Posts mit dem Label ปัญหาและเฉลย-นักธรรมชั้นเอก werden angezeigt. Alle Posts anzeigen
Posts mit dem Label ปัญหาและเฉลย-นักธรรมชั้นเอก werden angezeigt. Alle Posts anzeigen

Donnerstag, 23. Mai 2019

ปัญหาและเฉลย(วิชาวินัยบัญญัติ) นักธรรมชั้นเอก ปี 2551



ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๕๑
-----------------
. กรรมวาจาวิบัติเพราะสวดผิดฐานกรณ์นั้นอย่างไร ?
ตอบ:
. คือ การสวดธนิตเป็นสิถิล ๑ สวดสิถิลเป็นธนิต ๑ สวดวิมุตเป็นนิคคหิต ๑ สวดนิคคหิตเป็นวิมุต ๑ ฯ

. ติจีวราวิปปวาสสีมา และ อุทกุกเขปสีมา ได้แก่สีมาเช่นไร ?
ตอบ:
. ติจีวราวิปปวาสสีมา ได้แก่ สีมาที่สงฆ์สมมติให้เป็นแดน
ไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรได้ในเขตสีมานั้น
อุทกุกเขปสีมา ได้แก่ สีมาที่กำหนดเขตแห่งสามัคคีด้วยชั่ววักน้ำสาดแห่งคนมีอายุและกำลังปานกลาง ฯ

. ภิกษุผู้ได้รับสมมติจากสงฆ์ให้เป็นเจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์นั้นๆ เรียกว่าอะไร ? พึงสวดสมมติด้วยกรรมวาจาประเภทใด ?
ตอบ:

Mittwoch, 22. Mai 2019

ปัญหาและเฉลย(วิชาพุทธานุพุทธประวัติ) นักธรรมชั้นเอก ปี 2551



ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธานุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันอาทิตย์ ที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๕๑
--------------------
. พุทธประวัติ วิภาคที่ ๑ ปุริมกาล และวิภาคที่ ๓ อปรกาล ที่ทรงรจนาไว้แสดงถึงเรื่องอะไร ?
ตอบ:
. ปุริมกาล แสดงถึงเรื่องเป็นไปในกาลก่อนแต่บำเพ็ญพุทธกิจ
อปรกาล แสดงถึงเรื่องถวายพระเพลิงและแจกพระธาตุ ฯ

. ในขณะเสวยวิมุตติสุขใต้ร่มไม้มหาโพธิ์ พระพุทธเจ้าทรงพิจารณา ข้อธรรมอะไร ? และธรรมนั้นมีใจความย่อว่าอย่างไร ?
ตอบ:
. ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท ฯ
มีใจความย่อว่า สภาวะอย่างหนึ่งเป็นผลเกิดแต่เหตุอย่างหนึ่งแล้ว ซ้ำเป็นเหตุยังผลอย่างอื่นให้เกิดต่อไปอีก เหมือนลูกโซ่เกี่ยวคล้องกันเป็นสาย ฯ

. อนุปุพพีกถาและสามุกกังสิกธรรม คืออะไร ? พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่บุคคลผู้มีองคสมบัติอะไร ?
ตอบ:

Dienstag, 21. Mai 2019

ปัญหาและเฉลย(วิชาธรรม) นักธรรมชั้นเอก ปี 2551




ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันเสาร์ ที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๕๑
------------------
. ความเป็นอนัตตาแห่งสังขาร พึงกำหนดรู้ด้วยอาการอย่างไรบ้าง ?
ตอบ:
. ด้วยอาการดังนี้ คือ
. ไม่อยู่ในอำนาจ หรือฝืนความปรารถนา
. แย้งต่ออัตตา
. ความเป็นสภาพหาเจ้าของมิได้
. ความเป็นสภาพสูญ ฯ

. พระบาลีว่า สิญฺจ ภิกฺขุ อิมํ นาวํ แปลว่า ภิกษุ เธอจงวิดเรือนี้
คำว่า เรือ และคำว่า วิด ในที่นี้ หมายถึงอะไร ?
ตอบ:
. เรือ หมายถึง อัตภาพร่างกาย
วิด หมายถึง บรรเทากิเลสและบาปธรรมเสียให้บางเบา จนขจัดได้ขาด ฯ

. บาลีอุทเทสว่า วิมุตฺตสฺมึ วิมุตฺตมิติ ญาณํ โหติ แปลว่า เมื่อหลุดพ้นแล้ว ญาณว่าหลุดพ้นแล้ว ย่อมมี ใครเป็นผู้หลุดพ้น ? และหลุดพ้นจากอะไร ?

