาจารย์ กับ ศิษย์, พระมหากษัตริย์ กับ ประชาราษฎร์, พระพุทธเจ้า กับ
พุทธบริษัท, เป็นต้น ฯ

. พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ได้ชื่อว่ารัตนะ เพราะเหตุไร ?
ตอบ:

Mittwoch, 17. April 2019

หลักสูตรวิชาวินัย ธรรมศึกษาชั้นเอก (๔) กรรมบถ


กรรมบถ
หลักสูตรวิชาวินัย ธรรมศึกษาชั้นเอก

พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่สอนเรื่องกรรมว่า สัตว์ทั้งหลายล้วนเป็นไปตามกรรม หมายความว่า กรรมนั้นสามารถที่จะทำให้สัตว์โดยเฉพาะมนุษย์เรากลายสภาพเป็นอะไรก็ได้ คือทำให้ไปสู่ทุคติ ได้แก่ ไปเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน เป็นเปรต เป็นสัตว์นรก เป็นอสุรกายก็ได้ ทำให้ไปสู่สุคติคือ ไปเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม จนถึงเป็นพระอรหันต์ก็ได้
ดังนั้น เรื่องของกรรมจึงเป็นเรื่องที่พุทธศาสนิกชนจำเป็นจะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจเพื่อจะได้พัฒนาตนเองให้พ้นจากทุคติ และดำเนินไปสู่สุคติซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนต่างปรารถนา กรรมที่จะนำไปสู่ทุคติและสุคตินั้น ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า กรรมบถ โดยแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ ที่นำไปสู่ทุคติ เรียกว่า กุศลกรรมบถ และที่นำไปสู่สุคติ เรียกว่า กุศลกรรมบถ
อกุศลกรรมบถ ๑๐
. ปาณาติบาต ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง คือฆ่าสัตว์
. อทินนาทาน ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ด้วยอาการแห่งขโมย
. กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม
ทั้ง ๓ นี้ จัดเป็นกายกรรม เพราะเกิดขึ้นทางกายทวารโดยมาก
. มุสาวาท พุดเท็จ
. ปิสุณวาจา พูดส่อเสียด
. ผรุสวาจา พูดคำหยาบ
. สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ
ทั้ง ๔ นี้ จัดเป็นวจีกรรม เพราะเกิดขึ้นทางวจีทวารโดยมาก

Dienstag, 16. April 2019

หลักสูตรธรรมศึกษาชั้นเอก (๓) พุทธานุพุทธประวัติ


ปฐมสมโพธิ์
พุทธานุพุทธประวัติ
หลักสูตร ธรรมศึกษาชั้นเอก
ชาติกถา กัณฑ์ที่ ๑

คำปรารภ

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประกอบด้วยสัมปทาคุณ ๓ ประการ คือ เหตุสัมปทา ๑ ผลสัมปทา ๑ สัตตูปการสัมปทา ๑

เหตุสัมปทา ได้แก่ การที่ทรงบำเพ็ญโพธิญาณ พุทธการกบารมีธรรมสิ้นกาลนาน นับประมาณเป็นโกฎิกัปตั้งแต่ได้รับพยากรณ์จากสำนักพระทีปังกรพุทธเจ้าเป็นต้นมา

ผลสัมปทา ได้แก่ การที่ทรงได้รับความสำเร็จจากพุทธการกบารมีธรรมที่ทรงบำเพ็ญ มี ๔ ประการ คือ
. รูปกายสัมปทา ได้แก่ การที่พระองค์ทรงมีรูปกาย ประกอบด้วย มหาปุริสลักษณะ ๓๒ และอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ
. ปหานสัมปทา ได้แก่ การที่พระองค์ทรงสามารถละกิเลสพร้อมทั้งวาสนาได้
. ญาณสัมปทา ได้แก่ การที่พระองค์ทรงถึงพร้อมด้วยญาณทั้งหลาย มีทศพลญาณ เป็นต้น
. อานุภาวสัมปทา ได้แก่ การที่พระองค์ทรงมีอำนาจในการที่จะทำสิ่งที่ทรงประสงค์ให้สำเร็จตามปรารถนาได้

Montag, 15. April 2019

หลักสูตรธรรมศึกษาชั้นเอก (๒) วิชาธรรม


วิชาธรรม ธรรมศึกษาชั้นเอก

- ธรรมวิจารณ์ –

- ส่วนปรมัตถปฏิปทา –
. นิพพิทา ความหน่าย

อุทเทส

. เอถ ปสฺสถิมํ โลกํ จิตฺตํ ราชรถูปมํ
ยตฺถ พาลา วิสีทนฺติ นตฺถิ สงฺโค วิชานตํ
สูทั้งหลาย จงมาดูโลกนี้อันตระการดุจราชรถ ที่พวกคนเขลาหมกอยู่ แต่พวกผู้รู้หาข้องอยู่ไม่
โลกวัคค ธัมมบท

. เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา
ผู้ใดจักระวังจิต ผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงแห่งมาร
จิตตวัคค ธัมมบท

โลกมี ๒ อย่าง คือ
. โดยตรง ได้แก่ แผ่นดินเป็นที่อาศัย
. โดยอ้อม ได้แก่ สัตว์ผู้อาศัย
ในโลกทั้ง ๒ นี้มีสิ่งต่าง ๆ อยู่ ๓ อย่าง คือ