Donnerstag, 25. März 2021

๒๙๒. ทาส ๔ ประเภท


. ทาสกกณฺฑ


๒๙๒. ทาส ประเภท


อนฺโตชาโต ธนกฺกีโต, ทาสโพฺยปคโต สยํ;

ทาสากรมรานีโต-เจฺจวํ เต จตุธา สิยุํฯ


ทาสมี จำพวกคือ

ทาสเกิดภายใน

ทาสที่ช่วยมาด้วยทรัพย์

ทาสที่เขานำมาเป็นเชลย

บุคคลที่ยอมเป็นทาสเอง


(กวิทปฺปณนีติ ๒๙๒, มหารหนีติ ๑๐๖, ธมฺมนีติ ๑๘๐)

..

Mittwoch, 24. März 2021

๒๙๑. สิ่งที่หมอควรรู้


๒๙๑. สิ่งที่หมอควรรู้


รุชาย ชยลกฺขณํ, รโส เภสชฺชมฺปิ ;

ติลกฺขณเภโท เจว, วิเญฺญยฺโย ภิสเกฺกน เวฯ


ลักษณะการเอาชนะโรค

วิธีรักษาโรค และยาที่ใช้รักษา

ประเภทแห่งลักษณะทั้ง นี้

นายแพทย์ต้องรู้เป็นพิเศษ.


(กวิทัปปณนีติ เวชชาจริยกัณฑ์ คาถาที่ ๒๙๑)

Dienstag, 23. März 2021

๒๙๐. หมอดีมีคุณสมบัติ ๔ ข้อ


 ๒๙๐. หมอดีมีคุณสมบัติ ข้อ


ทิฏฺฐกมฺมตา โสจญฺจ, ทกฺขตา วิทิตาคโม;

จตฺตาโร สุภิสกฺกสฺส, สุคุณา วิญฺญุนา มตาฯ


คุณสมบัติของคุณหมที่ดี มี อย่าง

อันวิญญูชน ทราบกันแล้ว คือ 

รับผิดชอบต่อหน้าที่ มีความสะอาด

ขยันหมั่นเพียร และ มีความรู้ที่ชำนาญ .


(กวิทัปปณนีติ เวชชาจริยกัณฑ์ คาถาที่ ๒๙๐)

Montag, 22. März 2021

๒๘๙. หมอควรเว้นโทษ ๕ อย่าง

 

๒๘๙. หมอควรเว้นโทษ อย่าง


กิลิฏฺฐวตฺถํ โกโธ , อติมานญฺจ คมฺมตา;

อนิมนฺติตคมนํ, เอเต ปญฺจ วิวชฺชิยาฯ


คุณหมอควรเว้นโทษ อย่างเหล่านี้ คือ 

การแต่งกายมอซอ ความโกรธเคือง

การถือตัวเกินไป การประพฤติหยาบช้า  

และ การไปสู่ที่เขาไม่ได้เชื้อเชิญ .



(กวิทัปปณนีติ เวชชาจริยกัณฑ์ คาถาที่ ๒๘๙)

Sonntag, 21. März 2021

๒๘๗-๘. ลักษณะของอาจารย์หมอ

๒๘๗-. ลักษณะของอาจารย์หมอ


นานาคนฺถชานนญฺจ, สุทิฏฺฐกมฺมสมฺปทา;

ทกฺขตา หตฺถสีฆตา, ปสาทสูรสตฺติตาฯ

สาภาวิกตงฺขณิก-ญาณสุภาสิตาปิ ;

อุสฺสาโห ทพฺโพ สพฺพตา, เวชฺชาเจรสฺส ลกฺขณํ;


มีความรู้ตำราหลากหลาย, มีความรับผิดชอบหน้าที่สูง,

ขยันหมั่นเพียร, คล่องแคล่ว, เก่งกล้าสามารถน่าเลื่อมใส,

มีปัญญากล่าวชอบตามสภาวะในขณะนั้น, มีความอุตสาหะ,

มีไหวพริบทุกสถานการณ์ เหล่านี้เป็นลักษณะของหมอ.



(กวิทัปปณนีติ เวชชาจริยกัณฑ์ คาถาที่ ๒๘๗, ๒๘๘ )


Samstag, 20. März 2021

เปิดพระไตรปิฏก โดยพระมหาสมปอง มุทิโตและคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ

 

๕. โกสัมพิกวัตถุ เรื่องภิกษุเมืองโกสัมพี


. โกสมฺพกวตฺถุ ()

.