Dienstag, 14. Mai 2019

ปัญหาและเฉลย(วิชาวินัยบัญญัติ) นักธรรมชั้นเอก ปี 2550




ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันพฤหัสบดี ที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๕๐
--------------------------
. สังฆกรรมจำแนกออกเป็นประเภท เรียกโดยชื่อมีอะไรบ้าง ? กรรมอะไรบ้างที่สงฆ์จตุวรรคทำได้ ?
ตอบ:
. มี อปโลกนกรรม ๑ ญัตติกรรม ๑ ญัตติทุติยกรรม ๑ ญัตติจตุตถกรรม ๑ ฯ
เว้นปวารณา ให้ผ้ากฐิน อุปสมบท และอัพภาน นอกนั้นทำได้ ทุกอย่าง ฯ

. สีมาสังกระ คืออะไร ? สงฆ์จะทำสังฆกรรมในสีมาเช่นนั้นได้หรือไม่อย่างไร ?
ตอบ:
. คือ สีมาที่สมมติคาบเกี่ยวกันระหว่างสีมาที่สมมติไว้เดิมและสีมาที่สมมติขึ้นใหม่ ฯ
สงฆ์ทำสังฆกรรมในสีมาที่สมมติไว้เดิมได้ แต่ทำในสีมาที่สมมติขึ้นใหม่ไม่ได้ ฯ

. การอปโลกน์ และ การสวดเพื่อให้ผ้ากฐิน จัดเป็นสังฆกรรมประเภท ใด ? การกรานกฐินด้วยผ้าสังฆาฏิ พึงกล่าวว่าอย่างไร ?
ตอบ:

Montag, 13. Mai 2019

ปัญหาและเฉลย(วิชาพุทธานุพุทธประวัติ) นักธรรมชั้นเอก ปี 2550



ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธานุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันพุธ ที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๕๐
------------------------
. จงเล่าความเป็นมาของพุทธโกลาหล ฯ
ตอบ:
. เมื่อสุทธาวาสมหาพรหมทั้งหลายลงมาเที่ยวประกาศทั่วหมื่นโลกธาตุว่า เบื้องหน้าแต่นี้ล่วงไปอีกแสนปี พระสัพพัญญูจะบังเกิดในโลก ถ้าใคร่จะพบเห็น จงเว้นจากเวรทั้ง ๕ อุตส่าห์บำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนา กระทำการกุศลต่าง ๆ ดังนี้ จึงทำให้เกิดพุทธโกลาหลขึ้น ฯ

. ฤษีปัญจวัคคีย์ออกบวชตามและอยู่ปรนนิบัติพระพุทธองค์ขณะทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา เพราะคิดอย่างไร ? หลีกหนีไปเพราะคิดอย่างไร ? และการทั้ง ๒ นั้น มีผลดีอย่างไร ?
ตอบ:
. ออกบวชตามเพราะคิดว่า บรรพชาของพระองค์คงมีประโยชน์ พระองค์บรรลุธรรมใด จักทรงสั่งสอนให้ตนบรรลุธรรมนั้นบ้าง ฯ
หลีกไปโดยคิดว่า พระองค์ทรงละทุกรกิริยาแล้ว คงจะไม่บรรลุธรรมพิเศษอันใดได้ ฯ
การมาปรนนิบัตินั้น ทำให้สามารถเป็นพยานได้ว่า พระพุทธองค์ทรงเคยประพฤติอัตตกิลมถานุโยคอย่างอุกฤษฎ์มาแล้ว แม้เช่นนี้ก็ไม่เป็นทางที่จะให้รู้ธรรมพิเศษอันใดได้ ส่วนการหลีกหนีไปนั้นก็เป็นผลดี เพราะเวลานั้นเป็นเวลาบำเพ็ญเพียรทางจิต ซึ่งต้องการความสงัด ฯ

. พระมหาสุบินนิมิตก่อนจะตรัสรู้ที่ว่า เสด็จจงกรมบนภูเขาอุจจาระโดยพระบาทไม่แปดเปื้อน หมายถึงอะไร ?
ตอบ:

