Posts mit dem Label ธัมมปทปาฬิ-แปล werden angezeigt. Alle Posts anzeigen
Posts mit dem Label ธัมมปทปาฬิ-แปล werden angezeigt. Alle Posts anzeigen

Samstag, 19. Mai 2018

ธัมมปทปาฬิ-แปล_๒๖/ ๑๑. ชราวรรค


๑๑. ชราวคฺโค
คาถาธรรมบท ชราวรรคที่ ๑๑

๑๔๖.
โก นุ หาโส กิมานนฺโท, นิจฺจํ ปชฺชลิเต สติ
อนฺธกาเรน โอนทฺธา, ปทีปํ น คเวสถฯ

ร่าเริงอะไรกันหนอ ยินดีอะไรกัน 
ในเมื่อโลกสันนิวาสถูกไฟไหม้โพล่งแล้วเป็นนิตย์
 ท่านทั้งหลายถูกความมืดหุ้มห่อแล้ว 
เพราะเหตุไรจึงไม่แสวงหาประทีป. (๑๑:)

๑๔๗.
ปสฺส จิตฺตกตํ พิมฺพํ, อรุกายํ สมุสฺสิตํ;
อาตุรํ พหุสงฺกปฺปํ, ยสฺส นตฺถิ ธุวณฺฐิติฯ

ท่านจงดูอัตภาพอันบุญกรรมทำให้วิจิตรแล้ว
มีกายเป็นแผล อันกระดูกสามร้อยท่อนปรุงขึ้นแล้ว
กระสับกระส่าย อันมหาชนดำริกันโดยมาก
ไม่มีความยั่งยืนมั่นคง. (๑๑:)

Donnerstag, 17. Mai 2018

ธัมมปทปาฬิ-แปล_๒๖/ ๑๐. ทัณฑวรรค


๑๐. ทณฺฑวคฺโค
คาถาธรรมบท ทัณฑวรรคที่ ๑๐

๑๒๙.
สพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส, สพฺเพ ภายนฺติ มจฺจุโน;

อตฺตานํ อุปมํ กตฺวา, น หเนยฺย น ฆาตเยฯ

ภิกษุทำตนให้เป็นอุปมาว่า สัตว์ทั้งปวงย่อม
สะดุ้งต่ออาชญาสัตว์ทั้งปวงย่อมกลัวต่อความตาย
แล้วไม่พึงฆ่าเอง ไม่พึงใช้ผู้อื่นให้ฆ่า. (๑๐:)

๑๓๐.
สพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส, สพฺเพสํ ชีวิตํ ปิยํ
อตฺตานํ อุปมํ กตฺวา, น หเนยฺย น ฆาตเยฯ

ภิกษุทำตนให้เป็นอุปมาว่า สัตว์ทั้งปวงย่อม
สะดุ้งต่ออาชญา ชีวิตเป็นที่รักของสัตว์ทั้งปวง
แล้วไม่พึงฆ่าเอง ไม่พึงใช้ผู้อื่นให้ฆ่า. (๑๐:)

Samstag, 12. Mai 2018

ธัมมปทปาฬิ-แปล_๒๖/ ๙. ปาปวรรค


. ปาปวคฺโค
คาถาธรรมบท ปาปวรรคที่ ๙

๑๑๖.
อภิตฺถเรถ กลฺยาเณ, ปาปา จิตฺตํ นิวารเย;

ทนฺธํ หิ กรโต ปุญฺญํ, ปาปสฺมึ รมตี มโนฯ

บุคคลพึงรีบทำความดี พึงห้ามจิตจากบาป
เพราะเมื่อทำบุญช้าไป ใจย่อมยินดีในบาป. (:)

๑๑๗.
ปาปญฺเจ ปุริโส กยิรา, น นํ กยิรา ปุนปฺปุนํ;
น ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ, ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโยฯ

หากบุรุษพึงทำบาปไซร้ ไม่พึงทำบาป
นั้นบ่อยๆ ไม่พึงทำความพอใจในบาปนั้น
เพราะการสั่งสมบาปนำทุกข์มาให้. (:)

Donnerstag, 10. Mai 2018

ธัมมปทปาฬิ-แปล_๒๖/ ๘. สหัสสวรรค


. สหสฺสวคฺโค
คาถาธรรมบท สหัสสวรรคที่ ๘
๑๐๐.
สหสฺสมปิ เจ วาจา, อนตฺถปทสญฺหิตา;
เอกํ อตฺถปทํ เสยฺโย, ยํ สุตฺวา อุปสมฺมติฯ

หากว่าวาจาแม้ตั้งพันประกอบ
ด้วยบทอันไม่เป็นประโยชน์ไซร้
บทอันเป็นประโยชน์บทหนึ่ง
ที่บุคคลฟังแล้วย่อมสงบ ประเสริฐกว่า. (:)

๑๐๑.
สหสฺสมปิ เจ คาถา, อนตฺถปทสญฺหิตา;

เอกํ คาถาปทํ เสยฺโย, ยํ สุตฺวา อุปสมฺมติฯ

คาถาแม้ตั้งพันประกอบด้วยบทอันไม่เป็นประโยชน์ไซร้
คาถาบทหนึ่งที่บุคคลฟังแล้วย่อมสงบประเสริฐกว่า. (:)

