Sonntag, 2. Dezember 2018

ปัญหาและเฉลย(วิชาพุทธานุพุทธประวัติ) ธรรมศึกษาชั้นเอก ปี 2545


ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธานุพุทธประวัติ ธรรมศึกษาชั้นเอก

สอบในสนามหลวง

วันอาทิตย์ ที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๕

________________________
. พุทธานุพุทธประวัติ ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องอะไร ?
. ประวัติพระพุทธเจ้า . ประวัติพระสาวก
. ประวัติพระพุทธเจ้าและพระสาวก . ลัทธิประเพณีต่างๆ

. ประเทศไทยตั้งอยู่ทางทิศใด ของประเทศอินเดีย ?
. ทิศทักษิณ . ทิศบูรพา
. ทิศพายัพ . ทิศอาคเนย์

. ข้อใด ไม่ใช่บุพพนิมิต ๕ ประการ ที่ปรากฏแก่พระมหาสัตว์ก่อนเสด็จจุติยังโลกมนุษย์ ?
. ทิพยภูษาที่ทรงมีสีเศร้าหมอง . พระสรีระกายมีอาการชราปรากฏ
. พระเสโทไหลออกจากพระนลาฏ . ทิพยบุปผาที่ประดับกายเหี่ยวแห้ง

ปัญหาและเฉลย(วิชาธรรม) ธรรมศึกษาชั้นเอก ปี 2545


ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม ธรรมศึกษาชั้นเอก

สอบในสนามหลวง

วันอาทิตย์ ที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๕

_________________________
. บุคคลจะพ้นจากบ่วงแห่งมารได้ ด้วยวิธีใด ?
. สำรวมอินทรีย์ . สำรวมในกาม
. สำรวมจิต . ถูกทุกข้อ

. อะไร เรียกว่า มาร ?
. กิเลสกาม . วัตถุกาม
. กามตัณหา . กามฉันทะ

. รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าใคร่ จัดเป็นกามชนิดใด ?
. กิเลสกาม . วัตถุกาม
. กามโอฆะ . กามโยคะ

Samstag, 1. Dezember 2018

ปัญหาและเฉลย(วิชาอนุพุทธประวัติ) ธรรมศึกษาชั้นโท ปี 2545



ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ ธรรมศึกษาชั้นโท

สอบในสนามหลวง

วันอาทิตย์ ที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๕


__________________________
. พระสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า เรียกว่าอะไร ?
. พระสงฆ์ . พระอนุพุทธะ
. พระเสขะ . พระอเสขะ
. พระสาวกรูปใด เคยทำนายพระลักษณะของพระมหาบุรุษ ?
. พระอัญญาโกณฑัญญะ . พระวัปปะ
. พระภัททิยะ . พระอัสสชิ
. พระปัญจวัคคีย์ อยู่เฝ้าอุปัฏฐากพระมหาบุรุษกี่ปี ?
. ๒ ปี . ๓ ปี
. ๕ ปี . ๖ ปี

Freitag, 30. November 2018

ปัญหาและเฉลย(วิชาธรรม) ธรรมศึกษาชั้นโท ปี 2545


ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม ธรรมศึกษาชั้นโท

สอบในสนามหลวง

วันอาทิตย์ ที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๕

___________________________

. การศึกษานับเป็นสิ่งสำคัญ พระเสขะ ต้องศึกษาเรื่องอะไร ?
. พระธรรมวินัย . สมถวิปัสสนา
. พระไตรปิฎก . ศีล สมาธิ ปัญญา

. คำว่า สมถะ หมายถึงอะไร ?
. มักน้อย . พอมีพอกิน
. ความสงบ . ความเห็นแจ้ง

Donnerstag, 29. November 2018

ธัมมปทปาฬิ-แปล ๒๕. ภิกขุวรรค


๒๕. ภิกฺขุวคฺโค
คาถาธรรมบท ภิกขุวรรคที่ ๒๕

๓๖๐.
จกฺขุนา สํวโร สาธุ, สาธุ โสเตน สํวโร;

ฆาเนน สํวโร สาธุ, สาธุ ชิวฺหาย สํวโรฯ

ความสำรวมด้วยจักษุเป็นความดี ความสำรวมด้วยหูเป็นความดี ความสำรวมด้วยจมูกเป็นความดี ความสำรวมด้วยลิ้นเป็นความดี. (๒๕:)

๓๖๑.
กาเยน สํวโร สาธุ, สาธุ วาจาย สํวโร;

มนสา สํวโร สาธุ, สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร;

สพฺพตฺถ สํวุโต ภิกฺขุ, สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติฯ

ความสำรวมด้วยกายเป็นความดี ความสำรวมด้วยวาจาเป็นความดี ความสำรวมด้วยใจเป็นความดีความสำรวมในทวารทั้งปวงเป็นความดี ภิกษุผู้สำรวมแล้ว
ในทวารทั้งปวง ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้. (๒๕:)