Sonntag, 12. Mai 2019

ปัญหาและเฉลย(วิชาธรรม) นักธรรมชั้นเอก ปี 2550



ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันอังคาร ที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๕๐
-------------------
. สหคตทุกข์ คือทุกข์เช่นไร ? มียศชื่อว่าเป็นทุกข์นั้น มีอธิบายอย่างไร ?
ตอบ:
. คือ ทุกข์ไปด้วยกัน หรือทุกข์กำกับกัน ได้แก่ทุกข์มีเนื่องมาจาก วิบุลผล ฯ
มียศคือได้รับตั้งเป็นใหญ่กว่าคนสามัญเป็นชั้น ๆ ต้องเป็นอยู่เติบกว่าคนสามัญ จำต้องมีทรัพย์มากเป็นกำลัง มักหาได้ไม่พอใช้ ต้องมีภาระมาก เวลาไม่เป็นของตน เป็นที่เกาะของผู้อื่นจนนุงนัง ต้องพลอยสุขทุกข์ด้วยเขา ฯ

. ไวพจน์แห่งวิราคะ ได้แก่อะไรบ้าง ?
ตอบ:
. ได้แก่
มทนิมฺมทโน แปลว่า ธรรมยังความเมาให้สร่าง
ปิปาสวินโย แปลว่า ความนำเสียซึ่งความระหาย
อาลยสมุคฺฆาโต แปลว่า ความถอนขึ้นด้วยดีซึ่งอาลัย
วฏฺฏูปจฺเฉโท แปลว่า ความเข้าไปตัดเสียซึ่งวัฏฏะ
ตณฺหกฺขโย แปลว่า ความสิ้นแห่งตัณหา
นิโรโธ แปลว่า ความดับ
นิพฺพานํ แปลว่า ธรรมชาติหาเครื่องเสียบแทงมิได้ ฯ

. วิมุตติ เป็นโลกิยธรรมหรือโลกุตตรธรรม ? เป็นสาสวะหรืออนาสวะ ?
ตอบ:

Sonntag, 5. Mai 2019

ปัญหาและเฉลย(วิชาวินัยบัญญัติ) นักธรรมชั้นเอก ปี 2549



ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันอาทิตย์ ที่ ๑๗ ธันวาคม พ.. ๒๕๔๙
 --------------------------
. อย่างไรเรียกว่า สงฆ์ผู้พร้อมเพรียง และสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงนั้นสามารถ
ทำสังฆกรรมใดได้บ้าง ?
 ตอบ:
. ภิกษุผู้อยู่ในสมานสังวาสสีมา แปลว่าแดนมีสังวาสเสมอกัน เป็นแดนที่
กำหนดความพร้อมเพรียง มีสิทธิในอันจะเข้าอุโบสถ ปวารณา และ
สังฆกรรมร่วมกัน ทั้งหมดเข้าประชุมกันเป็นสงฆ์ หรือนำฉันทะของภิกษุ
ผู้ไม่มาเข้าประชุม เรียกว่า สงฆ์ผู้พร้อมเพรียง ฯ
สามารถทำสังฆกรรมทั้ง ๔ ประเภท มีอปโลกนกรรมเป็นต้นได้ ฯ

. ภิกษุที่เรียกในบาลีว่า ผู้เข้ากรรม คือใคร ? และต้องประกอบด้วย
คุณสมบัติอย่างไร ?
 ตอบ:
. คือภิกษุผู้เข้าในจำนวนสงฆ์ผู้ทำกรรมนั้นๆ ฯ
ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้ คือเป็นภิกษุปกติ ไม่ถูกสงฆ์ยกเสีย
จากหมู่ด้วยอุกเขปนียกรรม มีสังวาสเสมอด้วยสงฆ์ และเป็น
สมานสังวาสของกันและกัน ฯ

. สังฆกรรมย่อมวิบัติเพราะเหตุไรบ้าง ? ภิกษุ ๓ รูป ประชุมกันในสีมา
สวดปาฏิโมกข์ ชื่อว่าวิบัติเพราะเหตุไหน ?  
ตอบ:

Samstag, 4. Mai 2019

ปัญหาและเฉลย(วิชาพุทธานุพุทธประวัติ) นักธรรมชั้นเอก ปี 2549



ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธานุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันเสาร์ ที่ ๑๖ ธันวาคม พ.. ๒๕๔๙
---------------------
. บุพพนิมิต ๕ ประการที่เกิดแก่พระโพธิสัตว์ ก่อนจะจุติลงปฏิสนธิ
ในครรภ์พระมารดาคืออะไรบ้าง ?
 ตอบ:
. คือ
. ดอกไม้ทิพย์ประดับกายเหี่ยวแห้ง
. ผ้าภูษาทรงมีสีเศร้าหมอง
. เหงื่อไหลออกจากรักแร้
. ร่างกายปรากฏชรา
. พระทัยกระสันเป็นทุกข์ เหนื่อยหน่ายจากเทวโลก ฯ