Mittwoch, 9. Mai 2018

ธัมมปทปาฬิ-แปล_๒๖/ ๗.อรหันตวรรค


. อรหนฺตวคฺโค
คาถาธรรมบท อรหันตวรรคที่ ๗

๙๐.
คตทฺธิโน วิโสกสฺส, วิปฺปมุตฺตสฺส สพฺพธิ;

สพฺพคนฺถปฺปหีนสฺส, ปริฬาโห น วิชฺชติฯ

ความเร่าร้อนย่อมไม่มีแก่ผู้ที่มีทางไกลอันถึงแล้ว
ผู้มีความโศกปราศไปแล้ว ผู้พ้นวิเศษแล้วในธรรมทั้งปวง
ผู้มีกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวงอันละได้แล้ว. (:)

๙๑.
อุยฺยุญฺชนฺติ สตีมนฺโต, น นิเกเต รมนฺติ เต;

หํสาว ปลฺลลํ หิตฺวา, โอกโมกํ ชหนฺติ เตฯ

ท่านผู้มีสติย่อมขวนขวายท่านย่อมไม่ยินดีในที่อยู่
ท่านละความห่วงใยเสีย เหมือนหงส์สละเปือกตมไป ฉะนั้น. (:)

Montag, 7. Mai 2018

ธัมมปทปาฬิ-แปล_๒๖/ ๖. ปัณฑิตวรรค


. ปณฺฑิตวคฺโค

คาถาธรรมบท ปัณทิตวรรคที่ ๖

๗๖.
นิธีนํว ปวตฺตารํ, ยํ ปสฺเส วชฺชทสฺสินํ;

นิคฺคยฺหวาทึ เมธาวึ, ตาทิสํ ปณฺฑิตํ ภเช;

ตาทิสํ ภชมานสฺส, เสยฺโย โหติ น ปาปิโยฯ

บุคคลพึงเห็นบุคคลใดผู้มักชี้โทษ 
เหมือนบุคคลผู้บอกขุมทรัพย์
มักกล่าวข่มขี่ มีปัญญา 
พึงคบบุคคลผู้เป็นบัณฑิตเช่นนั้น 
เพราะว่าเมื่อคบบัณฑิตเช่นนั้น 
มีแต่คุณที่ประเสริฐโทษที่ลามกย่อมไม่มี. (:)

๗๗.
โอวเทยฺยานุสาเสยฺย, อสพฺภา จ นิวารเย;

สตํ หิ โส ปิโย โหติ, อสตํ โหติ อปฺปิโยฯ

บุคคลพึงกล่าวสอน พึงพร่ำสอนและ
พึงห้ามจากธรรมของอสัตบุรุษ
ก็บุคคลนั้น ย่อมเป็นที่รักของสัตบุรุษทั้งหลาย 
แต่ไม่เป็นที่รักของพวกอสัตบุรุษ. (:)

Samstag, 5. Mai 2018

ธัมมปทปาฬิ-แปล_๒๖/ ๕. พาลวรรค


. พาลวคฺโค
คาถาธรรมบท พาลวรรคที่ ๕

๖๐.
ทีฆา ชาครโต รตฺติ, ทีฆํ สนฺตสฺส โยชนํ;
ทีโฆ พาลาน สํสาโร, สทฺธมฺมํ อวิชานตํฯ

ราตรียาวแก่คนผู้ตื่นอยู่ โยชน์ยาวแก่คนผู้เมื่อยล้า
สงสารยาวแก่คนพาลผู้ไม่รู้แจ้งพระสัทธรรม. (:)

๖๑.
จรญฺเจ นาธิคจฺเฉยฺย, เสยฺยํ สทิสมตฺตโน;

เอกจริยํ ทฬฺหํ กยิรา, นตฺถิ พาเล สหายตาฯ

ถ้าว่าบุคคลเมื่อเที่ยวไปไม่พึงประสบสหายประเสริฐกว่าตน
หรือสหายผู้เช่นด้วยตนไซร้ บุคคลนั้นพึงทำการเที่ยวไปผู้เดียวให้มั่น
เพราะว่าคุณเครื่องความเป็นสหาย ย่อมไม่มีในคนพาล. (:)

Mittwoch, 2. Mai 2018

ธัมมปทปาฬิ-แปล_๒๖/๔. ปุปผวรรค

๔. ปุปฺผวคฺโค
คาถาธรรมบท ปุปผวรรคที่ ๔

๔๔.
โก อิมํ ปฐวึ วิเชสฺสติ,
ยมโลกญฺจ อิมํ สเทวกํ; 


โก ธมฺมปทํ สุเทสิตํ,
กุสโล ปุปฺผมิว ปเจสฺสติฯ


ใครจักรู้แจ้งแผ่นดินนี้ ใครจักรู้แจ้งยมโลกและมนุษยโลกนี้
พร้อมกับเทวโลก ใครจักเลือกสรรบทธรรมที่เราแสดงดีแล้ว
ดุจนายมาลาการผู้ฉลาด เลือกสรรดอกไม้ ฉะนั้น. (๔:๑)

