Samstag, 6. März 2021

๒๗๐. ขวัญเมืองประเทืองรัฐ

๒๗๐. ขวัญเมืองประเทืองรัฐ 


กสฺสโก วาณิโชมจฺโจ, สมโณ สุตสีลวา;

เตสุ วิปุลชาเตสุ, รฏฺฐมฺปิ วิปุลํ สิยาฯ


ชาวนา พ่อค้าวาณิช อำมาตย์ข้าราชการ ,

และสมณะนักบวช ผู้ทรงความรู้ มีศีลบริสุทธิ์ ,

เมื่อชนทั้ง เหล่านี้ เป็นชนส่วนมากของประเทศ,

แม้ประเทศ ก็พลอยเจริญรุ่งเรืองไพบูลย์ไปด้วย.”


(กวิทปฺปณนีติ ๒๗๐, โลกนีติ ๑๖๓, มหารหนีติ ๑๖๔, ธมฺมนีติ ๒๗๒)

๑. ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นประธาน

ธมฺมปทปาฬิ

. ยมกวคฺโค

.

มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา, มโนเสฏฺฐา มโนมยา;

มนสา เจ ปทุฏฺเฐน, ภาสติ วา กโรติ วา;

ตโต นํ ทุกฺขมนฺเวติ, จกฺกํว วหโต ปทํฯ

ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐที่สุด สำเร็จแล้วแต่ใจ, 

ถ้าบุคคลมีใจอันโทษประทุษร้ายแล้ว กล่าวอยู่ก็ตาม ทำอยู่ก็ตาม, 

ทุกข์ย่อมไปตามบุคคลนั้น เพราะทุจริต ๓ อย่างนั้น, 

เหมือนล้อหมุนไปตามรอยเท้าโคผู้ลากเกวียนไปอยู่ ฉะนั้น“.

พระธรรมบท


 

Freitag, 5. März 2021

๒๖๙. คนฉลาดควรพยายามทุกวิถีทาง

๒๖๙. คนฉลาดควรพยายามทุกวิถีทาง 


ชปฺเปน มนฺเตน สุภาสิเตน,

อนุปฺปทาเนน ปเวณิยา วา;

ยถา ยถา ยตฺถ ลเภถ อตฺถํ,

ตถา ตถา ตตฺถ ปรกฺกเมยฺยฯ


บัณฑิตพึงได้ประโยชน์ ในที่ใดๆ ด้วยประการใดๆ  

เพราะการสรรเสริญ เพราะความรู้ เพราะกล่าวคําสุภาษิต 

เพราะการบําเพ็ญทาน หรือเพราะประเพณีของตน 

ก็พึงบากบั่นในที่นนั้ๆ ด้วยประการนั้นๆ.”


(กวิทปฺปณนีติ ๒๖๙, องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๔๘, ขุ. ชา. ๒๗/๗๙๑)


…..

Donnerstag, 4. März 2021

๒๖๘.๒ การยืนที่สมควร

๒๖๘. การยืนที่สมควร

)

ปจฺฉโต ปุรโต, นาปิ อาสนฺนทูรโต;

กจฺเฉ โนปิ ปฏิวาเต, จาปิ โอณตุณฺณเต;

อิเม โทเส วิวชฺเชตฺวา, เอกมนฺตํ ฐิตา อหุ.


ราชเสวกผู้ฉลาด เพราะเว้นโทษ ประการเหล่านี้ คือ

ไม่ยืนข้างหลัง ไม่ยืนข้างหน้า ไม่ยืนใกล้เกินไป  

ไม่ยืนไกลเกินไป ไม่ยืนคับแคบ ไม่ยืนเหนือลม  

ไม่ยืนที่ลุ่ม และไม่ยืนที่สูง จึงชื่อว่า เป็นผู้ยืน ที่เหมาะสม.”


(กวิทปฺปณนีติ ๒๖๘)


…..

Mittwoch, 3. März 2021

๒๖๘.๑ ข้าเฝ้าควรเว้นโทษ ๖ อย่าง

๒๖๘. ข้าเฝ้าควรเว้นโทษ ๖ อย่าง


)

นาติทูเร ภเช รญฺโญ, นจฺจาสนฺเน ปวาตเก;

อุชุเก นาตินินฺเน , ภเช อุจฺจมาสเน;

โทเส วชฺเช เสวโก, อคฺคีว สํยโต ติฏฺเฐฯ


ราชเสวกควรเข้าเฝ้าพระราชาในที่ไม่ไกลเกินไป

ไม่ควรเฝ้าในที่ใกล้เกินไป ในที่เหนือลม

ในที่ต่อหน้าพระพักตร์ ในที่ต่ำเกินไป  

และในที่สูงเกินไป ราชเสวกพึงเว้นโทษ อย่างนี้, 

พึงยืนสำรวมระวังพระองค์เป็นเสมือนดังกองเพลิง ฉะนั้น.“


(กวิทปฺปณนีติ ๒๖๘, โลกนีติ ๑๓๖, ธมฺมนีติ ๒๙๗)


…..