Mittwoch, 28. November 2018

ธัมมปทปาฬิ-แปล ๒๔. ตัณหาวรรค


๒๔. ตณฺหาวคฺโค
คาถาธรรมบท ตัณหาวรรคที่ ๒๔

๓๓๔.
มนุชสฺส ปมตฺตจาริโน, ตณฺหา วฑฺฒติ มาลุวา วิย;

โส ปลวตี หุราหุรํ, ผลมิจฺฉํว วนสฺมึ วานโรฯ

ตัณหาย่อมเจริญแก่มนุษย์ผู้ประพฤติประมาท ดุจเคลือเถาย่านทราย ฉะนั้น บุคคลนั้นย่อมเร่ร่อนไปสู่ภพน้อยใหญ่ ดังวานรปรารถนาผลไม้เร่ร่อนไปในป่า ฉะนั้น. (๒๔:)

๓๓๕.
ยํ เอสา สหตี ชมฺมี, ตณฺหา โลเก วิสตฺติกา;

โสกา ตสฺส ปวฑฺฒนฺติ, อภิวฑฺฒํว พีรณํฯ

ตัณหานี้ลามกซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลก ย่อมครอบงำบุคคลใด ความโศกทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น ดุจหญ้าคมบางอันฝนตกเชยแล้วงอกงามอยู่ในป่า ฉะนั้น. (๒๔:)

Dienstag, 27. November 2018

ปัญหาและเฉลย(วิชาวินัยบัญญัติ) นักธรรมชั้นเอก ปี 2544



ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๕ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๔
____________________

.
.
อปโลกนกรรมมีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
.
สงฆ์ผู้ทำสังฆกรรม มีกำหนดจำนวนไว้อย่างไร ?
ตอบ:
.
มี ๕ อย่างคือ
) นิสสารณา นาสนะสามเณรผู้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า
) โอสารณา รับสามเณรผู้ถูกนาสนะแล้วกลับประพฤติเรียบร้อย ให้เข้าหมู่
) ภัณฑูกรรม บอกขออนุญาตปลงผมคนผู้จะบวชอันภิกษุจะทำเอง
) พรหมทัณฑ์ ประกาศไม่ว่ากล่าวภิกษุหัวดื้อว่ายาก
) กัมมลักขณะ อปโลกน์แจกอาหารในโรงฉันเป็นต้น
.
มีกำหนดจำนวนไว้ดังนี้
จตุวรรค สงฆ์มีจำนวน ๔ รูป
ปัญจวรรค สงฆ์มีจำนวน ๕ รูป
ทสวรรค สงฆ์มีจำนวน ๑๐ รูป
วีสติวรรค สงฆ์มีจำนวน ๒๐ รูป

ปัญหาและเฉลย(วิชาพุทธานุพุทธประวัติ) นักธรรมชั้นเอก ปี 2544


 
ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธานุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันอาทิตย์ ที่ ๔ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๔
______________________
.
.
อาสภิวาจาคือวาจาเช่นไร ? มีใจความว่าอย่างไร ?
.
พระพุทธองค์ทรงยืนยันพระองค์เองว่า เป็นสัมมาสัมพุทธะ เพราะทรงอาศัยเหตุอะไร ?
ตอบ:
.
คือวาจาที่เปล่งอย่างองอาจ เป็นภาษิตของบุรุษพิเศษอาชาไนยมีใจความว่า เราเป็นผู้เลิศ เป็นผู้ใหญ่ เป็นผู้ประเสริฐแห่งโลก
.
เพราะทรงอาศัยเหตุที่ตรัสรู้อริยสัจ ๔ อย่างแจ่มแจ้งครบถ้วนทุกประการ อันมีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ จึงทรงปฏิญาณพระองค์ว่า เป็นสัมมาสัมพุทธะ

ปัญหาและเฉลย(วิชาธรรม) นักธรรมชั้นเอก ปี 2544



ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันเสาร์ ที่ ๓ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๔

________________________

.
.
คำว่า มาร และ บ่วงแห่งมาร หมายถึงอะไร ?
.
บุคคลจะพ้นจากบ่วงแห่งมารด้วยวิธีอย่างไรบ้าง ?
ตอบ:
.
คำว่า มาร หมายถึงกิเลสกาม คือเจตสิกอันเศร้าหมอง ได้แก่ ตัณหา ราคะ และอรติ เป็นต้น
คำว่า บ่วงแห่งมาร หมายถึงวัตถุกาม ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ
.
ด้วยวิธี ๓ อย่างคือ
) สำรวมอินทรีย์ มิให้ความยินดีครอบงำในเมื่อเห็นรูป
เป็นต้นอันน่าปรารถนา
) มนสิการกัมมัฏฐาน อันเป็นปฏิปักษ์แก่กามฉันท์ คือ
อสุภะและกายคตาสติหรือมรณัสสติ
) เจริญวิปัสสนา คือพิจารณาสังขารแยกออกเป็นขันธ์
สันนิษฐานเห็นเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

Montag, 26. November 2018

ปัญหาและเฉลย(วิชาวินัยบัญญัติ) นักธรรมชั้นโท ปี 2544



ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๕ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๔

