๔. อาสาฬหมาส-เดือนกรกฏาคม
๑๐.
อาสาฬฺโห นาม มาโสปิ, อตีว วิสิฏฺโฐ ภวิ;
ปฏิสนฺธึ คณฺหิ พุทฺโธ, ตสฺมิญฺหิ มุนิ สุธีฯ
๔. อาสาฬหมาส-เดือนกรกฏาคม
๑๐.
อาสาฬฺโห นาม มาโสปิ, อตีว วิสิฏฺโฐ ภวิ;
ปฏิสนฺธึ คณฺหิ พุทฺโธ, ตสฺมิญฺหิ มุนิ สุธีฯ
ฯ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺพาสมฺพุทฺธสฺสฯ
ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง พระองค์นั้น.
๑๐. การนอบน้อมและคำรับรอง
ปณาม ปฏิญฺญา
วตฺถุตฺตยํ นมสิตฺวา, อาเจเร กวิปุงฺคเว;
กสฺสํ ทฺวาทสมาสานํ, พนฺธํ ตมฺมาสวสิกํฯ
"ข้าพเจ้าขอนมัสการพระรัตนตรัย และพระอาจารย์
ทั้งหลายผู้เป็นยอดแห่งกวีแล้ว จักรจนาเรื่องราว
ทีเป็นไปแห่งเดือนทั้ง ๑๒ ตามสมควรแก่เดือนนั้นๆ.“
(กวิทปฺปณนีติ, ปณาม ปฏิญฺญาคาถา)
…..
๙. เดือนห้าหน้าร้อน
‘‘องฺคาริโนทานิ ทุมา ภทนฺเต’’¹
‘‘ยถาปิ รมฺมโก มาโส, คิมฺหานํ โหติ พฺราหฺมณ;
อเต‘ว’ญฺเญหิ มาเสหิ, ทุมปุปฺเผหิ โสภติ’’ฯ²
‘‘วนปฺปคุมฺเพ ยถา ผุสฺสิตคฺเค,
คิมฺหานมาเส ปฐมสฺมึ คิมฺเห’’³
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ หมู่ไม้ทั้งหลาย
มีดอกและใบมีสีแดงดั่งถ่านเพลิง"¹
"ดูกรท่านพราหมณ์ เดือนห้าในคิมหันตฤดู
ย่อมสวยงามยิ่งกว่าเดือนอื่นๆ ด้วยต้นไม้และดอกไม้ ฉันใด.“²
"พุ่มไม้ในป่ามียอดอันบานแล้วในเดือนต้นในคิมหันตฤดู ฉันใด"³
(กวิทปฺปณนีติ ๘/๒)
..
๘. ความปรารถนาของผู้แต่งคัมภีร์
อเนน สุวิสิฏฺเฐน, ปุญฺเญนญฺเญน กมฺมุนา;
มนิสิภิคุรูเหว, คเจฺฉยฺยํ อมตํ สิวํฯ
"ด้วยบุญอันสุดประเสริฐนี้ และกรรมอันเลิศอื่นด้วย
ขอให้ข้าพเจ้าบรรลุนิพพานอันเป็นอมตะพร้อมกับ
วิชชา ๓ อภิญญา ๖ วิโมกข์ ๘ เป็นต้นนั้นเทียว.“
..
๗. ความหวังของผู้แต่งคัมภีร์
ติฏฺฐตํ อยํ เม คนฺโถ, สุสาโร ยาว สาสนํ;
ติฏฺฐเตว สุเตสีนํ, สุสารํ สุปกาสยํฯ
"ขอคัมภีร์อันมีสาระที่ดีของข้าพเจ้านี้
ประกาศสาระประโยชน์ที่ดีงาม
แก่นักศึกษาทั้งหลาย จงดำรงอยู่ได้
ตราบเท่าพระศาสนาดำรงอยู่นั่นเทียว.“
(กวิทปฺปณนีติ อารมฺภคาถา ๗)
..