Dienstag, 2. März 2021

๒๖๗. สิ่งที่ข้าเฝ้าควรคิดอยู่เสมอ

๒๖๗. สิ่งที่ข้าเฝ้าควรคิดอยู่เสมอ


เม ราชา สขา โหติ, ราชา โหติ สมโก;

เอโส สามิโก มยฺหนฺติ, จิตฺเต นิฏฺฐํ สณฺฐาปเยฯ


ราชเสวกไม่พึงให้ความคิดเกิดขึ้นในจิตว่า..

พระราชาทรงเป็นเพื่อนเกลอของเรา,

พระราชาทรงเป็นคนสามัญชนเหมือนเรา,

แต่พึงคิดเสมออยู้ในใจว่า..พระราชาทรง

เป็นนายเหนือหัวสูงสุดของเรา.“


(กวิทปฺปณนีติ ๒๖๗, โลกนีติ ๑๓๕)

Montag, 1. März 2021

๒๖๖. สิ่งที่ราชเสวกไม่ควรทำ

 

๒๖๖. สิ่งที่ราชเสวกไม่ควรทำ


รญฺญา สมกํ ภุญฺเช, กามโภคํ กุทาจนํ;

อากปฺปํ รสภุตฺตํ วา, มาลาคนฺธวิเลปนํ;

วตฺถสพฺพมลงฺการํ, รญฺญา สทิสํ กเรฯ


ราชเสวกไม่ควรใช้สอยบริโภคสิ่งของเครื่องใช้ 

เสมอด้วยพระราชา ในกาลไหน ไม่ควรทำอากัปกริยาเลียนแบบ

ไม่ควรเสวยภัตมีรสเหมือนกัน ไม่ควรทัดทรงมาลาลูบไล้ของหอมเหมือนกัน

และไม่ควรสวมเสื้อผ้าและประดับของทั้งปวงเหมือนกันกับพระราชา .“


(กวิทปฺปณนีติ ๒๖๖, โลกนีติ ๑๓๔, ธมฺมนีติ ๒๙๖, ขุ. ชา ๒๘/๙๖๑)

…..

Sonntag, 28. Februar 2021

๒๖๕. ทานเป็นยาเสน่ห์


 ๒๖๕. ทานเป็นยาเสน่ห์  


ทานํ สิเนหเภสชฺชํ, มจฺเฉรํ โทสโนสธํ;

ทานํ ยสสฺสีเภสชฺชํ, มจฺเฉรํ กปโณสธํฯ


ทาน คือยาเสน่ห์มัดใจมิตร,

ความตระหนี่ คือพิษทำลายเพื่อน,

ทาน คือโอสถของคนมีเกียรติยศ,

ความตระหนี่ คือโอสถของคนไร้เกียรติ.“


(กวิทปฺปณนีติ ๒๖๕, โลกนีติ ๑๓๑)

Samstag, 27. Februar 2021

๒๖๔. อานุภาพแห่งทานและปิยวาจา

๒๖๔. อานุภาพแห่งทานและปิยวาจา


อทนฺตทมนํ ทานํ, ทานํ สพฺพตฺถ สาธกํ;

ทาเนน ปิยวาจาย, อุนฺนมนฺติ นมนฺติ จฯ

อทนฺตทมนํ ทานํ, อทานํ ทนฺตทูสกํ;

ทาเนน ปิยวาจาย, อุนฺนมนฺติ นมนฺติ จฯ


ทานเป็นเครื่องฝึกคนที่ยังไม่ได้ฝึก

ทานยังประโยชน์ให้สำเร็จในที่ทั้งปวง

ชนทั้งหลายย่อมน้อมขึ้นน้อมลง

เพราะการให้ทานและการพูดจาไพเราะ.“

ทานเป็นเครื่องฝึกคนที่ยังไม่ได้ฝึก

การไม่ให้ทานเป็นการประทุษร้ายคนที่ฝึกแล้ว

ชนทั้งหลายย่อมน้อมขึ้นน้อมลง

เพราะการให้ทานและการพูดจาไพเราะ.“



(กวิทัปปณนีติ ๒๖๔, โลกนีติ ๑๓๐, มหารหนีติ ๑๘๖)


..

Freitag, 26. Februar 2021

๒๖๓. มนต์มัดใจ

๒๖๓. มนต์มัดใจ


อกฺโกเธน ชิเน โกธํ, อสาธุํ สาธุนา ชิเน;

ชิเน กทริยํ ทาเนน, สจฺเจนาลิกวาทินํฯ


พึงชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ,

พึงชนะความไม่ดีด้วยความดี,

พึงชนะความตระหนี่ด้วยการให้,

พึงชนะคนมักกล่าวคำเหลาะแหละด้วยคำสัตย์.“


(กวิทปฺปณนีติ ๒๖๓, โลกนีติ ๑๒๙, ขุ. . ๒๕/๒๗, ขุ. ชา. ๒๗/๑๕๒ )