. สัมปทาคุณ ๓ ประการของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คืออะไรบ้าง ? เกิดผลดี
อย่างไร ?
 ตอบ:
. คือ
. เหตุสัมปทา คือการบำเพ็ญบารมีมาอย่างครบถ้วน
. ผลสัมปทา คือการที่ทรงได้รับผลของบารมี ทำให้มีรูปกาย
ประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ อานุภาพ การละกิเลสและ
พระญาณหยั่งรู้ เป็นต้น
. สัตตูปการสัมปทา คือการที่ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่ชาวโลก
ด้วยพระทัยที่บริสุทธิ์ ฯ
ทำให้พระองค์ทรงเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาและความเลื่อมใสของบัณฑิตชน ทั้งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจะพึงปรารภเป็นอารมณ์แล้วก่อสร้าง
สั่งสมบุญกุศลให้ไพบูลย์ ฯ

. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติ มีปาฏิหาริย์อะไรเกิดขึ้นบ้าง ? 
ตอบ:

Freitag, 3. Mai 2019

ปัญหาและเฉลย(วิชาธรรม) นักธรรมชั้นเอก ปี 2549



ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันศุกร์ ที่ ๑๕ ธันวาคม พ.. ๒๕๔๙
-----------------------
. อุทเทสแห่งนิพพิทา ดังต่อไปนี้ มีความหมายว่าอย่างไร ?
. คนเขลา
. ผู้รู้
. หมกอยู่
. หาข้องอยู่ไม่
. โลกนี้
ตอบ:
. . คนผู้ไร้วิจารณญาณ
. ผู้รู้โลกตามความเป็นจริง
. เพลิดเพลินหลงติดอยู่ในสิ่งอันมีโทษ
. ไม่พัวพันในสิ่งล่อใจ
. โดยตรง ได้แก่แผ่นดินเป็นที่อยู่อาศัย โดยอ้อม ได้แก่หมู่สัตว์
ผู้อาศัย ฯ

. อุทเทสว่า “เย จิตฺตํ สญฺเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา” นั้น
การสำรวมจิตทำอย่างไร ? 
ตอบ:
. การสำรวมจิตมี ๓ วิธี คือ
. สำรวมอินทรีย์มิให้ความยินดีครอบงำ ในเมื่อเห็นรูป ฟังเสียง
ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา
. มนสิการกัมมัฏฐานอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกามฉันท์ คือ อสุภะ
กายคตาสติ และมรณสติ
. เจริญวิปัสสนา พิจารณาสังขารให้เห็นเป็น อนิจจัง ทุกขัง
อนัตตา ฯ

. สังขารในไตรลักษณ์กับในขันธ์ ๕ ต่างกันอย่างไร ? 
ตอบ:

Freitag, 26. April 2019

ปัญหาและเฉลย(วิชาวินัย) นักธรรมชั้นเอก ปี 2548


ปัญหาและเฉลยวิชาวินัย นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๘
------------------------------
. ในสังฆกรรมทั้ง ๔ นั้น การสวดอนุสาวนามีอยู่ในกรรมไหนบ้าง ? ในแต่ละกรรมนั้นให้สวดกี่ครั้ง ?
ตอบ:
. มีอยู่ใน ญัตติทุติยกรรม และ ญัตติจตุตถกรรม ฯ ในญัตติทุติยกรรมให้สวด
๑ ครั้ง ในญัตติจตุตถกรรมให้สวด ๓ ครั้ง ฯ

. สีมาเป็นหลักสำคัญแห่งสังฆกรรมอย่างไร ? พัทธสีมามีกำหนดขนาดพื้นที่ไว้อย่างไร ?
ตอบ:
. สีมาเป็นเขตประชุมของสงฆ์ผู้ทำกรรม พระศาสดาทรงพระอนุญาตให้สงฆ์
พร้อมเพรียงกันทำภายในสีมา เพื่อจะรักษาสามัคคีในสงฆ์ ฯ
อย่างนี้ คือ กำหนดไม่ให้สมมติสีมาเล็กเกินไปจนจุภิกษุ ๒๑ รูป นั่งไม่ได้และ
ไม่ให้สมมติสีมาใหญ่เกินไปกว่า ๓ โยชน์ ฯ

. ภิกษุได้รับอานิสงส์กฐิน เข้าบ้านในเวลาวิกาลโดยไม่บอกลา ต้องอาบัติอะไร
หรือไม่ ? เพราะเหตุไร ?
ตอบ:

Donnerstag, 25. April 2019

ปัญหาและเฉลย(วิชาพุทธานุพุทธประวัติ) นักธรรมชั้นเอก ปี 2548


ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธานุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๘
---------------------------------

. รูปกายอุบัติและธรรมกายอุบัติ แห่งพระมหาบุรุษนั้น มีความหมายว่าอย่างไร ?
ตอบ:
. รูปกายอุบัติ คือความอุบัติในสมัยลงสู่พระครรภ์และในสมัยประสูติจากพระครรภ์
ส่วนธรรมกายอุบัติ คือการตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ฯ

. ข้ออุปมาว่า “ไม้แห้งที่วางไว้บนบก ไกลน้ำ สามารถสีให้เกิดไฟได้” เกิดขึ้น
แก่ใคร ? โดยนำไปเปรียบกับอะไร ?
ตอบ:
. แก่พระมหาบุรุษ คือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฯ โดยทรงนำไปเปรียบ
กับสมณพราหมณ์ทั้งหลายว่า สมณพราหมณ์บางพวกมีกายหลีกออกจากกาม
ใจก็ละความรักใคร่ในกาม สงบดีแล้ว หากพากเพียรพยายามอย่างถูกต้อง
ย่อมสามารถตรัสรู้ธรรมได้ ฯ

. อนุปุพพีกถา คืออะไร ? ทรงแสดงแก่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยองค์เท่าไร ? อะไรบ้าง ?
ตอบ:

Mittwoch, 24. April 2019

ปัญหาและเฉลย(วิชาธรรม) นักธรรมชั้นเอก ปี 2548


ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันเสาร์ ที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๘
-------------------------------------------

. การสำรวมจิตให้พ้นจากบ่วงแห่งมาร ในธรรมวิจารณ์ท่านแนะนำวิธีปฏิบัติไว้
อย่างไร ? และถ้าจะจัดเข้าในไตรสิกขา จัดได้อย่างไร ?
ตอบ:
. แนะนำวิธีปฏิบัติไว้ ๓ ประการ คือ
. สำรวมอินทรีย์มิให้ความยินดีครอบงำ ในเมื่อเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น
ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา
. มนสิการกัมมัฏฐานอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกามฉันทะ คือ อสุภะและกายคตาสติ
หรืออันยังจิตให้สลด คือมรณัสสติ
. เจริญวิปัสสนา คือ พิจารณาสังขารแยกออกเป็นขันธ์ สันนิษฐานเห็น
เป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ฯ
จัดเข้าในไตรสิกขาได้ดังนี้
ประการที่ ๑ จัดเข้าในสีลสิกขา
ประการที่ ๒ จัดเข้าในจิตตสิกขา
ประการที่ ๓ จัดเข้าในปัญญาสิกขา ฯ

. อนิจจตาแห่งสังขารทั้งหลาย จะกำหนดรู้ได้ด้วยวิธีใดบ้าง ?
ตอบ:

Samstag, 13. April 2019

ปัญหาและเฉลย(วินัยบัญญัติ) นักธรรมชั้นเอก ปี 2543


ปัญหาและเฉลยวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง พ.. ๒๕๔๓
วันเสาร์ ที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๓
------------------------------
.
.๑ การตั้งญัตติและสวดอนุสาวนามีอยู่ในกรรมอะไรบ้าง ในสังฆกรรมทั้ง ๔ ?
.๒ สังฆกรรม ๔ นั้น อย่างไหนต้องทำในสีมา อย่างไหนทำนอกสีมาก็ได้ ?
ตอบ:
.๑ การตั้งญัตติ มีในญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม และญัตติจตุตถกรรม
ส่วนการสวดอนุสาวนา มีในญัตติทุติยกรรม และญัตติจตุตถกรรม
.๒ ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม และญัตติจตุตถกรรม ต้องทำในสีมาเท่านั้น ทำนอกสีมาไม่ได้ เพราะต้องตั้งญัตติ ส่วนอปโลกนกรรม ทำนอกสีมาก็ได้ เพราะไม่ต้องตั้งญัตติ

.
.๑ พัทธสีมามีกำหนดขนาดพื้นที่ไว้หรือไม่ ? ถ้ามี กำหนดไว้อย่างไร ?
.๒ สถานที่ที่เป็นสีมาตามพระวินัยไม่ได้ มีหรือไม่ ? เพราะเหตุใด ?
ตอบ: