Freitag, 30. September 2022

๑๓๘. กุโต-แต่ไหน?


. ปกิณฺณกกณฺโฑ-หมวดเบ็ดเตล็ด


๑๓๘. กุโต-แต่ไหน?


อิตฺถิมิสฺเส กุโตสีลํ, มํสภกฺเข กุโตทยา;

สุราปาเน กุโตสจฺจํ, มหาโลเภ กุโตหิรี;

มหาตนฺเท กุโตสิปฺปํ, มหาโกเธ กุโตธนํฯ


เพราะชอบยุ่งกับสตรี จะมีศีลมาแต่ไหน?

เพราะชอบกินเนื้อ จะมีเมตตามาแต่ไหน?

เพราะชอบดื่มสุรา จะมีสัจจะแต่ที่ไหน?

เพราะเป็นคนโลภจัด จะมีความละอายแต่ที่ไหน?

เพราะความเกียจคร้านมาก จะมีความรู้แต่ที่ไหน?

เพราะความเป็นคนขี้โกรธ จะมีทรัพย์แต่ที่ไหน?“


(โลกนีติ หมวดเบ็ดเตล็ด คาถาที่ ๑๓๘, ธัมมนีติ ๓๗๒, มหารหนีติ ๒๒๙, กวิทัปปณนีติ ๓๒๓)


..

Donnerstag, 29. September 2022

๑๓๗. ศิลปินเดี่ยวดังยาก!

 

๑๓๗. ศิลปินเดี่ยวดังยาก!


คุณี สพฺพญฺญุตุลฺโยปิ, โสภติ อนิสฺสโย;

อนคฺโฆปิ มณิเสฏฺโฐ, เหมํ นิสฺสาย โสภติฯ


คนมีคุณ แม้เสมอด้วยพระสัพพัญญู,

ถ้าไม่มีผู้สนับสนุน ย่อมเจริญยาก,

ดุจแก้วมณีเม็ดงาม แม้มีค่าน้อย,

เพราะอาศัยทอง จึงจะงดงามล้ำค่า.“


(โลกนีติ หมวดราชา คาถาที่ ๑๓๗, ธัมมนีติ ๘๘, มหารหนีติ ๑๕๘)


..

Mittwoch, 28. September 2022

๑๓๖. หกสิ่งที่ควรเว้นเวลาเข้าเฝ้า

 

๑๓๖. หกสิ่งที่ควรเว้นเวลาเข้าเฝ้า


นาติทูเร ภเช รญฺโญ, นาจฺจาสนฺโนปวาตเก;

อุชุเก นาตินินฺเน , ภเช อุจฺจมาสเนฯ

ฉโทเส วชฺเช เสวโก, ติฏฺเฐ อคฺคึว สํยโตฯ


ข้าราชบริพารควรเข้าเฝ้าพระราชาในที่ไม่ไกลจนเกินไป

ไม่ควรเฝ้าในที่ใกล้เกินไป ในที่เหนือลม

ในที่ต่อหน้าพระพักตร์ ในที่ต่ำเกินไป  

และในที่สูงเกินไป พึงเว้นโทษ อย่างนี้, 

พึงยืนสำรวมระวังพระองค์เป็นเสมือนดังกองเพลิง ฉะนั้น.“


(โลกนีติ หมวดราชา คาถาที่ ๑๓๖,  กวิทปฺปณนีติ ๒๖๘, ธมฺมนีติ ๒๙๗, ขุ. ชา ๒๘/๙๖๓)


..

Dienstag, 27. September 2022

๑๓๕. สิ่งที่ราชบริพารไม่ควรคิดในใจ

๑๓๕. สิ่งที่ราชบริพารไม่ควรคิดในใจ


เม ราชา สขา โหติ, ราชา โหติ เมถุโน;

เอโส สามิโก มยฺหนฺติ, จิตฺเต นิฏฺฐํ สุถาปเยฯ


ราชบริพารไม่ควรเผลอคิดในใจว่า...

พระราชาทรงเป็นเพื่อนเกลอของเรา,

พระราชาทรงเป็นคนสามัญชนเหมือนเรา,

แต่พึงคิดเสมออยู้ในใจว่า...พระราชาทรง

เป็นนายเหนือหัวสูงสุดของเรา.“


(โลกนีติ หมวดราชา คาถาที่ ๑๓๕, ธัมมนีติ ๒๙๘, กวิทปฺปณนีติ ๒๖๗, ขุ. ชา ๒๘/๙๖๓)

..