__________________

.
.
พระวินัย แบ่งออกเป็นกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
.
จะปฏิบัติพระวินัยอย่างไร จึงจะเรียกได้ว่า พอดีพองาม ?
ตอบ:
.
แบ่งออกเป็น ๒ อย่างคือ
อาทิพรหมจริยกาสิกขาบท ๑ อภิสมาจาร ๑
.
ต้องปฏิบัติพระวินัยโดยสายกลาง คือไม่ถือเคร่งครัดอย่างงมงาย จนเป็นเหตุต้องทำตนให้เป็นคนลำบาก เพราะเหตุธรรมเนียมเล็ก ๆ น้อย ๆ อันขัดต่อกาลเทศะ และไม่สะเพร่ามักง่าย ละเลยต่อธรรมเนียมของภิกษุ จนถึงทำตนให้เป็นคนเลวทราม จึงจะเรียกได้ว่า พอดีพองาม

ปัญหาและเฉลย(วิชาอนุพุทธประวัติ) นักธรรมชั้นโท ปี 2544


ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันอาทิตย์ ที่ ๔ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๔

________________ 

.
.
พระปัญจวัคคีย์ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ เพราะฟังพระธรรมเทศนาชื่ออะไร ?
.
พระธรรมเทศนานั้นโดยย่อว่าด้วยเรื่องอะไร ?
ตอบ:
.
ชื่อ อนัตตลักขณสูตร
.
ว่าด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

ปัญหาและเฉลย(วิชาธรรม) นักธรรมชั้นโท ปี 2544

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันเสาร์ ที่ ๓ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๔

__________________
.
.
กาม และกามคุณ มีอธิบายอย่างไร ?
.
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ทั้ง ๕ นี้ เพราะเหตุไรจึงเรียกว่า กามคุณ ?
ตอบ:
.
กาม ได้แก่ ความใคร่ ความน่าปรารถนา ความพอใจ แบ่งเป็น
กิเลสกาม และวัตถุกาม
ส่วนกามคุณ ได้แก่อารมณ์ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มี รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ซึ่งเป็นวัตถุกามนั่นเอง
.
เพราะเป็นกลุ่มแห่งกาม และเป็นสิ่งที่ให้เกิดความสุข ความพอใจได้

Sonntag, 25. November 2018

ปัญหาและเฉลย(วิชาวินัยบัญญัติ) นักธรรมชั้นตรี ปี 2544


ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันจันทร์ ที่ ๕ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๔

 ________________
.
.
พุทธบัญญัติ มูลบัญญัติ อนุบัญญัติ คืออะไร ?
.
อกรณียกิจคืออะไร ? มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
ตอบ:
.
พุทธบัญญัติ คือข้อที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้เป็นบทบังคับให้ภิกษุประพฤติ
มูลบัญญัติ คือข้อที่ทรงบัญญัติไว้เดิม
อนุบัญญัติ คือข้อที่ทรงบัญญัติเพิ่มเติมภายหลัง
.
อกรณียกิจ คือกิจที่บรรพชิตไม่ควรทำ มี ๔ อย่างคือ
เสพเมถุน ๑
ลักของเขา ๑
ฆ่าสัตว์ ๑
พูดอวดคุณพิเศษที่ไม่มีในตน ๑


ปัญหาและเฉลย(วิชาพุทธประวัติ) นักธรรมชั้นตรี ปี 2544



ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธประวัติ นักธรรมชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันอาทิตย์ ที่ ๔ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๔

.
.
ในครั้งพุทธกาล ชาวชมพูทวีปส่วนมากนับถือศาสนาอะไร ?
.
ชนเหล่านั้นมีความคิดเห็น เรื่องความตาย และความเกิด โดยสรุปอย่างไร ?
ตอบ:
.
ศาสนาพราหมณ์
.
เห็นอย่างนี้ คือเห็นว่าตายแล้วเกิดอย่างหนึ่ง เห็นว่าตายแล้วสูญอย่างหนึ่ง

ปัญหาและเฉลย(วิชาธรรม) นักธรรมชั้นตรี ปี 2544


ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันเสาร์ ที่ ๓ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๔

.
.ธรรมคุ้มครองโลกมีอะไรบ้าง ?
.ธรรมข้อนี้จะคุ้มครองโลกได้อย่างไร ?
ตอบ:
.
มี ๒ อย่างคือ
) หิริ ความละอายแก่ใจ
) โอตตัปปะ ความเกรงกลัว
.
ธรรมข้อนี้จะคุ้มครองโลกได้ เนื่องจากปัจจุบันโลกที่เกิดวิกฤตการณ์ในด้านต่าง ๆ ส่วนหนึ่งนั้นเป็นเพราะชาวโลกละทิ้งธรรม คือ หิริ และโอตตัปปะ ไม่ละอายแก่ใจ ไม่เกรงกลัวต่อผลแห่งความชั่ว ขาดเมตตากรุณา เป็นคนเห็นแก่ตัวจัด มีการเบียดเบียน กระทำทุจริต โดยวิธีการต่าง ๆ หากชาวโลกมีธรรมคู่นี้ตั้งมั่นในใจแล้ว ก็จะช่วยคุ้มครองโลกให้พ้นจากภาวะวิกฤตในปัจจุบันได้