๖. รจนาคัมภีร์
นิสฺสาย เปฏเก เจว, อเนกนีติโปตฺถเก;
พหุเล คนฺถเสฏฺเฐปิ, กโตยํ วิธุมานิโตฯ
"ข้าพเจ้าอาศัยพระไตรปิฏกทั้งหลาย
กับคัมภีร์นีติต่าง ๆ อีกมากมาย
(กวิทปฺปณนีติ อารมฺภคาถา ๒-๖)
..
๕. เป็นเจ้าคณะวัดโชติปาละ
สุนฺทเร ปุรเสฏฺฐมฺหิ, สุนฺทเร วิสุเต สุเภ;
สุนฺทเร โชติปาลมฺหิ, วสตา คณวาจินาฯ
ได้เป็นอาจารย์สอนหมู่คณะอยู่ในวัดชื่อโชติปาล
อันน่าอยู่ ที่มีที่อยู่สะอาดสวยงาม ในหัวเมืองที่เจริญ.
(กวิทปฺปณนีติ อารมฺภกถา ๕)
..
๔. ศึกษาต่อจนสำเร็จ
ทกฺขิณารามวาสีนํ, สนฺติเกปิ สุวิญฺญุนํ;
สิกฺขิเตน สตฺตวีส-วสฺสิตฺวาน ยสสฺสินาฯ
"ได้อยู่ศึกษาตลอดเวลา ๒๗ ปี ทั้งในสำนักของ
อาจารย์ทั้งหลายผู้แตกฉานผู้อยู่ในทักษิณาราม
จนสำเร็จการศึกษา.“
(กวิทปฺปณนีติ อารมฺภกถา ๔)
……
๓. ศึกษาพระไตรปิฏกและทำหน้าที่สังคายนา
วิสุตาราม สีหานํ, สิกฺขิเตน ติเปฏกํ;
สนฺติเก นววสฺสานิ, สํคีติกิจฺจการินาฯ
"ได้ศึกษาพระไตรปิฏกของชาวสีหล
ในอารามที่จำพรรษาและทำหน้าที่
ด้านการสังคายนาสิ้น ๙ ปี ในสำนัก.
(กวิทปฺปณนีติ อารมฺภกถา ๓)
……
๒. ปีเกิด-ทีเคยศึกษา
ทฺวิโน ทฺวิเวก สากมฺหิ, ตมฺหิ ชาเตน ชาติยา;
ลงฺกาภารตอาทีสุ, วุฏฺฐปุพฺพ สุเตสินาฯ
ข้าพเจ้าเกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๑๒๑ ในจังหวัดนั้น.
เคยศึกษาอยู่เกาะลังกาและอินเดียเป็นต้น.
(กวิทปฺปณนีติ อารมฺภกถา ๒)
…..
กวิทปฺปณนีติ
๑. สถานที่แต่งคัมภีร์
ปขุกฺกูปุรเสฏฺฐสฺส , ปจฺฉิเม อาสิ วิสฺสุโต;
จตุคาวุตเทสมฺหี, กนรยคาโม สุโสภโนฯ
หมู่บ้านชื่อว่า กนรยะ ที่น่าอยู่อาศัย
ในพื้นที่มีโยชน์หนึ่งเป็นประมาณ
(กวิทปฺปณนีติ ๑ นิคมคาถา)
…..
๓๓๖. สิ่งที่ควรและไม่ควรใส่ใจ
ครหา จ ปสํสา จ, อนิจฺจา ตาวกาลิกา;
อปฺปกาเจกเทสาว, น ตา อิกฺเขยฺย ปณฺฑิโต;
ธมฺมาธมฺมํว อิกฺเขยฺย, อตฺถานตฺถํ หิตาหิตํฯ
การนินทาและการสรรเสริญ,
ไม่จีรังยั้งยืน เกิดขึ้นชั่วครั้งชั่วคราว,
เป็นของเล็กน้อยและเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น,
บัณฑิตไม่ควรสนใจเรื่องเหลานั้น.
ควรใส่ใจสภาพที่เป็นธรรมะและอธรรมะ
ควรเอาใจใส่เรื่องที่เป็นประโยชน์เกื้อกูล
และเรื่องทีมิใช่ประโยชน์กูลก็พอแล้ว.
(กวิทปฺปณนีติ ๓๓๖)
..