Freitag, 23. November 2018

ปัญหาและเฉลย(วิชาพุทธานุพุทธประวัติ) ธรรมศึกษาชั้นเอก ปี 2544



ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธานุพุทธประวัติ ธรรมศึกษาชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันอาทิตย์ ที่ ๔ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๔


คำสั่ง : จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว โดยกากบาทในช่องของข้
ที่ต้องการ ลงในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)

. ชมพูทวีปตั้งอยู่ทางทิศไหนของประเทศไทย ?
. ทิศบูรพา . ทิศพายัพ
. ทิศอาคเนย์ . ทิศปัจจิม

. ชมพูทวีปแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือข้อใด ?
. ส่วนกลางกับส่วนภูมิภาค . ชุมชนเมืองกับชุมชนชนบท
. เมืองหลวงกับชนบท . มัชฌิมประเทศกับปัจจันตประเทศ

. ข้อใดแสดงถึงทิฏฐิมานะกล้าของชาวชมพูทวีป ?
. นับถือพระพรหม . นับถือลัทธิฤาษี
. ถือชั้นวรรณะ . นับถือพระอิศวร

Donnerstag, 22. November 2018

ปัญหาและเฉลย(วิชาธรรม)ธรรมศึกษาชั้นเอก ปี 2544


ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม ธรรมศึกษาชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันอาทิตย์ ที่ ๔ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๔


คำสั่ง : จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว โดยกากบาทในช่องของข้
ที่ต้องการ ลงในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)

. ข้อใด จัดเป็นโลกโดยอ้อม ?
. โลกคือแผ่นดิน . โลกสวรรค์
. พรหมโลก . โลกคือหมู่สัตว์ผู้อาศัยแผ่นดิน

จงอ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถาม ข้อ ๒-
" สูทั้งหลายจงมาดูโลกนี้ อันตระการดุจราชรถ ที่พวกคนเขลาหมกอยู่
แต่พวกผู้รู้หาข้องอยู่ไม่ "

. คำว่า " สูทั้งหลาย " หมายถึงใคร ?
. หมู่พุทธบริษัท . หมู่สัตว์
. หมู่ฆราวาส . หมู่พระภิกษุ

Mittwoch, 21. November 2018

ปัญหาและเฉลย (วิชาอนุพุทธประวัติ) ธรรมศึกษาชั้นโท ปี 2544


ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ ธรรมศึกษาชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันอาทิตย์ ที่ ๔ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๔
คำสั่ง : จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว โดยกากบาทในช่องของข้
ที่ต้องการ ลงในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)

. อนุพุทธประวัติหมายถึงประวัติของใคร ?
. พระพุทธเจ้า . พระปัจเจกพุทธเจ้า
. พระอรหันต์ . พระสาวกของพระพุทธเจ้า
 
. พระมหาสาวก ตามนัยอรรถกถา หมายถึงพระสาวกกี่องค์ ?
. ๘ องค์ . ๔๑ องค์
. ๘๐ องค์ . ๘๘ องค์

. พระมหาสาวกที่ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะ ตามนัยพระบาลีมีกี่องค์ ?
. ๔๐ องค์ . ๔๑ องค์
. ๖๐ องค์ . ๘๐ องค์

ปัญหาและเฉลย (วิชาธรรม) ธรรมศึกษาชั้นโท ปี 2544


ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม ธรรมศึกษาชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันอาทิตย์ ที่ ๔ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๔

คำสั่ง : จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว โดยกากบาทในช่องของข้
ที่ต้องการ ลงในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)

. การเจริญสมถกัมมัฏฐาน จัดเข้าในสิกขาข้อใด ?
. สีลสิกขา . จิตตสิกขา
. ปัญญาสิกขา . ถูกทุกข้อ

. สมาธิมีทั้งผิดและถูก ข้อใดมิใช่สมาธิที่ถูกต้อง ?
. สะกดใจมิให้หลับ . สะกดใจมิให้ฟุ้งซ่าน
. สะกดใจมิให้โกรธ . สะกดใจมิให้เป็นโรค

. ข้อใด จัดเป็นอสังขตธรรม ธรรมอันปัจจัยมิได้ปรุงแต่ง ?
. สิ่งที่เกิด แปรและดับในที่สุด . อรูปธรรม สภาวะมิใช่รูป
. พระอริยบุคคล . พระนิพพาน

ธัมมปทปาฬิ-แปล ๒๓. นาควรรค


๒๓. นาควคฺโค
คาถาธรรมบท นาควรรคที่ ๒๓

๓๒๐.
อหํ นาโคว สงฺคาเม, จาปโต ปติตํ สรํ;

อติวากฺยํ ติติกฺขิสฺสํ, ทุสฺสีโล หิ พหุชฺชโนฯ

เราจักอดกลั้นซึ่งคำล่วงเกิน ดุจช้างอดทนซึ่งลูกศรที่ออกมาจากแล่งในสงคราม ฉะนั้น เพราะคนทุศีลมีมาก. (๒๓:)

๓๒๑.
ทนฺตํ นยนฺติ สมิตึ, ทนฺตํ ราชาภิรูหติ;

ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ, โยติวากฺยํ ติติกฺขติฯ

ชนทั้งหลายย่อมนำสัตว์พาหนะที่ฝึกหัดแล้วไปสู่ที่ชุมนุม พระราชาย่อมทรงพาหนะที่ได้ฝึกหัดแล้ว ในหมู่มนุษย์คนที่ได้ฝึกแล้ว อดทนซึ่งคำล่วงเกินได้ เป็นผู้ประเสริฐสุด. (๒๓:)

Dienstag, 20. November 2018

ปัญหา-เฉลย (วิชาธรรม) นักธรรมชั้นโท ปี 2543


ปัญหาและเฉลยธรรม นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง พ.. ๒๕๔๓
วันพฤหัสบดี ที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๓
------------------------------
.
.๑ ปริเยสนา ๒ อย่างตามความในพระสูตรท่านแสดงไว้อย่างไร ?
.๒ ภิกษุควรแสวงหาเลี้ยงชีพอย่างไรจึงเป็นการแสวงหาอย่างประเสริฐ ?
ตอบ:
.
แสดงว่า แสวงหาสิ่งอันมิใช่ของมีชรา พยาธิ มรณะ โสกะและสังกิเลส เป็นธรรมดา คือธรรมอันเกษมมีพระนิพพานเป็นอย่างสูง จัดเป็นอริย ปริเยสนา แสวงหาสิ่งอันมีชรา พยาธิ มรณะ โสกะและสังกิเลสเป็นธรรมดา ทั้งที่สภาพเช่นนั้นก็มีในตนอยู่พร้อมแล้ว จัดเป็นอนริยปริเยสนา
.
ภิกษุแสวงหาเลี้ยงชีพโดยอุบายอันสมควร ทั้งไม่เป็นโลกวัชชะมีโทษทางโลกและไม่เป็นปัณณัตติวัชชะ มีโทษทางพระบัญญัติ ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนและผู้อื่นจึงจะเป็นการแสวงหาอย่างประเสริฐ

ธัมมปทปาฬิ-แปล ๒๒. นิรยวรรค


๒๒. นิรยวคฺโค
คาถาธรรมบท นิรยวรรคที่ ๒๒

๓๐๖.
อภูตวาที นิรยํ อุเปติ, โย วาปิ กตฺวา น กโรมีติ จาห;

อุโภปิ เต เปจฺจ สมา ภวนฺติ, นิหีนกมฺมา มนุชา ปรตฺถฯ

บุคคลผู้กล่าวคำไม่จริงย่อมเข้าถึงนรก หรือแม้ผู้ใดทำบาปกรรมแล้ว กล่าวว่ามิได้ทำ ผู้นั้นย่อมเข้าถึงนรกเช่นเดียวกัน แม้คนทั้งสองนั้นเป็นมนุษย์ผู้มีกรรมเลวทราม ละไปแล้ว ย่อมเป็นผู้เสมอกันในโลกหน้า. (๒๒:)

๓๐๗.
กาสาวกณฺฐา พหโว, ปาปธมฺมา อสญฺญตา;

ปาปา ปาเปหิ กมฺเมหิ, นิรยนฺเต อุปปชฺชเรฯ

คนเป็นอันมากผู้อันผ้ากาสาวะพันคอแล้ว มีธรรมอันลามก ไม่สำรวม เป็นคนชั่วช้า ย่อมเข้าถึงนรกเพราะกรรมอันลามกทั้งหลาย. (๒๒:)

ธัมมปทปาฬิ-แปล ๒๑. ปกิณณกวรรค


๒๑. ปกิณฺณกวคฺโค
คาถาธรรมบท ปกิณณกวรรคที่ ๒๑

๒๙๐.
มตฺตา สุขปริจฺจาคา, ปสฺเส เจ วิปุลํ สุขํ;

จเช มตฺตาสุขํ ธีโร, สมฺปสฺสํ วิปุลํ สุขํฯ

ถ้าว่าปราชญ์พึงเห็นความสุขอันไพบูลย์ เพราะสละความสุขพอประมาณไซร้ 
เมื่อปราชญ์เห็นความสุขอันไพบูลย์ พึงสละความสุขพอประมาณเสีย. (๒๑:)

๒๙๑.
ปรทุกฺขูปธาเนน, อตฺตโน สุขมิจฺฉติ;
เวรสํสคฺคสํสฏฺโฐ, เวรา โส น ปริมุจฺจติฯ

ผู้ใดปรารถนาความสุขเพื่อตนด้วยการเข้าไปตั้งความทุกข์ไว้ในผู้อื่น
ผู้นั้นระคนแล้วด้วยความเกี่ยวข้องด้วยเวร ย่อมไม่พ้นไปจากเวร. (๒๑:)

ธัมมปทปาฬิ-แปล ๒๐. มรรควรรค


๒๐. มคฺควคฺโค
คาถาธรรมบท มรรควรรคที่ ๒๐

๒๗๓.
มคฺคานฏฺฐงฺคิโก เสฏฺโฐ, สจฺจานํ จตุโร ปทา;

วิราโค เสฏฺโฐ ธมฺมานํ, ทิปทานญฺจ จกฺขุมาฯ

ทางมีองค์แปด ประเสริฐกว่าทางทั้งหลาย ธรรมอันพระอริยะเจ้าพึงถึง ๔ ประการ
ประเสริฐกว่าสัจจะทั้งหลายวิราคธรรมประเสริฐกว่าธรรมทั้งหลาย พระตถาคตผู้มีจักษุ
ประเสริฐกว่าสัตว์สองเท้าและอรูปธรรมทั้งหลาย. (๒๐:)

๒๗๔.
เอเสว มคฺโค นตฺถญฺโญ, ทสฺสนสฺส วิสุทฺธิยา;

เอตญฺหิ ตุมฺเห ปฏิปชฺชถ, มารเสนปฺปโมหนํฯ

ทางนี้เท่านั้นเพื่อความหมดจดแห่งทัศนะ ทางอื่นไม่มี เพราะเหตุนั้นท่านทั้งหลาย
จงดำเนินไปตามทางนี้แหละ เพราะทางนี้เป็นที่ยังมารและเสนามารให้หลง. (๒๐:)

Montag, 19. November 2018

ธัมมปทปาฬิ-แปล ๑๙. ธัมมัฏฐวรรค


๑๙. ธมฺมฏฺฐวคฺโค

๒๕๖.
น เตน โหติ ธมฺมฏฺโฐ, เยนตฺถํ สหสา นเย;
โย จ อตฺถํ อนตฺถญฺจ, อุโภ นิจฺเฉยฺย ปณฺฑิโตฯ

บุคคลไม่ชื่อว่าตั้งอยู่ในธรรม ด้วยเหตุที่วินิจฉัยอรรถคดีโดยผลุนผลัน
ส่วนผู้ใดเป็นบัณฑิตวินิจฉัยอรรถคดี และความอันไม่เป็นอรรถคดีทั้งสอง. (๑๙:)

๒๕๗.
อสาหเสน ธมฺเมน, สเมน นยตี ปเร;

ธมฺมสฺส คุตฺโต เมธาวี, ธมฺมฏฺโฐติ ปวุจฺจติฯ

วินิจฉัยบุคคลเหล่าอื่นโดยความไม่ผลุนผลัน โดยธรรมสม่ำเสมอ
ผู้นั้นชื่อว่าคุ้มครองกฎหมายเป็นนักปราชญ์ เรากล่าวว่า ตั้งอยู่ในธรรม. (๑๙:)