ปเร  วิชานนฺติ, มยเมตฺถ ยมามเส;

เย ตตฺถ วิชานนฺติ, ตโต สมฺมนฺติ เมธคาฯ

ก็ชนเหล่าอื่นไม่รู้สึกว่า พวกเราย่อมยุบยับในท่ามกลางสงฆ์นี้ 

ส่วนชนเหล่าใดในท่ามกลางสงฆ์นั้น 

ย่อมรู้สึก ความหมายมั่นย่อมระงับจากชนเหล่านั้น. (๑:๖)

๒๘๖. นายแพทย์ผู้ประเสริฐ


. เวชฺชาจริยกณฺฑ



๒๘๖. นายแพทย์ผู้ประเสริฐ

อายุพฺเพทกตาภฺยาโส, สพฺเพสํ  ปิยทสฺสโน;

อริยสีลคุโณเปโต, เอส เวชฺโช วิธียเตฯ


ผู้ใดมีความชำนาญในการรักษาโรค

เป็นที่รักและน่าทัศนาของมหาชนทั้งปวง

ประกอบด้วยคุณคือศีล(มารยาท)อันประเสริฐ

ผู้เช่นนั้น ควรยกย่องตั้งไว้ในตำแหน่งนายแพทย์.


(กวิทัปปณนีติ ๒๘๖, จาณกฺยนีติปาฬิ ๑๐๓)

Freitag, 19. März 2021

๒๘๕. เปรียบลูกหลานดุจมือและเท้า

๒๘๕. เปรียบลูกหลานดุจมือและเท้า


ปุตฺตํ วา ภาตรํ ทุฏฺฐุ, อนุสาเสยฺย โน ชเห;

กินฺนุ เฉชฺชํ กรํ ปาทํ, ลิตฺตํ อสุจินา สิยาฯ


ควรสั่งสอนบุตรหรือพี่น้องที่ไม่เอาถ่าน

ไม่ควรปล่อยปะละเลยเขาไปตามเวรตามกรรม;

มือและเท้าที่แปดเปื้อนของไม่สะอาด

จำเป็นถึงขนาดต้องตัดทิ้งเลยเชียวหรือ!


(กวิทปฺปณนีติ ๒๘๕)

Donnerstag, 18. März 2021

๒๘๔. พ่อเลี้ยงลูกทุกได้เสมอ

๒๘๔. พ่อเลี้ยงลูกทุกได้เสมอ


พหุปุตฺเต ปิตา เอโก, อวสฺสํ โปเสติ สทา;

พหุปุตฺตา สกฺโกนฺติ, โปเสตุํ ปิตเรกกํฯ


พ่อคนเดียวเลี้ยงลูกหลายคนได้

แน่นอนและในกาลทุกเมื่อ,

แต่ลูกหลายคนไม่อาจเลี้ยงดู

พ่อเพียงคนเดียวได้.



(กวิทัปปณนีติ ๒๘๔, มหารหนีติ ๑๐๒)


Mittwoch, 17. März 2021

๒๘๒-๓. ลูกคือความหวังของพ่อแม่


๒๘๒-๓. ลูกคือความหวังของพ่อแม่


ปญฺจฏฺฐานานิ สมฺปสฺสํ, ปุตฺตมิจฺฉนฺติ ปณฺฑิตา;

ภโต วา โน ภริสฺสติ, กิจฺจํ วา โน กริสฺสติฯ

กุลวํโส จิรํ ติฏฺเฐทายชฺชํ ปฏิปชฺชติ;

อถ วา ปน เปตานํทกฺขินํ อนุปทสฺสติฯ



พ่อแม่ผู้มีปัญญา เล็งเห็นฐานะ 

ประการ จึงปรารถนาบุตร 

ด้วยหวังว่า บุตรที่เราเลี้ยงมาแล้ว 

จักเลี้ยงตอบเรา , จักทำกิจแทนเรา .

วงศ์สกุลจักดำรงอยู่ได้นาน 

บุตรจักปกครองทรัพย์มรดก 

และเมื่อเราตายไปแล้ว บุตร

จักบำเพ็ญทักษิณาทานให้ .


(กวิทัปปณนีติ ๒๘๒, มหารหนีติ ๑๐๔, ธัมมนีติ ปุตตกถา ๑๗๓,  องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๓๙)


Dienstag, 16. März 2021

๒๘๑. ลูกที่พ่อแม่ไม่ต้องการ


. ปุตฺตกณฺฑ


๒๘๑. ลูกที่พ่อแม่ไม่ต้องการ


อติชาตมนุชาตํ, ปุตฺตมิจฺฉนฺติ ปณฺฑิตา;

อวชาตํ อิจฺฉนฺติ, โย โหติ กุลคนฺธโนฯ


บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมปรารถนาอติชาตบุตร 

และอนุชาตบุตร ไม่ปรารถนาอวชาตบุตร 

ซึ่งเป็นผู้ทำลายตระกูล.


(กวิทัปปณนีติ ๒๘๑, ธัมมนีติ ๕๑, ๑๗๕, มหารหนีติ ๑๐๓, ขุ. อิติ. ๒๕/๒๕๒)