๔๕.
เสโข ปฐวึ วิเชสฺสติ,
ยมโลกญฺจ อิมํ สเทวกํ;


เสโข ธมฺมปทํ สุเทสิตํ,
กุสโล ปุปฺผมิว ปเจสฺสติฯ


พระเสขะจักรู้แจ้งแผ่นดิน พระเสขะจักรู้แจ้งยมโลกและ
มนุษยโลกนี้พร้อมกับเทวโลก พระเสขะจักเลือกสรรบทธรรมที่เรา
แสดงดีแล้ว ดุจนายมาลาการผู้ฉลาดเลือกสรรดอกไม้ ฉะนั้น. (๔:๒)

Montag, 30. April 2018

ธัมมปทปาฬิ-แปล_๒๖/๓. จิตตวรรค

๓. จิตฺตวคฺโค
คาถาธรรมบท จิตตวรรคที่ ๓
 

๓๓.
ผนฺทนํ จปลํ จิตฺตํ, ทุรกฺขํ ทุนฺนิวารยํ;
 

อุชุํ กโรติ เมธาวี, อุสุกาโรว เตชนํฯ

นักปราชญ์ย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอกรักษาได้โดยยาก
ห้ามได้โดยยาก ให้ตรง ดังช่างศรดัดลูกศรให้ตรง ฉะนั้น (๓:๑)

๓๔.
วาริโชว ถเล ขิตฺโต, โอกโมกตอุพฺภโต;
 

ปริผนฺทติทํ จิตฺตํ, มารเธยฺยํ ปหาตเวฯ

จิตนี้อันพระโยคาวจรยกขึ้นแล้วจากอาลัย คือเบญจกาม
คุณเพียงดังน้ำ ซัดไปในวิปัสสนากรรมฐานเพียงดังบก
เพื่อจะละบ่วงมาร ย่อมดิ้นรน ดุจปลาอันชาวประมง
ยกขึ้นแล้วจากที่อยู่คือน้ำโยนไปแล้วบนบก ดิ้นรนอยู่ ฉะนั้น (๓:๒)

Dienstag, 24. April 2018

ธัมมปทปาฬิ-แปล_๒๖/๒. อัปปมาทวรรค

๒. อปฺปมาทวคฺโค
 

คาถาธรรมบท อัปปมาทวรรคที่ ๒
๒๑.
อปฺปมาโท อมตํ ปทํ, ปมาโท มจฺจุโน ปทํ; 


อปฺปมตฺตา น มียนฺติ, เย ปมตฺตา ยถา มตาฯ

ความไม่ประมาท เป็นทางเครื่องถึงอมตนิพพาน 

ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย 
ชนผู้ไม่ประมาทย่อมไม่ตาย 
ชนเหล่าใดประมาทแล้วย่อมเป็นเหมือนคนตายแล้ว (๒:๑)

๒๒.
เอวํ วิเสสโต ญตฺวา, อปฺปมาทมฺหิ ปณฺฑิตา;
 

อปฺปมาเท ปโมทนฺติ, อริยานํ โคจเร รตาฯ

บัณฑิตทั้งหลายตั้งอยู่ในความไม่ประมาท 

ทราบเหตุนั่นโดยความแปลกกันแล้ว 
ย่อมบันเทิงในความไม่ประมาท, ยินดีแล้ว
ในธรรมอันเป็นโคจรของพระอริยเจ้าทั้งหลาย (๒:๒)

Sonntag, 22. April 2018

ธัมมปทปาฬิ-แปล ๑. ยมกวรรค


ธมฺมปทคาถา
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ

. ยมกวคฺโค
คาถาธรรมบท ยมกวรรคที่ ๑

.
มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา, มโนเสฏฺฐา มโนมยา;

มนสา เจ ปทุฏฺเฐน, ภาสติ วา กโรติ วา;

ตโต นํ ทุกฺขมนฺเวติ, จกฺกํว วหโต ปทํฯ

ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐที่สุด
สำเร็จแล้วแต่ใจ ถ้าบุคคลมีใจอันโทษประทุษร้ายแล้ว
กล่าวอยู่ก็ตาม ทำอยู่ก็ตาม ทุกข์ย่อมไปตามบุคคลนั้น
เพราะทุจริต ๓ อย่างนั้น เหมือนล้อหมุนไปตามรอยเท้าโค
ตัวลากเกวียนไปอยู่ ฉะนั้น. (:)

.
มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา, มโนเสฏฺฐา มโนมยา;

มนสา เจ ปสนฺเนน, ภาสติ วา กโรติ วา;
ตโต นํ สุขมนฺเวติ, ฉายาว อนุปายินีฯ

ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐที่สุด
สำเร็จแล้วแต่ใจ ถ้าบุคคลมีใจผ่องใส กล่าวอยู่ก็ตาม
ทำอยู่ก็ตาม สุขย่อมไปตามบุคคลนั้นเพราะสุจริต ๓ อย่าง
เหมือนเงามีปรกติไปตาม ฉะนั้น. (:)