ธัมมปทปาฬิ-แปล ๑๘. มลวรรค


๑๘. มลวคฺโค
คาถาธรรมบท มลวรรคที่ ๑๘

๒๓๕.
ปณฺฑุปลาโสวทานิสิ; ยมปุริสาปิ จ เต อุปฏฺฐิตา;

อุยฺโยคมุเข จ ติฏฺฐสิ; ปาเถยฺยมฺปิ จ เต น วิชฺชติฯ

บัดนี้ท่านเป็นดุจใบไม้เหลือง
อนึ่งแม้บุรุษของพระยายมก็ปรากฏแก่ท่านแล้ว
ท่านตั้งอยู่ในปากแห่งความเสื่อม
อนึ่งเสบียงเดินทางของท่านก็ยังไม่มี. (๑๘:)

๒๓๖.
โส กโรหิ ทีปมตฺตโน; ขิปฺปํ วายม ปณฺฑิโต ภว;

นิทฺธนฺตมโล อนงฺคโณ; ทิพฺพํ อริยภูมึ อุเปหิสิฯ

ท่านจงทำที่พึงแก่ตน จงรีบพยายาม จงเป็นบัณฑิต
ท่านเป็นผู้มีมลทินอันขจัดแล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน
จักถึงอริยภูมิอันเป็นทิพย์. (๑๘:)

ธัมมปทปาฬิ-แปล ๑๗. โกธวรรค


๑๗. โกธวคฺโค
คาถาธรรมบท โกธวรรคที่ ๑๗

๒๒๑.
โกธํ ชเห วิปฺปชเหยฺย มานํ; สญฺโญชนํ สพฺพมติกฺกเมยฺย;

ตนฺนามรูปสฺมึ อสชฺชมานํ; อกิญฺจนํ นานุปตนฺติ ทุกฺขาฯ

บุคคลพึงละความโกรธเสีย พึงละมานะเสีย
พึงก้าวล่วงสังโยชน์เสียทั้งหมด
ทุกข์ทั้งหลายย่อมไม่ตกตามบุคคลนั้น
ผู้ไม่ข้องอยู่ในนามรูป ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล. (๑๗:)

๒๒๒.
โย เว อุปฺปติตํ โกธํ, รถํ ภนฺตํว วารเย;

ตมหํ สารถึ พฺรูมิ, รสฺมิคฺคาโห อิตโร ชโนฯ

บุคคลใดแล พึงห้ามความโกรธที่เกิดขึ้นแล้วไว้ได้
ดุจบุคคลห้ามรถซึ่งกำลังแล่นไปได้ ฉะนั้น
เรากล่าวบุคคลนั้นว่าเป็นสารถี คนนอกนี้เป็นคนถือเชือก. (๑๗:)

ธัมมปทปาฬิ-แปล ๑๖. ปิยวรรค


๑๖. ปิยวคฺโค
คาถาธรรมบทปิยวรรคที่ ๑๖

๒๐๙.
อโยเค ยุญฺชมตฺตานํ, โยคสฺมิญฺจ อโยชยํ;

อตฺถํ หิตฺวา ปิยคฺคาหี, ปิเหตตฺตานุโยคินํฯ

บุคคลประกอบตนในกิจที่ไม่ควรประกอบ และไม่ประกอบ
ตนในกิจที่ควรประกอบ ละประโยชน์เสีย มักถือเอาสัตว์
หรือสังขารว่าเป็นที่รัก ย่อมทะเยอทะยานต่อบุคคลผู้ประกอบตามตน. (๑๖:)

๒๑๐.
มา ปิเยหิ สมาคญฺฉิ, อปฺปิเยหิ กุทาจนํ;

ปิยานํ อทสฺสนํ ทุกฺขํ, อปฺปิยานญฺจ ทสฺสนํฯ

บุคคลอย่าสมาคมแล้วด้วยสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่
รัก หรือด้วยสัตว์หรือสังขารอันไม่เป็นที่รัก ในกาลไหนๆ
เพราะการไม่เห็นสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รัก และการเห็น
สัตว์หรือสังขารอันไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์. (๑๖:)