Donnerstag, 22. September 2022

๑๓๔. สิ่งที่ข้าเฝ้าไม่ควรทำ

๑๓๔. สิ่งที่ข้าเฝ้าไม่ควรทำ


รญฺญา สมกํ ภุญฺเช, กามโภคํ กุทาจนํ;

อากปฺปํ รสภุตฺติํ วา, มาลา คนฺธวิเลปนํ;

วตฺถํ สพฺพอลงฺการํ, รญฺญา สทิสํ กเรฯ


ข้าเฝ้าไม่ควรใช้สอยสิ่งของเครื่องใช้ 

ที่งดงามเสมอกับพระราชา ในกาลไหน  

ไม่ควรทำอากัปกริยาเลียนแบบ

ไม่ควรเสวยภัตมีรสเหมือนกัน 

ไม่ควรทัดทรงมาลา ลูบไล้ของหอมเหมือนกัน 

และไม่ควรสวมเสื้อผ้าและสิ่งประดับ

ทั้งปวงเหมือนกันกับพระราชา.“


(โลกนีติ หมวดราชา คาถาที่ ๑๓๔, ธัมมนีติ ๒๙๑ กวิทัปปณนีติ ๒๖๖, ขุ. ชา ๒๘/๙๖๑)


..

Mittwoch, 21. September 2022

๑๓๓. เพื่อนที่ไม่อาจช่วยเพื่อน

๑๓๓. เพื่อนที่ไม่อาจช่วยเพื่อน


สหาโย อสมตฺโถปิ, เตชสา กึ กริสฺสติ;

นิวาเต ชลิโต อคฺคิ, สยเมวูปสมฺปติฯ


เพื่อนหากไม่มีความสามารถ

จักมีอำนาจ ช่วยอะไรได้! 

เปรียบเสมือนไฟที่จุดไว้ในที่อับลม 

รอแต่จะดับไปเองนั่นเทียว.“


(โลกนีติ หมวดราชา คาถาที่ ๑๓๓, ธัมมนีติ ๙๔, มหารหนีติ ๒๒๗)


..

Dienstag, 20. September 2022

๑๓๒. สามัคคีคือพลัง

๑๓๒. สามัคคีคือพลัง


พหูนมปฺปสารานํ, สามคฺคิยา ชยํ ชเย;

ติเณหิ วตฺตเต โยตฺตํ, เตน นาโคปิ พชฺฌเตฯ


คนหมู่มากถึงมีกำลังน้อย

พึงชนะ(ศัตรู)ได้ ด้วยความสามัคคี

เชือกที่ฟั่นด้วยเส้นหญ้าทั้งหลาย

นายพรานย่อมเอาไปคล้องช้างได้.“


(โลกนีติ หมวดราชา คาถาที่ ๑๓๒, ธัมมนีติ ๒๒๐, มหารหนีติ ๒๒๖)


..

Montag, 19. September 2022

๑๓๑. ทานเป็นยาเสน่ห์


๑๓๑. ทานเป็นยาเสน่ห์


ทานํ สิเนหเภสชฺชํ, มจฺเฉรํ โทสโนสธํ;

ทานํ ยสสฺสีเภสชฺชํ, มจฺเฉรํ กปโณสธํฯ


ทาน คือยาเสน่ห์มัดใจมิตร,

ความตระหนี่ คือยาพิษทำลายเพื่อน,

การให้ คือโอสถของคนมีเกียรติยศ,

ความตระหนี่ คือโอสถของคนเข็ญใจ.“


(โลกนีติ หมวดราชา คาถาที่ ๑๓๑, ธัมมนีติ ๒๒๒, มหารหนีติ ๑๘๗, กวิทัปปณนีติ ๒๖๕)


..

Sonntag, 18. September 2022

๑๓๐. อานุภาพแห่งทานและปิยวาจา

๑๓๐. อานุภาพแห่งทานและปิยวาจา


อทนฺตทมนํ ทานํ, ทานํ สพฺพตฺถ สาธกํ;

ทาเนน ปิยวาเจน, อุนฺนมนฺติ นมนฺติ จฯ


ทานเป็นเครื่องฝึกคนที่ยังไม่ได้ฝึก

ทานยังประโยชน์ให้สำเร็จในที่ทั้งปวง

ชนทั้งหลายย่อมน้อมขึ้นน้อมลง

เพราะการให้ทานและการพูดจาไพเราะ.“


(โลกนีติ หมวดราชา คาถาที่ ๑๓๐, มหารหนีติ ๑๘๖, กวิทัปปณนีติ ๒๖๔)


..

Samstag, 17. September 2022

๑๒๙. มนต์มัดใจ

๑๒๙. มนต์มัดใจ


อกฺโกเธน ชิเน โกธํ, อสาธุํ สาธุนา ชิเน;

ชิเน มจฺฉรึ ทาเนน, สจฺเจนาลีกวาทินํฯ


พึงชนะคนโกรธด้วยความไม่โกรธ,

พึงชนะคนไม่ดีด้วยความดี,

พึงชนะคนตระหนี่ด้วยการให้,

พึงชนะคนพูดเหลวไหลด้วยคำสัตย์.“


(โลกนีติ หมวดราชา คาถาที่ ๑๒๙, กวิทัปปณนีติ ๒๖๓, จตุรารักขทีปนี ๑๐ เมตตาภาวนา ขุ. . ๒๕/๒๗ โกธวรรค, ขุ. ชา. ๒๗/๑๕๒ ราโชวาทชาดก)


..