Montag, 21. Februar 2022

๖๖.โภคทรัพย์ฤาจักมีด้วยการคิด

๖๖. โภคทรัพย์ฤาจักมีด้วยการคิด


อจินฺติตมฺปิ ภวติ, จินฺติตมฺปิ วินสฺสติ;

หิ จินฺตามยา โภคา, อิตฺถิยา ปุริสสฺส วาฯ


สิ่งที่ไม่ได้คิดไว้ ย่อมมีได้บ้าง

สิ่งที่คิดไว้ ย่อมพินาศไปบ้าง

โภคะทั้งหลายของสตรี หรือบุรุษ 

จะสำเร็จได้ด้วยความคิดนึกไม่มีเลย.“


(โลกนีติ หมวดคนดี คาถาที่ ๖๖, กวิทัปปณีติ ๑๙๖, ขุ. ชา. ๒๗/๑๘๕๙ สรภชาดก, ๒๘/๔๕๐ มหาชนกชาดก)


..

Donnerstag, 17. Februar 2022

๖๕.สิ่งที่ควรหวังและควรคิดถึง

๖๕. สิ่งที่ควรหวังและควรคิดถึง


อปตฺเถยฺยํ ปตฺเถยฺย, อจินฺเตยฺยํ จินฺตเย;

ธมฺมเมว สุจินฺเตยฺย, กาลํ โมฆํ อจฺจเยฯ


อย่าไปหวังถึงสิ่งที่ไม่ควรหวัง,

อย่าไปคิดถึงสิ่งที่ไม่ควรคิด;

ธรรมะเท่านั้นที่ควรคิดถึง,

อย่าปล่อยเวลาให้สูญเปล่า.“


(โลกนีติ หมวดคนดี คาถาที่ ๖๕, กวิทัปปณีติ ๑๙๖)


..

Samstag, 12. Februar 2022

๖๔.ทรัพย์ของสัตบุรุษ

๖๔. ทรัพย์ของสัตบุรุษ


นชฺโช ปิวนฺติ โน อาปํ, รุกฺขา ขาทนฺติ โน ผลํ;

วสฺสนฺติ กฺวจิ โน เมฆา, ปรตฺถาย สตํ ธนํฯ


แม่น้ำ ย่อมไม่ดื่มกินนำ้เสียเอง,

ต้นไม้ ไม่เคี้ยวกินผลไม้เสียเอง;

เมฆฝน จะตกเฉพาะหย่อม หามิได้,

ทรัพย์ของสัตบุรุษทั้งหลาย ก็เช่นนั้น 

ย่อมมีไว้ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น.“


(โลกนีติ หมวดคนดี คาถาที่ ๖๔, มหารหนีติ ๓๑, ธัมมนีติ ๑๔๒, กวิทัปปณีติ ๕๕)


..

Dienstag, 8. Februar 2022

๖๓.ทรัพย์ของคนดีกับคนชั่วต่างกันอย่างไร?

๖๓. ทรัพย์ของคนดีกับคนชั่วต่างกันอย่างไร?


ธนมปฺปมฺปิ สาธูนํ, กูเป วาริว นิสฺสโย;

พหุํ อปิ อสาธูนํ, วารีว อณฺณเวฯ


ทรัพย์ของคนดี เหมือนน้ำในบ่อ

แม้จะน้อยก็ใช้สอยอาศัยได้,

ส่วนทรัพย์ของคนชั่วเหมือนน้ำในทะเล 

แม้มีมากมาย ก็ใช้สอยอาศัยไม่ได้เลย.“


(โลกนีติ หมวดคนดี คาถาที่ ๖๓, มหารหนีติ ๘๗, ธัมมนีติ ๓๔๕, กวิทัปปณีติ ๑๙๕)


..


ศัพท์น่ารู้ :


ธนมปฺปมฺปิ ตัดบทเป็น ธน+อปฺปํ+อปิ, ธน (ทรัพย์) + อปฺปํ (น้อย, นิดหน่อย) , อปิ (แม้, ถึงแม้) เป็นอุปสัค 

สาธูนํ: (ของคนดี, สาธุชน .) สาธุ+นํ, บาทคาถานี้ ในธัมมนีติ เป็น อปฺปมฺปิ สาธูนํ ธนํ. ในมหารหนีติ เป็น ทพฺพมปฺปํปิ สาธูนํ. ส่วนกวิทัปปณนีติเหมือนกันกับโลกนีติ.

กูเป: (ในบ่อน้ำ, หลุมลึก) กูป+สฺมึ 

วาริว: ตัดบทเป็น วาริ+อิว (เหมือนน้ำ),  วาริ (น้ำ, วารี) วาริ+สิ, ศัพท์ว่า วาริ มาจาก วร ธาตุ -นิเสเธ ในอรรถว่าห้าม กั้น ปฏเสธ +ณิ ปัจจัย (วร-นิเสเธ+ณิ)

วิเคราะห์ว่า:  วารยติ นินฺโนนตนฺติ วาริ,  วารยติ ปิปาสนฺติ วา วาริ.

(แปลว่า: นำ้ ชื่อว่า วาริ  เพราะอรรถว่า (ไหล) ไปสู่ที่ลุ่มและที่ดอน , 

อีกอย่างหนึ่ง นำ้ ชื่อว่า วาริ เพราะอรรถว่า ห้ามความ(หิว) กระหายได้) 

(จาก อภิธาน. ฏีกา). ส่วน อิว แปลว่า ดุจ, เหมือน, ราวกะ เป็นนิบาตบอกอุปมา 

นิสฺสโย: (ที่อาศัย, เครืองอาศัย, นิสสัย) นิสฺสย+สิ

พหุํอปิ: (แม้มาก) ตัดบทเป็น  พหุํ (มาก, เยอะ) + อปิ (แม้, ถึงแม้) เป็นอุปสัค บางแห่งเขียนแยกกันก็มี ในที่นี้จัดเป็นปกติสนธิก็พอได้ เพื่อรักษาฉันท์ 

อสาธูนํ: (ของพาล, อสาธุชน .)  +สาธุ > อสาธุ+นํ

: (ไม่, หามิได้) เป็นนิบาตบอกปฏิเสธ 

: (ด้วย, และ, ส่วน) เป็นนิบาต 

วารีว: (ดุจน้ำ, เหมือนน้ำ) ตัดบทเป็น วาริ+อิว 

อณฺณเว: (ในอรรณพ, ในทะเล) อณฺณว+สฺมึ


..


 

Montag, 7. Februar 2022

๖๒.ตำราดูม้าโคคน


 ๖๒. ตำราดูม้าโคคน


ชวเน ภทฺรํ ชานนฺติ, พลิพทฺทญฺจ วาเหน;

ทุเหน เธนุํ ชานนฺติ, ภาสมาเนน ปณฺฑิตํฯ


จะรู้ม้าดี เพราะความเร็ว,

จะรู้โคมีกำลัง ด้วยการบรรทุก,

จะรู้จักแม่โคนมดี ด้วยการรีดถัน,

ส่วนนักปราชญ์ ย่อมรู้ได้ด้วยคารม.“


(โลกนีติ หมวดคนดี คาถาที่ ๖๒, ธัมมนีติ ๒๕๔, กวิทัปปณีติ ๑๖๑)


..

Freitag, 4. Februar 2022

๖๑.ยาพิษที่ยิ่งกว่ายาพิษ

 


๖๑. ยาพิษที่ยิ่งกว่ายาพิษ


วิสํ วิสมิจฺจาหุ, ธนํ สงฺฆสฺส อุจฺจเต;

วิสํ เอกํว หนติ, สพฺพํ สงฺฆสฺส สนฺตกํฯ


เหล่าผู้รู้ ไม่เรียกยาพิษว่า เป็นพิษ,

แต่เรียกทรัพย์ของสงฆ์ว่า เป็นพิษ,

ยาพิษฆ่าคนตายได้เพียงชาติเดียว,

แต่ทรัพย์ของสงฆ์ ฆ่าคนได้ทุกชาติ.“


(โลกนีติ หมวดคนดี คาถาที่ ๖๑, กวิทัปปณีติ ๑๙๔)


..

Mittwoch, 2. Februar 2022

๖๐.วิธีเอาชนะใจคน

๖๐. วิธีเอาชนะใจคน


อุตฺตมตฺตนิวาเตน, สูรํ เภเทน นิชฺชเย;

นีจํ อปฺปกทาเนน, วีริเยน สมํ ชเยฯ


พึงชนะคนสูงกว่าด้วยการถ่อมตน,

พึงชนะนักเลงด้วยให้แตกกัน,

พึงชนะคนต่ำกว่าด้วยให้สินน้ำใจ,

พึงชนะคนเสมอกันด้วยความเพียร.“


(โลกนีติ หมวดคนดี คาถาที่ ๖๐, มหารหนีติ ๑๔๙, กวิทัปปณีติ ๑๙๓)


..

Sonntag, 30. Januar 2022

๕๙.คนดีชอบแต่คนพาลไม่ชอบ

๕๙. คนดีชอบแต่คนพาลไม่ชอบ


โอวาเทยฺยานุสาเสยฺย, ปาปกา นิวารเย;

สตญฺหิ โส ปิโย โหติ, อสตํ โหติ อปฺปิโยฯ


ผู้ตักเตือนและตามสั่งสอน, 

และคอยห้ามจากบาปอกุศล, 

ย่อมเป็นที่รักของสัตบุรุษ, 

แต่ไม่เป็นที่รักของอสัตบุรุษ.“


(โลกนีติ หมวดคนดี คาถาที่ ๕๙, ธัมมนีติ ๑๗๘, กวิทัปปณีติ ๑๙๒, ขุ. . ๒๕/๑๖, ขุ. เถร. ๒๖/๓๖๙)


..